พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอนาจารและฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาจากพยานหลักฐานแวดล้อมและคำรับสารภาพ
แม้โจทก์จะไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นคนทำร้ายผู้ตายโดยตรงแต่โจทก์มีพยานแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับเหตุที่เกิดขึ้นอย่างมาก และเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจับจำเลยมาได้ จำเลยก็ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวนโดยละเอียดว่าได้ทำร้ายและกระทำอนาจารผู้ตายจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำอนาจารแก่ผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้ายและจับผู้ตายคว่ำหน้ากดศีรษะลงไปในโคลน แล้วกระทำชำเราผู้ตายทางทวารหนักเป็นเหตุให้ดินโคลนเข้าไปในปาก ท่อทางเดินหายใจ และหลอดลมทำให้ผู้ตายขาดอากาศถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมเล็งเห็นอยู่แล้วว่าจะเป็นผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและกระทำอนาจารเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษฐานทำร้ายร่างกาย แม้ฟ้องฐานชิงทรัพย์-พยายามฆ่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์และพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา339,288,80โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยใช้กำลังกายชกต่อยผู้เสียหายหลายครั้งจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายถึงบาดเจ็บความผิดฐานชิงทรัพย์นั้นมีการกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายรวมอยู่ด้วยแม้ข้อเท็จจริงจะไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยได้ร่วมทำร้ายผู้เสียหายศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษฐานทำร้ายร่างกาย แม้ฟ้องฐานชิงทรัพย์-พยายามฆ่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์และพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339,288,80 โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยใช้กำลังกายชกต่อยผู้เสียหายหลายครั้งจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายถึงบาดเจ็บความผิดฐานชิงทรัพย์ นั้นมีการกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายรวมอยู่ด้วย แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยได้ร่วมทำร้ายผู้เสียหาย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษฐานทำร้ายร่างกาย แม้ฟ้องฐานชิงทรัพย์-พยายามฆ่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์และพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339, 288, 80 โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยใช้กำลังกายชกต่อยผู้เสียหายหลายครั้งจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายถึงบาดเจ็บ ความผิดฐานชิงทรัพย์นั้นมีการกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายรวมอยู่ด้วย แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยได้ร่วมทำร้ายผู้เสียหาย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บทกฎหมายเดิมลงโทษคดีชำเราที่กระทำก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา แม้ศาลฎีกาตัดสินหลังประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับ
จำเลยกระทำชำเรา ด.ญ.อายุต่ำกว่าสิบสามขวบก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายอาญา ศาลชั้นต้นลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 244 วรรคสอง จำคุก 5 ปี ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาซึ่งตัดสินหลังวันใช้ประมวลกฎหมายอาญาฟังว่าจำเลยทำผิดและวางโทษโทษจำคุกจำเลยเท่าเดิม คือ 5 ปี ศาลฎีกาก็คงใช้กฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำผิดเป็นบทลงโทษ (เพราะกำหนดโทษที่วางในคดีนี้ยังไม่เข้ากรณีที่จะพึงใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 280(1) โดยยังไม่มีข้อที่จะยกส่วนที่เป็นคุณของกฎหมายใหม่มาใช้)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาในอดีตกับความผิดที่กระทำก่อนมีประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยกระทำชำเรา ด.ญ. อายุต่ำกว่าสิบสามขวบก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายอาญา ศาลชั้นต้นลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 244 วรรค 2 จำคุก 5 ปี ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาซึ่งตัดสินหลังวันให้ประมวลกฎหมายอาญาฟังว่าจำเลยทำผิดและวางโทษจำคุกจำเลยเท่าเดิม คือ 5 ปี ศาลฎีกาก็คงใช้กฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำผิดเป็นบทลงโทษ (เพราะกำหนดโทษที่วางในคดีนี้ยังไม่เข้ากรณีที่จะพึงใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 280(1) โดยยังไม่มีข้อที่จะยกส่วนที่เป็นคุณของกฎหมายใหม่มาใช้)