คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธี ชอบธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องขอชำระเงินค่าซื้อบ้านตามสัญญาซื้อขาย
การฟ้องขอให้ชำระเงินค่าซื้อบ้านที่ค้างอยู่ตามสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องขอชำระหนี้ค่าซื้อบ้าน สัญญาไม่มีกำหนดอายุความใช้ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การฟ้องขอให้ชำระเงินค่าซื้อบ้านที่ค้างอยู่ตามสัญญา ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หักกลบลบหนี้ระหว่างโจทก์จำเลย: เช็คค่ายางรถยนต์คืนสินค้า
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามจำนวนในเช็ค ซึ่งจำเลยออกชำระหนี้ค่ายางรถยนต์ที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยได้ซื้อยางรถยนต์และออกเช็คจริง แต่จำเลยคืนยางรถยนต์ให้โจทก์ 18 เส้น โจทก์ออกเครดิตโน้ตให้ไว้แล้วไม่คิดหักให้ โจทก์จึงไม่อาจจะฟ้องเรียกเอาเงินตามเช็คได้ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังข้อต่อสู้ของจำเลย โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกัน โดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวถึงกำหนดชำระจึงชอบที่จะหักกลบลบหนี้กันได้ และศาลชอบที่จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ได้โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1,2 รับผิด ยกฟ้องจำเลยที่ 3 โจทก์อุทธรณ์ฎีกาขอให้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามข้ออ้างในฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม หรืออาศัยมูลหนี้เดียวกัน ศาลพึงรับพิจารณาหากเชื่อมโยงกันได้
ฟ้องแย้งที่ศาลพึงรับไว้พิจารณาต้องเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ซึ่งหมายความว่าต้องเป็นฟ้องอาศัยฟ้องเดิมเป็นมูลแห่งหนี้ หรือต้องมีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 3 และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ที่ 1 แล้วให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยโดยให้จำเลยชำระค่าเช่าแทน โจทก์ที่ 2 ต้องการตึกพิพากคืน จำเลยไม่คืนให้ขอให้ขับไล่ จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ให้จำเลยเช่าเพื่อทำกิจการค้าขายหนังสือแล้วแบ่งส่วนให้จำเลยเป็นเปอร์เซนต์ โดยที่โจทก์ที่ 2 ให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าตบแต่งตึกพิพาทเป็นการต่างตอบแทน เมื่อโจทก์จะให้จำเลยออกจากตึกพิพาทที่เช่าเพื่อโจทก์ที่ 2 จะทำการค้าเสียเอง โจทก์ที่ 2 จึงต้องชดใช้ค่าตบแต่งตึกพิพาทให้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าหรือนัยหนึ่งอาศัยฟ้องเดิมของโจทก์เป็นมูลหนี้นั่นเอง จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม พอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ (อ้างฎีกาที่ 442/2511) สมควรที่ศาลจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับสัญญาเช่าและการชดใช้ค่าตบแต่งสถานที่ ศาลรับพิจารณาได้หากเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งที่ศาลพึงรับไว้พิจารณาต้องเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมซึ่งหมายความว่าต้องเป็นฟ้องที่อาศัยฟ้องเดิมเป็นมูลแห่งหนี้ หรือต้องมีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 3 และมาตรา 179 วรรคท้าย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ที่ 1 แล้วให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยโดยให้จำเลยชำระค่าเช่าแทน โจทก์ที่ 2 ต้องการตึกพิพาทคืน จำเลยไม่คืนให้ขอให้ขับไล่ จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ที่ 2 ให้จำเลยเช่าเพื่อทำกิจการค้าขายหนังสือแล้วแบ่งส่วนให้จำเลยเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยโจทก์ที่ 2 ให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าตบแต่งตึกพิพาทเป็นการต่างตอบแทน เมื่อโจทก์จะให้จำเลยออกจากตึกพิพาทที่เช่าเพื่อโจทก์ที่ 2 จะทำการค้าเสียเอง โจทก์ที่ 2 จึงต้องชดใช้ค่าตบแต่งตึกพิพาทให้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าหรือนัยหนึ่งอาศัยฟ้องเดิมของโจทก์เป็นมูลหนี้นั่นเอง จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม พอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้(อ้างฎีกาที่ 442/2511)สมควรที่ศาลจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832-1833/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ตัวการชำระหนี้ตัวแทนเมื่อสิ้นสุดสัญญา
ตัวแทนไม่แถลงบัญชีเมื่อการเป็นตัวแทนสิ้นสุดลง แต่ปรากฏว่าตัวการเป็นหนี้ตัวแทนอยู่ในจำนวนที่ตัวแทนจ่ายเงินทดรองไป ตัวการต้องใช้หนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินภายหลังสัญญาประนีประนอมฯ สิทธิเรียกร้องจำกัดเฉพาะคู่สัญญา
จำเลยที่ 1 จำนองที่พิพาทต่อจำเลยที่ 2 ภายในวงเงิน 400,000 บาท ต่อมาจำเลยที่ 2 ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้หนึ่งล้านบาทเศษ และต้องเอาที่พิพาทขายทอดตลาดชำระหนี้ด้วย หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนการจำนองที่พิพาทแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาท ตามสัญญาจำนอง ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนการจำนองก็โดยโจทก์ใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ แต่ปรากฏว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จำเลยที่ 1 เองก็ไม่มีสิทธิจะไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 2 ในวงเงิน 400,000 บาทแล้ว ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับไถ่ถอนจำนองที่พิพาทในวงเงิน 400,000 บาทได้
ศาลมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องให้คู่ความร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องจากการซื้อขายที่ดินที่มีภาระจำนอง: สัญญาประนีประนอมยอมความขัดแย้งกับสิทธิการไถ่ถอน
จำเลยที่ 1 จำนองที่พิพาทต่อจำเลยที่ 2 ภายในวงเงิน 400,000 บาท ต่อมาจำเลยที่ 2 ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้หนึ่งล้านบาทเศษ และต้องเอาที่พิพาทขายทอดตลาด ชำระหนี้ด้วย หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองที่พิพาทแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาท ตามสัญญาจำนอง ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนการจำนองก็โดยโจทก์ใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้แต่ปรากฏว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จำเลยที่ 1 เองก็ไม่มีสิทธิจะไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 2 ในวงเงิน 400,000 บาทแล้ว ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะต้องฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับไถ่ถอนจำนองที่พิพาทในวงเงิน 400,000 บาทได้
ศาลมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องให้คู่ความร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการจ่ายเงินให้ผู้จัดการก่อสร้าง: ไม่ใช่เงินทดรองจ่ายจึงใช้บังคับตามอายุความ 10 ปี
เงินที่บริษัทผู้ล้มละลายมอบให้ผู้ร้องซึ่งเป็นคนของบริษัทเองนำไปใช้จ่ายในการก่อสร้างที่บริษัทรับเหมาทำ หาเข้าลักษณะเป็นค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป"ตามความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่ จึงมิใช่หนี้ที่มีอายุความสองปีหรือห้าปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว หากเป็นหนี้ที่มีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อนับจากวันที่บริษัทผู้ล้มละลายจ่ายเงินให้ผู้ร้องจนถึงวันที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ยังไม่ถึงสิบปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการเบิกจ่ายเงินทดรองก่อสร้าง: ไม่ใช่หนี้สองปี แต่เป็นหนี้สิบปี
เงินที่บริษัทผู้ล้มละลายมอบให้ผู้ร้องซึ่งเป็นคนของบริษัทเองนำไปใช้จ่ายในการก่อสร้างที่บริษัทรับเหมาทำ หาเข้าลักษณะเป็นค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่ จึงมิใช่หนี้ที่มีอายุความสองปี หรือห้าปีตามที่บัญญัติไว้ในบทมาตราดังกล่าว หากเป็นหนี้ที่มีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เมื่อนับจากวันที่บริษัทผู้ล้มละลายจ่ายเงินให้ผู้ร้องจนถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ ยังไม่ถึงสิบปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังไม่ขาดอายุความ
of 35