พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารโดยมิได้สอบปากคำและลงลายมือชื่อผู้อื่น ทำให้เสียหายแก่ราชการ
จำเลยเขียนบันทึกคำให้การนายจุ้นฮองผู้ขอหนังสือเดินทางโดยมิได้สอบปากคำทั้งลงลายมือชื่อนายจุ้นฮองเอาเอง เพื่อให้ทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นคำให้การนายจุ้นฮองทำให้เสียหายแก่ราชการกรมตำรวจ และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปลอมเอกสารราชการ ขอให้ลงโทษตาม มาตรา 265 เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าเอกสารที่จำเลยทำปลอมไม่ใช่เอกสารราชการ ศาลก็ลงโทษตาม มาตรา 264 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าได้และไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสารโดยมิได้สอบปากคำ และการลงโทษตามมาตราที่ถูกต้อง
จำเลยเขียนบันทึกคำให้การนายจุ้นฮองผู้ขอหนังสือเดินทางโดยมิได้สอบปากคำ ทั้งลงลายมือชื่อนายจุ้นฮองเอาเอง เพื่อให้ทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นคำให้การนายจุ้นฮอง ทำให้เสียหายแก่ราชการกรมตำรวจ และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปลอมเอกสารราชการ ขอให้ลงโทษตามมาตรา 265 เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าเอกสารที่จำเลยทำปลอมไม่ใช่เอกสารราชการ ศาลจึงลงโทษตามมาตรา 264 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าได้ และไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรนอกสมรส: สิทธิของมารดาในการกำหนดที่อยู่และการเรียกบุตรคืน
โจทก์กับ ล. เป็นสามีภรรยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกันคือ เด็กชาย ธ. เด็กชาย ธ. จึงเป็นบุตรนอกสมรส อำนาจปกครองย่อมตกอยู่กับโจทก์ผู้เป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538 (5) โจทก์มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรและเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายได้ ตามมาตรา 1539 (1) (4)
การที่โจทก์ขอรับเด็กชาย ธ. คืนจากจำเลยซึ่งเป็นบิดาของ ล. ถือว่าเป็นการกำหนดที่อยู่ใหม่ของบุตร และการที่จำเลยไม่ยอมส่งมอบเด็กชาย ธ. ให้โจทก์ จนกระทั่งโจทก์ต้องร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยก็ยังไม่ยอมมอบบุตรให้โจทก์อีก ทั้ง ๆ ที่ ล. ไม่ขัดข้องที่จะให้เด็กชาย ธ. ไปอยู่กับโจทก์ ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการกักบุตรของโจทก์ไว้โดยไม่ชอบ สิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งแล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยผู้โต้แย้งสิทธิให้ส่งมอบบุตรได้ตามมาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่จำเป็นต้องฟ้อง ล.
การที่โจทก์ขอรับเด็กชาย ธ. คืนจากจำเลยซึ่งเป็นบิดาของ ล. ถือว่าเป็นการกำหนดที่อยู่ใหม่ของบุตร และการที่จำเลยไม่ยอมส่งมอบเด็กชาย ธ. ให้โจทก์ จนกระทั่งโจทก์ต้องร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยก็ยังไม่ยอมมอบบุตรให้โจทก์อีก ทั้ง ๆ ที่ ล. ไม่ขัดข้องที่จะให้เด็กชาย ธ. ไปอยู่กับโจทก์ ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการกักบุตรของโจทก์ไว้โดยไม่ชอบ สิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งแล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยผู้โต้แย้งสิทธิให้ส่งมอบบุตรได้ตามมาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่จำเป็นต้องฟ้อง ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้าง แม้เหตุการณ์เกิดขึ้นต่อเนื่องจากภารกิจ
ลูกจ้างขับรถประจำของจำเลยขับรถยนต์ไปในทางการที่จ้างชนรถคันอื่น เจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งให้ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์ไปสถานีตำรวจเพื่อตกลงใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับเหตุที่เกิดในทางการที่จ้างของจำเลย ยังไม่ขาดตอน ลูกจ้างของจำเลยขับรถชนกับรถที่บุตรโจทก์ขับ บุตรโจทก์ตาย จำเลยจึงต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน แม้หน้าที่หลักจะสิ้นสุดลงแล้ว
ลูกจ้างจำเลยขับรถยนต์ของจำเลยไปในทางการที่จ้างแล้วไปชนท้ายรถยนต์คันอื่นเสียหาย เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่าลูกจ้างจำเลยเป็นฝ่ายผิด จึงให้จับรถไปสถานีตำรวจเพื่อตกลงกันเรื่องค่าเสียหาย โดยเจ้าพนักงานตำรวจนั่งมาในรถด้วย ดังนี้ การที่ลูกจ้างจำเลยขับรถไปสถานีตำรวจย่อมเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุที่ลูกจ้างจำเลยขับรถไปชนท้ายรถอื่นเกี่ยวแก่การปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของจำเลยเป็นมูลเหตุ เมื่อลูกจ้างจำเลยขับรถด้วยความประมาทในระหว่างทางไปสถานีตำรวจชนรถยนต์ซึ่งบุตรโจทก์ขับสวนทางมา เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย จึงถือว่าลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการอุทธรณ์ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ
ห้างโจทก์เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีพร้อมด้วยบัญชีต่าง ๆ ตามที่กฎหมายระบุไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และถ้ามีกำไรสุทธิก็ต้องชำระเงินภาษีที่ต้องเสียต่ออำเภอพร้อมกับรายการที่ยื่นนั้นด้วย ดังบัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65,68,69 ดังนั้น หนี้ภาษีอากรของโจทก์ได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์ชำระภาษีที่ขาดเพิ่มเติมให้ครบถ้วนยังไม่ครบ 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของกรมสรรพากรจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความส่วนที่ห้าง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งการประเมินต่อเจ้าพนักงานอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ห้างโจทก์ทราบเมื่อพ้น 10 ปีแล้วนั้นคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นเพียงข้อวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าถูกต้องหรือไม่ ควรลดหย่อนภาษีให้ห้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ไม่ใช่คำสั่งเรียกเก็บภาษี ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งเรียกเก็บภาษี สิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความ
ห้างโจทก์เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีพร้อมด้วยบัญชีต่าง ๆ ตามที่กฎหมายระบุไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และถ้ามีกำไรสุทธิก็ต้องชำระเงินภาษีที่ต้องเสียต่ออำเภอพร้อมกับรายการที่ยื่นนั้นด้วย ดังบัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65, 68, 69 ดังนั้น หนี้ภาษีอากรของโจทก์ได้ถึงกำหนดชำะแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์ชำระภาษีที่ขาดเพิ่มเติมให้ครบถ้วนยังไม่ครบ 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของกรมสรรพากรจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนที่ห้างโจทก์อุทธรณ์คำสั่งการประเมินต่อเจ้าพนักงานอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ห้างโจทก์ทราบเมื่อพ้น 10 ปีแล้วนั้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นเพียงข้อวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าถูกต้องหรือไม่ ควรลดหย่อนภาษีให้ห้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ไม่ใช่คำสั่งเรียกเก็บภาษี ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินหลังสัญญาหมดอายุและมีสัญญาใหม่ไม่มีกำหนดเวลา การบอกกล่าวล่วงหน้า และการสืบพยานนอกบัญชี
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์มีกำหนด 1 ปี โดยทำสัญญากันไว้เป็นหลักฐาน เมื่อสิ้นกำหนดตามสัญญา จำเลยยังคงครอบครองที่ดินที่เช่าอยู่ และโจทก์รู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยในภายหลังต่อมาจึงถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งโจทก์ผู้ให้เช่าอาจบอกเลิกสัญญาเช่าตามมาตรา 566 ก็ได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่ากำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือน และโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2516 ให้จำเลยออกจากที่เช่าภายในวันที่ 31 มกราคม 2516 จำเลยรับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2516 และโจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่ 8 มีนาคม 2516 จึงถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้วตามมาตรา 566 การบอกกล่าวของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 845/2490)
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) จะห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนมาตรา 88 และมาตรา 90 ก็ตาม แต่ในมาตรา 87 (2) นั้นเอง ก็ได้บัญญัติต่อไปว่า " ฯลฯ แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้" ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบตัวโจทก์ซึ่งเป็นพยานสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 623/2500)
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) จะห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนมาตรา 88 และมาตรา 90 ก็ตาม แต่ในมาตรา 87 (2) นั้นเอง ก็ได้บัญญัติต่อไปว่า " ฯลฯ แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้" ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบตัวโจทก์ซึ่งเป็นพยานสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 623/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าหลังหมดอายุสัญญาและมีสัญญาใหม่โดยปริยาย การบอกกล่าวล่วงหน้าและการอนุญาตสืบพยาน
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์มีกำหนด 1 ปี โดยทำสัญญากันไว้เป็นหลักฐาน เมื่อสิ้นกำหนดตามสัญญา จำเลยยังคงครอบครองที่ดินที่เช่าอยู่ และโจทก์รู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง. การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยในภายหลังต่อมาจึงถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งโจทก์ผู้ให้เช่าอาจบอกเลิกสัญญาเช่าตามมาตรา 566 ก็ได้ ดังนี้เมื่อปรากฏว่ากำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือนและโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2516ให้จำเลยออกจากที่เช่าภายในวันที่ 31 มกราคม 2516จำเลยรับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2516 และโจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่ 8 มีนาคม 2516 จึงถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้วตามมาตรา 566 การบอกกล่าวของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอายุความครอบครองที่ดิน: จำเลยฟ้องโจทก์ได้ แม้โจทก์ฟ้องก่อน
ในเรื่องฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) นั้น กฎหมายห้ามแต่โจทก์มิให้ฟ้องจำเลย หาได้ห้ามจำเลยมิให้กลับมาฟ้องโจทก์ด้วยไม่ ไม่เหมือนกับเรื่องฟ้องซ้ำตามมาตรา 148 ซึงห้ามทั้งโจทก์และจำเลยมิให้ฟ้องคดีขึ้นใหม่
การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ ขอให้ห้ามเกี่ยวข้องกับที่พิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยนั้น จำเลยจะยกเอาสิทธิแห่งการครอบครองมายันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1273/2500)
การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ ขอให้ห้ามเกี่ยวข้องกับที่พิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยนั้น จำเลยจะยกเอาสิทธิแห่งการครอบครองมายันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1273/2500)