คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพนธ์ ศาตะมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 303 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าทดแทนจากอุบัติเหตุร้ายแรง: สิทธิพิเศษตามประกาศ คปต., การระงับข้อพิพาท, และการหักเงินที่ได้รับไปแล้ว
นายอำเภอ เจ้าหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเงินค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ได้วินิจฉัยให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ตาย จ่ายเงินค่าทดแทนและค่าทำศพแก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตาย จำเลยอุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ว่านายอำเภอไม่มีสิทธิวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายเงินรายนี้ เพราะโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และรับเงินค่าทดแทนไปจากจำเลยแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีสิทธิวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทน หรือไม่ต้องจ่ายนั่นเอง หาเป็นการวินิจฉัยนอกเหนืออำนาจไม่
ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า เหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะเกิดระเบิดเป็นอุบัติเหตุ และสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ จำเลยไม่นำคดีมาสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าทดแทนฯ ข้อ 14 ต้องถือว่าเรื่องเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ เมื่อโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนนั้น จำเลยจะโต้แย้งอีกว่า เหตุเกิดเพราะความประมาทของผู้ตาย และสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ได้ หาได้ไม่
โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนไปจากจำเลยจำนวนหนึ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดจะวินิจฉัยว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ และจำเลยจะโต้แย้งในชั้นศาลอีกมิได้แต่เงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับไปแล้วก็ชอบที่จะหักออกจากเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ได้
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยค่าทดแทนจากอุบัติเหตุทางแรงงาน: ผลผูกพันสัญญาประนีประนอม และกรอบเวลาอุทธรณ์
นายอำเภอ เจ้าหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเงินค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ได้วินิจฉัยให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ตายจ่ายเงินค่าทดแทนและค่าทำศพแก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตาย จำเลยอุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ว่านายอำเภอไม่มีสิทธิวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายเงินรายนี้ เพราะโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และรับเงินค่าทดแทนไปจากจำเลยแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีสิทธิวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ได้เพราะเป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนหรือไม่ต้องจ่ายนั่นเอง หาเป็นการวินิจฉัยนอกเหนืออำนาจไม่
ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า เหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะเกิดระเบิดเป็นอุบัติเหตุ และสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะจำเลยไม่นำคดีมาสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าทดแทนฯ ข้อ 14 ต้องถือว่าเรื่องเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ เมื่อโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนนั้น จำเลยจะโต้แย้งอีกว่า เหตุเกิดเพราะความประมาทของผู้ตาย และสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ได้ หาได้ไม่
โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนไปจากจำเลยจำนวนหนึ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดจะวินิจฉัยว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ และจำเลยจะโต้แย้งในชั้นศาลอีกมิได้แต่เงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับไปแล้วก็ชอบที่จะหักออกจากเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ได้
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตนายจ้างต่อลูกจ้าง: ความมีส่วนได้เสีย, สัญญาประกันชีวิต vs. ประกันวินาศภัย, การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน
1. โจทก์เอาประกันชีวิตลูกจ้างซึ่งขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจะต้องรับผิดต่อการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของลูกจ้าง และยังต้องรับผิดจ่ายเงินให้แก่ทายาทผู้อยู่ใต้อุปการะของลูกจ้างผู้ตายตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ประกอบกับการขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันย่อมต้องอาศัยบุคคลที่มีความชำนาญและไว้วางใจ เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันชีวิตลูกจ้างดังกล่าวนี้ได้
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889
3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่งฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตนายจ้างกับลูกจ้าง: สิทธิเรียกร้องเงินประกันเต็มจำนวน แม้ไม่มีมูลค่าความเสียหายที่แท้จริง
1. โจทก์เอาประกันชีวิตลูกจ้างซึ่งขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจะต้องรับผิดต่อการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของลูกจ้าง และยังต้องรับผิดจ่ายเงินให้แก่ทายาทผู้อยู่ใต้อุปการะของลูกจ้างผู้ตายตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกอบกับการขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันย่อมต้องอาศัยบุคคลที่มีความชำนาญและไว้วางใจ เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันชีวิตลูกจ้างดังกล่าวนี้ได้
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับนายประกัน: ศาลพิจารณาความเสียหายต่อความยุติธรรมและเจตนาสมัครใจของนายประกันประกอบการลดค่าปรับ
ค่าปรับที่ศาลสั่งปรับนายประกันตามสัญญาประกันนั้น มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การที่จะลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนลงมาเป็นจำนวนพอสมควรเท่าใดนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 119 ก็ดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ก็ดีศาลย่อมต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินแต่อย่างเดียวเท่านั้น
ในคดีอาญาที่จำเลยมีประกันตัวไปในระหว่างพิจารณา ต่อมานายประกันไม่นำตัวจำเลยมาส่งศาลตามนัด ทำให้ไม่ได้ตัวจำเลยมาทำการพิจารณาพิพากษา ย่อมทำให้เสียหายแก่ความยุติธรรมไม่ว่าจำเลยจะเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ก็ตาม และจะเป็นช่องทางให้จำเลยคดีอื่นใดกระทำเช่นคดีนี้บ้างความสงบเรียบร้อยก็จะหาได้ยาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาประกัน: ศาลพิจารณาความเสียหายต่อความยุติธรรมและเจตนาของผู้ประกัน
ค่าปรับที่ศาลสั่งปรับนายประกันตามสัญญาประกันนั้นมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การที่จะลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนลงมาเป็นจำนวนพอสมควรเท่าใดนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 119 ก็ดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ก็ดีศาลย่อมต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินแต่อย่างเดียวเท่านั้น
ในคดีอาญาที่จำเลยมีประกันตัวไปในระหว่างพิจารณา ต่อมานายประกันไม่นำตัวจำเลยมาส่งศาลตามนัด ทำให้ไม่ได้ตัวจำเลยมาทำการพิจารณาพิพากษา ย่อมทำให้เสียหายแก่ความยุติธรรมไม่ว่าจำเลยจะเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ก็ตาม และจะเป็นช่องทางให้จำเลยคดีอื่นใดกระทำเช่นคดีนี้บ้างความสงบเรียบร้อยก็จะหาได้ยาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการชำระหนี้นอกศาล: ศาลไม่เพิกถอนยึดทรัพย์หากเจ้าหนี้ปฏิเสธการรับชำระหนี้
โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยอ้างส่งใบรับเงินและว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปตามที่มีการตกลงกันนอกศาล โดยโจทก์ลดจำนวนหนี้ให้ด้วย เมื่อโจทก์ปฏิเสธและต่อสู้ว่าเป็นลายเซ็นชื่อโจทก์ผู้รับเงินปลอม กรณีย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ซึ่งบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดี ศาลจึงจะมีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยถึงใบรับเงินและการชำระหนี้ของจำเลย ซึ่งจะเป็นประการใดก็เป็นเรื่องของจำเลยจะไปว่ากล่าวกันต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามคำพิพากษาและการเพิกถอนการยึดทรัพย์: หลักฐานการชำระหนี้ต้องเป็นการวางเงินต่อศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยอ้างส่งใบรับเงินและว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปตามที่มีการตกลงกันนอกศาล โดยโจทก์ลดจำนวนหนี้ให้ด้วย เมื่อโจทก์ปฏิเสธและต่อสู้ว่าเป็นลายเซ็นชื่อโจทก์ผู้รับเงินปลอม กรณีย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ซึ่งบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดี. ศาลจึงจะมีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยถึงใบรับเงินและการชำระหนี้ของจำเลย. ซึ่งจะเป็นประการใดก็เป็นเรื่องของจำเลยจะไปว่ากล่าวกันต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในชั้นไต่สวนคนอนาถา ไม่ถึงขั้นผิดอาญา หากมีการอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์
การที่จำเลยเบิกความในชั้นไต่สวนคำร้องขอฟ้องอย่างคนอนาถาในคดีแพ่งที่จำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้องว่า ได้ซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จก็ตาม แต่จำเลยก็อ้างด้วยว่าได้เข้าครอบครองที่ดินนั้นเป็นปรปักษ์มาเกินกว่า 10 ปีอยู่ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยจะได้เข้ามาอยู่ในที่พิพาทโดยซื้อ หรือโดยวิธีอื่นใด เป็นแต่เพียงเหตุเบื้องต้นอันไม่ใช่ข้อสำคัญในข้อมูลคดีชั้นไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาเลย จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอม การร้องขอขัดขวางสิทธิในที่ดินและบ้านที่ไม่ระบุในสัญญา
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีบ้านของจำเลยที่ 2 ปลูกอยู่ในที่ดินที่ตกลงแบ่งให้จำเลยที่ 3 และมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 2 รื้อไปได้ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอ้างว่ามีบ้านของตนอยู่ในที่ดินนั้นและจะรื้อไป แต่จำเลยที่ 3 ขัดขวาง จึงขอให้ศาล ห้ามนั้น เป็นการร้องขอนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความ หากจำเลยที่ 2 จะมีสิทธิในบ้านดังกล่าวประการใด และจำเลยที่ 3 กระทำการขัดขวางอันเป็นการโต้แย้งสิทธิ จำเลยที่ 2 ก็ชอบที่จะต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่จะร้องขอให้ศาลบังคับในคดีเดิมหาได้ไม่
of 31