คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 190

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8171/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด การบอกเลิกสัญญา และการโอนกรรมสิทธิ์ กรณีมีข้อพิพาทเรื่องการครอบครอง
ผู้ร้องเป็นผู้เข้าประมูลสู้ราคาและซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดของผู้คัดค้าน ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่า ผู้ร้องแจ้งความประสงค์ต่อผู้คัดค้านว่าจะนำทรัพย์ดังกล่าวไปพัฒนาทางธุรกิจเมื่อใด อย่างไร ที่จะทำให้เห็นว่าการได้รับโอนทรัพย์ดังกล่าวล่าช้าทำให้เสียประโยชน์ในทางธุรกิจของผู้ร้องถึงขนาดที่ว่าที่ดินนั้นหมดประโยชน์แก่ผู้ร้องอีกต่อไป ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นกล่าวอ้างภายหลังทั้งสิ้น ทั้งการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดมีกระบวนการต่างจากการซื้อทรัพย์จากเจ้าของทรัพย์โดยตรง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ผู้ร้องย่อมต้องทราบว่าผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดอาจยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาดดังกล่าว ฉะนั้น จะถือว่าระยะเวลา 4 ปีเศษ เป็นเวลานานเกินสมควรทำให้การชำระหนี้เป็นอันพ้นวิสัยนั้นไม่ได้ ประกอบกับศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ยกคำร้องของ ว. ที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายแล้ว ผู้คัดค้านสามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องได้ กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 219 และ 388 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอเงินมัดจำคืน
ตามสัญญาซื้อขายที่ดินมิได้กำหนดเวลาไว้โดยชัดแจ้งว่าผู้คัดค้านจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเมื่อใด และนิติกรรมที่จะเป็นโมฆะตามมาตรา 190 ต้องเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขจะสำเร็จได้หรือไม่สุดแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้ แต่การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ผู้ร้องย่อมทราบว่าอาจไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นทันทีเนื่องจากอาจมีผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายดังกล่าว ซึ่งเหตุที่ทำให้โอนกรรมสิทธิ์ล่าช้าดังกล่าวไม่ใช่การกระทำตามอำเภอใจของผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่สัญญาสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 3 ผู้บริโภคซึ่งเข้าทำสัญญาในฐานะผู้ซื้อที่จะได้รับความคุ้มครองตามความในมาตรา 4 ต้องไม่ได้เข้าทำสัญญาเพื่อการค้าทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใด แต่ตามคำร้องและทางนำสืบของผู้ร้องยืนยันว่าผู้ร้องเข้าซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ทางการค้า ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้บริโภคตามความหมายดังกล่าวทั้งตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวยังกำหนดว่า พ.ร.บ. นี้ไม่ใช้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ซึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2540 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ผู้ร้องประมูลซื้อทรัพย์และทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2539 ก่อน พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ ใช้บังคับ สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6902/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: เงื่อนไขแล้วแต่ใจเจ้าหนี้ มิใช่โมฆะ
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มอบอำนาจให้ อ.ดำเนินคดีหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ แล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย และวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่า สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 190 พิพากษาให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ และให้โจทก์คืนเงินมัดจำแก่จำเลย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 แม้โจทก์ไม่ได้โต้แย้งไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันโดยสัญญาระบุไว้ว่า"หากในกรณีที่ผู้จะซื้อยังไม่พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ว่าด้วยกรณีใดก็ตามผู้จะขายยินยอมผ่อนผันเลื่อนกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปจนกว่าผู้จะซื้อพร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่" สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ในส่วนของการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินถือว่าผู้จะซื้อคือจำเลยเป็นเจ้าหนี้ ส่วนฝ่ายผู้จะขายคือโจทก์เป็นลูกหนี้ จึงมิใช่สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและเป็นเงื่อนไขอันจะสำเร็จได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้ หากแต่เป็นเงื่อนไขแล้วแต่ใจของเจ้าหนี้ สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6902/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: เงื่อนไขแล้วแต่ใจของเจ้าหนี้ มิใช่เงื่อนไขบังคับก่อน ทำให้สัญญายังมีผล
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ. ดำเนินคดีหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ แล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย และวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่า สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 190 พิพากษาให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ และให้โจทก์คืนเงินมัดจำแก่จำเลยเป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24แม้โจทก์ไม่ได้โต้แย้งไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันโดยสัญญาระบุไว้ว่า "หากในกรณีที่ผู้จะซื้อยังไม่พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ว่าด้วยกรณีใดก็ตาม ผู้จะขายยินยอมผ่อนผันเลื่อนกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปจนกว่าผู้จะซื้อพร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่"สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ในส่วนของการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินถือว่าผู้จะซื้อคือจำเลยเป็นเจ้าหนี้ ส่วนฝ่ายผู้จะขายคือโจทก์เป็นลูกหนี้ จึงมิใช่สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและเป็นเงื่อนไขอันจะสำเร็จได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้หากแต่เป็นเงื่อนไขแล้วแต่ใจของเจ้าหนี้ สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เช็คสำเร็จเมื่อเงื่อนไขการขายทรัพย์มรดกเป็นไปตามตกลง
โจทก์จำเลยทำ ข้อตกลงกันแม้จะเรียกว่าเป็น หนังสือรับสภาพหนี้ แต่มีข้อสาระสำคัญว่าจำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์และจะชำระหนี้ให้โจทก์เมื่อศาลตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. และผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายทรัพย์มรดกแล้วโดยโจทก์ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คพิพาทที่โจทก์ร้องทุกข์ไว้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นกรณีที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเข้าลักษณะสัญญา ประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ ส่วนข้อตกลงระบุว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินทรัพย์มรดกเป็น เงื่อนไขบังคับก่อน แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่มิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจจำเลยหากแต่ขึ้นอยู่กับ ผู้จัดการมรดก ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นเรื่องวิธีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวหาตกเป็น โมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา152(เดิม)ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาคืนเงินมัดจำ: ไม่ใช่โมฆะหากสำเร็จได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับบุคคลภายนอก
การที่จำเลยทั้งสองตกลงจะคืนเงินมัดจำให้โจทก์เมื่อจำเลยทั้งสองขายที่ดินได้นั้น จำเลยทั้งสองจะขายที่ดินได้หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ความพอใจหรือสมัครใจของจำเลยทั้งสองแต่ฝ่ายเดียว แต่ขึ้นอยู่กับบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้จะซื้อด้วยว่ามีความพอใจหรือไม่พอใจจะซื้อตามข้อเสนอของจำเลยทั้งสองหรือไม่เงื่อนไขบังคับก่อนดังกล่าวจึงไม่ใช่เงื่อนไขอันจะสำเร็จได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้จึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 190 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ชั้นชี้สองสถาน ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 เป็นบันทึกการรับสภาพหนี้หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามบันทึกดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองหรือไม่ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า แม้ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ จำเลยทั้งสองก็จะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์เพราะคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาโดยไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญา และการเลิกสัญญาโดยไม่มีฝ่ายผิดสัญญา ไม่กระทบความสมบูรณ์ของสัญญา
การที่จำเลยทั้งสองตกลงจะคืนเงินมัดจำให้โจทก์เมื่อจำเลยทั้งสองขายที่ดินได้นั้น จำเลยทั้งสองจะขายที่ดินได้หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ความพอใจหรือสมัครใจของจำเลยทั้งสองแต่ฝ่ายเดียว แต่ขึ้นอยู่กับบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้จะซื้อด้วยว่ามีความพอใจหรือไม่พอใจจะซื้อตามข้อเสนอของจำเลยทั้งสองหรือไม่เงื่อนไขบังคับก่อนดังกล่าวจึงไม่ใช่เงื่อนไขอันจะสำเร็จได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้ จึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 190
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ชั้นชี้สองสถาน ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 เป็นบันทึกการรับสภาพหนี้หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามบันทึกดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองหรือไม่ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า แม้ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นโฆมะ จำเลยทั้งสองก็จะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์เพราะคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาโดยไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาคืนเงินมัดจำ: ต้องสำเร็จได้ตามเจตนาลูกหนี้หรือไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 190 บัญญัติว่านิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเป็นเงื่อนไขอันจะสำเร็จได้หรือไม่ สุดแล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้ นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะหมายความว่าเงื่อนไขบังคับก่อนซึ่งจะทำให้นิติกรรมเกิดผลขึ้นหรือไม่ย่อมอยู่ที่ความพอใจหรือความสมัครใจของลูกหนี้แต่ฝ่ายเดียวโดยไม่มีบุคคลอื่น หรืออำนาจใด ๆ เข้ามาผูกพันกับลูกหนี้ การที่จำเลยทั้งสองตกลงจะคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยทั้งสองขายที่ดินได้นั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ความพอใจหรือความสมัครใจของจำเลยทั้งสองแต่ฝ่ายเดียวแต่ขึ้นอยู่กับบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้จะซื้อด้วยว่ามีความพอใจหรือไม่พอใจที่จะซื้อตามข้อเสนอของจำเลยทั้งสองหรือไม่ ดังนั้นเงื่อนไขบังคับก่อนดังกล่าวจึงไม่ใช่เงื่อนไขอันจะสำเร็จได้หรือไม่สุดแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3658/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัดเริ่มนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา หากเลย 10 ปี ฟ้องไม่ได้
หลังจากวันที่ 25 มิถุนายน 2526 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดอายุ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่ต่อออกไปแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงิน เข้าบัญชีและโจทก์ได้ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีได้อีก ตาม บัญชีกระแสรายวันคงมีแต่การคำนวณดอกเบี้ยรายเดือนต่อมา แสดงว่ามิได้มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกเลย ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง นับแต่วันที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาตามที่โจทก์กับจำเลยได้แสดงเจตนากันไว้เช่นนั้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและคำขอต่ออายุสัญญา หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้เสียก่อนไม่เพราะได้กำหนดไว้แน่นอนแล้ว อายุความคดีนี้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2516 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิ เรียกร้องเป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 21 เมษายน 2529 ซึ่ง เกินกว่า 10 ปีนับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ เมื่อหนี้ต้นเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็น หนี้ ประธาน ขาดอายุความเสียแล้ว ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อม ขาดอายุความ ไป ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่า: นับแต่วันผิดนัดชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่า และฟ้องภายใน 5 ปี
การนับอายุความนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169ให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป สัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่าจะต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน ดังนั้น หากผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าผู้เช่าตกเป็นฝ่ายผิดนัด ผู้ให้เช่าย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 6 ของเดือนที่ผิดนัดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 โจทก์ต้องฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าภายในกำหนดระยะเวลา 5 ปี เมื่อค่าเช่าที่โจทก์จะเรียกเก็บเป็นเดือนสุดท้ายคือวันที่ 5 สิงหาคม 2524 แต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าในวันที่ 28 สิงหาคม 2529 คดีโจทก์สำหรับค่าเช่าขาดอายุความ เมื่อหนี้ค่าเช่าซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความแล้ว หนี้ที่เป็นเบี้ยปรับของค่าเช่าซึ่งเป็นอุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 190.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่า: เริ่มนับเมื่อผิดนัดชำระ และฟ้องภายใน 5 ปี
การนับอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 169 ให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อสัญญาเช่าได้กำหนดให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน หากผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนดเวลาดังกล่าวก็ถือว่าผู้เช่าตกเป็นฝ่ายผิดนัดผู้ให้เช่าย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ทันที โจทก์บังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2524 ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 โจทก์จะต้องฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าภายในกำหนดระยะเวลา 5 ปี ค่าเช่าที่โจทก์จะเรียกเก็บเป็นเดือนสุดท้ายคือวันที่ 5 สิงหาคม 2524 แต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าในวันที่ 28 สิงหาคม 2529 คดีโจทก์สำหรับค่าเช่าจึงขาดอายุความเมื่อหนี้ค่าเช่าซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ หนี้ที่เป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นอุปกรณ์ก็ขาดอายุความด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 190.
of 2