พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3178/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีที่เกี่ยวพันกัน & การใช้กฎหมายขณะกระทำผิด แม้แยกฟ้อง & มีการแก้ไขกฎหมาย
ป.อ. มาตรา 91 ให้อำนาจศาลพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปและกรณีที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี รวมโทษจำคุกทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกินยี่สิบปีนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกในกรณีกระทำความผิดหลายกรรมที่เกี่ยวพันกันและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง หรือกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดีและคดีแต่ละคดีเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน และรวมถึงคดีที่เกี่ยวพันกันแต่โจทก์กลับแยกฟ้องจำเลยเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน จึงจะอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 91 (2) สำหรับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1066/2562 นั้น ข้อเท็จจริงได้ความตามสำเนาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอกสารท้ายคำแถลงข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาฉบับลงวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ของโจทก์ว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่โจทก์ที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินกระทำผิดหน้าที่และฐานร่วมกันเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น แม้ข้อหาความผิดที่ฟ้องจะเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีเป็นคนละรายกันกับคดีนี้และพยานหลักฐานในคดีเป็นคนละชุดกัน จึงไม่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันกับคดีนี้ได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแต่ละคดีและให้นับโทษต่อกันตาม ป.อ. มาตรา 22 แม้มีกำหนดระยะเวลาจำคุกเกินยี่สิบปี ก็พิพากษาให้บังคับเช่นนั้นได้ กรณีไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1066/2562 ของศาลชั้นต้นนั้น เป็นการไม่ชอบ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอกสารท้ายคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ว่า คดีดังกล่าวและคดีนี้มีโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน แม้วันเวลากระทำความผิดจะแตกต่างกัน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองซึ่งได้รับมอบหมายจากโจทก์ที่ 1 ให้เป็นผู้จัดทำบัญชีและนําเงินไปเสียภาษีแทน กระทำการทุจริตเบียดบังเอาเงินที่มอบให้นําไปเสียภาษีไป และจำเลยทั้งสองไม่คืนเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการทำบัญชีและเสียภาษีแก่โจทก์ที่ 1 เช่นเดียวกับคดีนี้ ดังนั้น เมื่อคดีมีคู่ความเดียวกัน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวเกี่ยวพันกัน โจทก์ที่ 1 อาจฟ้องจำเลยทั้งสองสำหรับความผิดคดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อเป็นคดีเดียวกันได้ แต่โจทก์ที่ 1 แยกฟ้องคดีนี้เป็นอีกคดีหนึ่ง แยกต่างหากจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ดังกล่าวโดยศาลมิได้สั่งรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปี เต็มตามกำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (2) แล้ว ย่อมไม่อาจนําโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไปนับโทษต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ของศาลชั้นต้นได้เพราะจะทำให้จำเลยที่ 1 ต้องได้รับโทษจำคุกเกินกำหนดที่ ป.อ. มาตรา 91 (2) บัญญัติไว้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ของศาลชั้นต้นมานั้น ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกคดีอาญาต่างสำนวนที่ไม่เกี่ยวพันกัน ศาลสามารถนับโทษต่อกันได้โดยไม่จำกัด 20 ปีตาม ป.อ. มาตรา 91(2)
การรวมโทษของจำเลยทุกคดีแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 20 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) นั้น จะต้องปรากฏว่าการกระทำความผิดของจำเลยทุกคดีมีลักษณะเกี่ยวพันกันจนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง หรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สำหรับคดีนี้และคดีที่นับโทษต่อ จำเลยกระทำความผิดต่อผู้เสียหายต่างคนกัน คดีแต่ละสำนวนไม่เกี่ยวพันกันและไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ ศาลย่อมนับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกันอันอาจทำให้จำเลยต้องโทษจำคุกทุกคดีเกิน 20 ปีได้ หาได้อยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษหลายกระทงความผิดที่ผู้เสียหายต่างรายกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่านับโทษรวมได้เกิน 20 ปีได้หากคดีไม่เกี่ยวพันกัน
แม้การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้กับคดีอื่น ๆ ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ จะเป็นการกระทำด้วยเจตนาเหมือนกัน และมีการดำเนินการในลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายต่างรายกัน ทั้งการกระทำความผิดเกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน คดีแต่ละสำนวนจึงมิได้เกี่ยวพันกัน แม้โดยรูปคดีอาจพิจารณาไปด้วยกันได้ก็เป็นเพราะจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันเพื่อความสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาแต่ละคดีและให้นับโทษต่อกันตาม ป.อ. มาตรา 22 แล้ว มีกำหนดระยะเวลาจำคุกเกินกว่า 20 ปี ก็ย่อมพิพากษาให้บังคับเช่นนี้ได้ หาได้อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำซ้อนในคดีความผิดเกี่ยวเนื่องกัน ศาลต้องคำนึงถึงบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2)
คดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 2165/2561 ถึง 2171/2561 ของศาลชั้นต้นมีลักษณะแห่งคดี และความผิดเป็นอย่างเดียวเกี่ยวพันกัน จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกัน โจทก์จึงอาจจะฟ้องคดีทั้งแปดสำนวนเป็นคดีเดียวกันได้ แต่โจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 2165/2561 ถึง 2171/2561 โดยศาลชั้นต้นมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีนี้เข้ากับคดีหมายเลขแดงที่ 2165/2561 ถึง 2171/2561 ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมและจำคุกจำเลยมีกำหนด 20 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (2) ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2165/2561 ถึง 2171/2561 ของศาลชั้นต้นแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจนำโทษของจำเลยในคดีนี้ไปนับต่อกับโทษของจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 2165/2561 ถึง 2171/2561 ของศาลชั้นต้นได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกเกินกำหนดที่ ป.อ. มาตรา 91 (2) บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินโดยทุจริต จำเลยร่วมกันหลอกลวงให้ลงทุน-รับผลตอบแทนสูงเกินจริง
การชักชวนให้บุคคลทั่วไปหรืออย่างน้อยตั้งแต่สิบคนขึ้นไปมาทำการกู้ยืมเงินกันโดยการโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน คือการกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนทั่วๆไป ไม่จำกัดว่าด้วยการโฆษณาทางสื่อมวลชนหรือป่าวประกาศต่อประชาชนในสถานที่ต่างๆ จึงไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองกับพวกจะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้นทุกครั้งเป็นคราวๆไป เพียงแต่จำเลยทั้งสองกับพวกแสดงข้อความหลอกลวงให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายบางคนแล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนำเงินมาลงทุนกับจำเลยทั้งสองกับพวกก็ถือเป็นความผิดสำเร็จแล้ว จำเลยที่ 2 จะอยู่ด้วยกับจำเลยที่ 1 และ พ. หรือไม่ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8580/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเกี่ยวพันของคดีลักทรัพย์ต่อเนื่อง การนับโทษตามมาตรา 91(2) และมาตรา 160 วรรคหนึ่ง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองคดี โดยจำเลยถือโอกาสที่เป็นลูกจ้างลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมไป แม้ทรัพย์ที่จำเลยลักในคดีนี้มีประเภทของทรัพย์มากกว่าทรัพย์ที่จำเลยลักในคดีเดิมของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งการกระทำความผิดคดีนี้มีช่วงระยะเวลาบางช่วงที่จำเลยกระทำความผิดอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับคดีดังกล่าว คดีนี้และคดีดังกล่าวจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15230/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ ปลอมเอกสารและยักยอกทรัพย์ การนับโทษต่อ และอำนาจแก้ไขคำพิพากษา
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างปี 2536 ถึงปลายปี 2542 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน อาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ดังกล่าวร่วมกันปลอมใบรับเงินกู้ยืมและปลอมใบถอนเงินฝากของผู้เสียหายและยักยอกเงินของผู้เสียหาย ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 54/2548 ของศาลชั้นต้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2540 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายและในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอาศัยโอกาสในการที่ตนเป็นพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ช่วยผู้จัดการและพนักงานบัญชีปลอมใบรับเงินกู้ของผู้เสียหาย ยักยอกปุ๋ยของผู้เสียหาย ยักยอกข้าวเปลือกของผู้เสียหาย ยักยอกน้ำมันดีเซลของผู้เสียหาย และยักยอกเงินของผู้เสียหาย แม้วันเวลาเกิดเหตุของคดีทั้งสองจะคาบเกี่ยวกัน มูลคดีอย่างเดียวกัน และผู้เสียหายทั้งสองคดีเป็นคนเดียวกันก็ตาม แต่เอกสารสิทธิและทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกันปลอมและยักยอกเป็นเอกสารสิทธิคนละฉบับกัน ทรัพย์คนละประเภทกัน และเงินคนละจำนวนกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรม ต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงมิใช่เป็นฟ้องเรื่องเดียวกันกับฟ้องในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 54/2548 ของศาลชั้นต้น อันต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คดีดังกล่าวและคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารสิทธิ และยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้เสียหายรายเดียวกัน เพียงแต่กระทำความผิดต่างวันเวลากัน เอกสารสิทธิที่ปลอมคนละฉบับ ทรัพย์ที่ยักยอกเป็นคนละประเภท และเงินที่ยักยอกคนละจำนวนเท่านั้น ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยที่ 1 สำหรับการกระทำความผิดคดีนี้ และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้ และอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ คดีทั้งสองคดีจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้และเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คดีดังกล่าวและคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารสิทธิ และยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้เสียหายรายเดียวกัน เพียงแต่กระทำความผิดต่างวันเวลากัน เอกสารสิทธิที่ปลอมคนละฉบับ ทรัพย์ที่ยักยอกเป็นคนละประเภท และเงินที่ยักยอกคนละจำนวนเท่านั้น ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยที่ 1 สำหรับการกระทำความผิดคดีนี้ และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้ และอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ คดีทั้งสองคดีจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้และเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษจำคุกหลายคดี ต้องพิจารณาความเกี่ยวพันของการกระทำผิด หากแต่ละคดีมีวันเวลา สถานที่ และพยานหลักฐานต่างกัน ไม่สามารถรวมโทษได้
การรวมโทษของจำเลยทุกคดีแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน20 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นั้น จะต้องปรากฏว่าการกระทำผิดของจำเลยทุกคดีมีลักษณะเกี่ยวพันกันจนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 วรรคหนึ่ง หรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อปรากฏว่าคดีทั้งสามคดีที่จำเลยขอให้รวมโทษดังกล่าวเป็นคดีที่มีวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุต่างกันอยู่ในเขตอำนาจศาลต่างกัน และพยานหลักฐานก็เป็นคนละชุดกัน การกระทำผิดของจำเลยทั้งสามคดีจึงไม่ได้เกี่ยวพันกันจนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ แต่เป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 91(2) แห่งประมวลกฎหมายอาญาจึงไม่อาจรวมโทษของจำเลยทั้งสามคดีดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วคงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษซ้ำซ้อนในคดีอาญาที่เกี่ยวพันกัน และอำนาจแก้ไขคำสั่งบังคับคดี
คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5750/2529 ของศาลชั้นต้นมีลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกับที่จำเลยถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว คดีทั้งสองสำนวนมีความเกี่ยวพันโดยอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน หากศาลลงโทษจำคุกจำเลยทุกกรรมเต็มตามที่กำหนดไว้ใน ป.อ.มาตรา 91 (2) ในสำนวนใดสำนวนหนึ่งแล้ว ก็ไม่อาจนับโทษต่อในอีกสำนวนหนึ่งได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกว่าที่ ป.อ.มาตรา 91 (2) กำหนดไว้
ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแก่จำเลยแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษขัดต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งแก้ไขได้ เพราะไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา แต่เป็นเรื่องการบังคับคดีซึ่งศาลชั้นต้นต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแก่จำเลยแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษขัดต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งแก้ไขได้ เพราะไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา แต่เป็นเรื่องการบังคับคดีซึ่งศาลชั้นต้นต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีเกี่ยวพันกันและการนับโทษต่อกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีเจ็ดสำนวนรวมกันเพราะเป็นคดีเกี่ยวพันกัน จึงลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกอย่างสูงห้าปีทั้งเจ็ดสำนวน และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษฐานปลอมรอยตราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 251 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมีโทษจำคุกอย่างสูงถึงเจ็ดปี โดยศาลอุทธรณ์กับศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยไว้สำนวนละ 1 ปี 4 เดือน เมื่อรวมโทษที่โจทก์ฟ้องเจ็ดสำนวน เป็นจำคุกทั้งหมด 9 ปี 4 เดือนไม่เกินยี่สิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จึงนับโทษจำคุกจำเลยต่อกันได้