พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: คดีขับไล่จากอสังหาริมทรัพย์ที่อาจให้เช่าได้ไม่เกิน 5,000 บาท หลังพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518
ฟ้องเรื่องละเมิดว่า จำเลยทั้งสองซึ่งไม่เคยเช่าห้องพิพาทของโจทก์มาก่อน ได้บังอาจร่วมกันบุกรุกเข้ามาในที่ดินชั้นล่างของซากห้องแถวซึ่งถูกไฟไหม้ของโจทก์เพื่อทำการค้า เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ กับมีคำขอบังคับจำเลย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
การพิจารณาว่าเป็นฎีกาต้องห้ามหรือไม่ ต้องพิจารณาตามกฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา จำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 18 เมษายน 2518 อันเป็นเวลาที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 ใช้บังคับแล้วเมื่อเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยในกรณีละเมิดออกจากที่ดินและห้องแถวของโจทก์ ซึ่งตามฟ้องเรียกค่าเสียหายเดือนละ 2,100 บาท จำเลยให้การว่าค่าเสียหายไม่เกินเดือนละ 30 บาท แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละห้าพันบาท จำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6
การพิจารณาว่าเป็นฎีกาต้องห้ามหรือไม่ ต้องพิจารณาตามกฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา จำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 18 เมษายน 2518 อันเป็นเวลาที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 ใช้บังคับแล้วเมื่อเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยในกรณีละเมิดออกจากที่ดินและห้องแถวของโจทก์ ซึ่งตามฟ้องเรียกค่าเสียหายเดือนละ 2,100 บาท จำเลยให้การว่าค่าเสียหายไม่เกินเดือนละ 30 บาท แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละห้าพันบาท จำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้ายตามลักษณะป้ายและการพิจารณาเป็นป้ายแผ่นเดียวหรือไม่
ป้ายโฆษณาสินค้าของโจทก์มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีสี่ด้านติดตั้งไว้บนหลังคาตึก ป้ายทั้งสี่เป็นผืนเดียวติดต่อกัน แต่ก็อยู่คนละด้านเครื่องหมายหรืออักษรในแต่ละด้านเป็นอิสระจากกันไม่นับว่าเป็นป้ายเดียวกันดังนั้นแม้จะมีอักษรไทยในป้ายด้านอื่นๆ แต่เมื่อป้ายที่ 3 ด้านหนึ่งไม่มีอักษรภาษาไทย จึงต้องถือว่าป้ายที่ 3 เป็นป้ายประเภท (3) ตามบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัติ ภาษีป้าย พ.ศ.2510
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้าย กรณีป้ายหลายด้านติดกันแต่แยกอิสระ ป้ายไม่มีภาษาไทยถือเป็นป้ายประเภท (3)
โจทก์ได้แสดงป้ายโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าบนหลังคาตึก รวม 4 ป้ายโดยติดตั้งในลักษณะกล่องสี่เหลี่ยม มีอักษรภาษาไทยกับอักษรภาษาต่างประเทศปนกันอยู่ 3 ด้านส่วนอีกด้านหนึ่งมีแต่อักษรภาษาต่างประเทศ ไม่มีอักษรภาษาไทย ดังนี้ ป้ายทั้งสี่แม้จะติดต่อกัน แต่อยู่คนละด้าน เครื่องหมายหรืออักษรในแต่ละด้านเป็นอิสระจากกัน หานับเป็นป้ายเดียวกันไม่ ป้ายด้านที่ไม่อักษรภาษาไทยจึงเป็นป้ายประเภท (3) ตามบัญชีอัตราภาษีป้าย ท้ายพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่เกิดเหตุความผิดฐานใช้เช็ค - ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
ผู้เสียหายขี่รถจักรยานสามล้อผ่านหน้าบ้านจำเลย จำเลยซึ่งกำลังถือมีดเหน็บเตรียมจะผ่ามะพร้าวอยู่ที่ชานบ้านได้กระโดดเข้าแทงผู้เสียหายถูกที่สีข้างด้านซ้าย ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผู้เสียหายกับจำเลยไม่เคยโกรธเคืองกันมาก่อนเพียงแต่น้องของผู้เสียหายเคยทะเลาะกับบุตรของจำเลย เป็นเหตุให้ครอบครัวของทั้งสองฝ่ายเฉยเมยต่อกันเท่านั้น และเป็นเรื่องตั้งแต่ก่อนที่ผู้เสียหายจะมาอยู่ มีดที่จำเลยใช้ทำร้ายก็เป็นมีดที่จำเลยจะใช้ผ่ามะพร้าว และบาดแผลของผู้เสียหายไม่ฉกรรจ์ แม้ว่าจำเลยจะฟันผู้เสียหายซ้ำอีกแต่ผู้เสียหายหลบทันและยังวิ่งไล่ตามเมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีก็เป็นเหตุเกิดโดยกระทันหัน ไม่เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าหรือไม่: การพิจารณาจากพฤติการณ์, อาวุธ, และบาดแผล
ผู้เสียหายขี่รถจักรยานสามล้อผ่านหน้าบ้านจำเลย จำเลยซึ่งกำลังถือมีดเหน็บเตรียมจะผ่ามะพร้าวอยู่ที่ชานบ้าน ได้กระโดดเข้าแทงผู้เสียหายถูกที่สีข้างด้านซ้าย ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผู้เสียหายกับจำเลยไม่เคยโกรธเคืองกันมาก่อน เพียงแต่น้องของผู้เสียหายเคยทะเลาะกับบุตรของจำเลย เป็นเหตุให้ครอบครัวของทั้งสองฝ่ายเฉยเมยต่อกันเท่านั้น และเป็นเรื่องตั้งแต่ก่อนที่ผู้เสียหายจะมาอยู่ มีดที่จำเลยใช้ทำร้ายก็เป็นมีดที่จำเลยจะใช้ผ่ามะพร้าว และบาดแผลของผู้เสียหายไม่ฉกรรจ์ แม้ว่าจำเลยจะฟันผู้เสียหายซ้ำอีก แต่ผู้เสียหายหลบทัน และวิ่งไล่ตามเมื่อผู้เสียหายวิ่งหนี ก็เป็นเหตุเกิดโดยกะทันหัน ไม่เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาหมั้น-ละเมิด: ค่าทดแทนความเสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง และค่ารักษาพยาบาล
จำเลยได้หมั้นโจทก์และกำหนดจะแต่งงานกันหลังจากโจทก์ไว้ทุกข์ให้บิดาโจทก์แล้ว 3 ปี ระหว่างนั้นโจทก์ตั้งครรภ์กับจำเลยจำเลยแนะนำให้ทำแท้งเมื่อโจทก์ทำแท้งแล้วเกิดป่วยหนัก จำเลยกลับหลบหน้าไปแต่งงานกับหญิงอื่น โจทก์ได้รับความเสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง และต้องเจ็บป่วยเสียเงินค่ารักษาโดยจำเลยมิได้สนใจเมื่อหายป่วยแล้ว ผู้ที่ทราบเรื่องไม่มีผู้ใดประสงค์จะแต่งงานกับโจทก์อีกจำเลยจึงต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าวส่วนของหมั้นอันมีราคาเพียงเล็กน้อยนั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เสียหายอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439 วรรคท้ายจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ได้ของหมั้นเป็นการเพียงพอแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาหมั้น การทำแท้ง และค่าทดแทนความเสียหายทางร่างกาย-ชื่อเสียง
จำเลยได้หมั้นและกำหนดจะแต่งงานกันหลังจากโจทก์ไว้ทุกข์ให้บิดาโจทก์แล้ว 3 ปี ระหว่างนั้นโจทก์ตั้งครรภ์กับจำเลย จำเลยแนะนำให้ทำแท้ง เมื่อโจทก์ทำแท้งแล้วเกิดป่วยหนัก จำเลยกลับหลบหน้าไปแต่งงานกับหญิงอื่น โจทก์ได้รับความเสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง และต้องเจ็บป่วยเสียเงินค่ารักษาโดยจำเลยมิได้สนใจเมื่อหายป่วยแล้ว ผู้ที่ทราบเรื่องไม่มีผู้ใดประสงค์จะแต่งงานกับโจทก์อีก จำเลยจึงต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าว ส่วนของหมั้นอันมีราคาเพียงเล็กน้อยนั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เสียหายอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439 วรรคท้าย จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ได้ของหมั้นเป็นการเพียงพอแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเรื่องแบ่งสินสมรส แม้ทรัพย์ต่างกัน หากประเด็นและเหตุวินิจฉัยเดิมคล้ายกัน ถือฟ้องซ้ำตามมาตรา 148
คดีแรกจำเลยฟ้องโจทก์ขอหย่าและแบ่งสินสมรส ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้หย่า และแบ่งสินสมรสตามบัญชีทรัพย์สินท้ายฟ้องไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสรวมอยู่ในโฉนดที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่ง ซึ่งเจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนองขายทอดตลาดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้ ขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเป็นชื่อของโจทก์ ศาลวินิจฉัยว่า ที่พิพาทมิใช่ส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนอง ซึ่งโจทก์ซื้อมาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรส ที่โจทก์จำเลยร่วมกันซื้อมาระหว่างสมรส ยังมิได้แบ่งในคดีแรก ขอแบ่ง ดังนี้ ฟ้องคดีหลังนี้อ้างเหตุคนละอย่างกับคดีที่สอง จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีที่สอง แต่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก เพราะแม้ทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีหลังนี้จะเป็นคนละอย่างกับคดีแรก แต่เป็นการเรียกทรัพย์จากจำเลยมาแบ่งเป็นสินสมรสเช่นเดียวกัน เป็นประเด็นเดียวกับคดีแรก ซึ่งได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นชี้ขาดได้
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นชี้ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเรื่องแบ่งสินสมรส แม้ทรัพย์ต่างกัน หากประเด็นข้อพิพาทเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ศาลต้องห้ามตามมาตรา 148
คดีแรกจำเลยฟ้องโจทก์ขอหย่าและแบ่งสินสมรส ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้หย่าและแบ่งสินสมรสตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสรวมอยู่ในโฉนดที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งซึ่งเจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนองขายทอดตลาดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้ขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเป็นชื่อของโจทก์ศาลวินิจฉัยว่าที่พิพาทมิใช่ส่วนหนึ่งของที่ดินสินสมรสตามโฉนดที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนอง ซึ่งโจทก์ซื้อมาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสที่โจทก์จำเลยร่วมกันซื้อมาระหว่างสมรสยังมิได้แบ่งในคดีแรกขอแบ่ง ดังนี้ ฟ้องคดีหลังนี้อ้างเหตุผลคนละอย่างกับคดีที่สอง จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีที่สอง แต่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก เพราะแม้ว่าทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีหลังนี้จะเป็นคนละอย่างกับคดีแรกซึ่งโจทก์เป็นจำเลยแต่ไม่ได้ให้การหรือฟ้องแย้งแต่คดีนี้ก็เป็นการเรียกทรัพย์จากจำเลยมาแบ่งเป็นสินสมรสเช่นเดียวกัน เป็นประเด็นเดียวกับคดีแรกซึ่งได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นชี้ขาดได้
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นชี้ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกิดในไทยและสัญชาติ: การเสียสัญชาติด้วยการถือเอกสารคนต่างด้าว
ผู้ร้องเกิดในประเทศไทย จึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2408 มาตรา 7(3) การที่ผู้ร้องซึ่งมีสัญชาติเป็นไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทย โดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว จะเสียสัญชาติไทยตามความในมาตรา 21 ก็ต่อเมื่อได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว แม้ผู้ร้องได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรโดยขอรับใบแสดงหลักฐานการแจ้งออกเพื่อเข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ ต.ม.1) ซึ่งเป็นแบบที่เจ้าหน้าที่จะออกให้แก่ผู้ขอที่เป็นคนต่างด้าว แต่เอกสารดังกล่าวนี้หาใช่ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำคนต่างด้าวไม่ ผู้ร้องจึงไม่เสียสัญชาติไทย