พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายสินค้าเงินเชื่อ: ศาลฎีกาพิพากษายืนยกฟ้องโจทก์ เหตุพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ
แม้จําเลยยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัย โดยวินิจฉัยประเด็นอื่นและพิพากษาให้จําเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้คดี จําเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่วินิจฉัยประเด็นฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาด้วยนั้น ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คดีไม่มีประเด็นฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 ปัญหาการวินิจฉัยนอกประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ไม่ยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คดีก่อนจําเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกรวม 9 คน เป็นจําเลย เรียกเงินตามสัญญาซื้อขายส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสองเรียกเงินที่ได้ชําระแก่จําเลยที่ 1 ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายฉบับที่มี การฟ้องร้องกันในคดีก่อน ทั้งจําเลยทั้งสองให้การในคดีนี้ว่าโจทก์ไม่จ่ายเงินตามสัญญา ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจําเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกรวม 9 คน เป็นจําเลย เรียกเงินตามสัญญาซื้อขายส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสองเรียกเงินที่ได้ชําระแก่จําเลยที่ 1 ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายฉบับที่มี การฟ้องร้องกันในคดีก่อน ทั้งจําเลยทั้งสองให้การในคดีนี้ว่าโจทก์ไม่จ่ายเงินตามสัญญา ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดจากการไม่คืนเงินสนับสนุนพรรคการเมือง และการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยตาม พ.ร.ก. 2564
แม้ก่อนหน้านี้โจทก์มีหนังสือให้พรรค ป. ส่งคืนเงินสนับสนุนตามโครงการและแผนงานประจำปี 2543 ที่เหลือจากการใช้จ่าย แต่มิได้รวมถึงเงินสนับสนุนประจำปี 2542 ที่โจทก์ฟ้องด้วย ทั้งมิได้ระบุจำนวนเงินที่ต้องคืนแต่อย่างใด และหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค ป. แล้วก็ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบเพื่อสรุปจำนวนเงิน จึงยังไม่มีหนี้เป็นจำนวนแน่นอนที่พรรค ป. ต้องชำระ แต่เมื่อคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ในฐานะหัวหน้าพรรค ป. และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 และ นาย ค. ในฐานะกรรมการบริหารพรรค ป. คืนเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองประจำปี 2542 และ 2543 โดยกำหนดจำนวนเงินที่ต้องส่งคืนพร้อมดอกเบี้ยและกำหนดเวลาให้ชำระแล้ว จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 และ นาย ค. ไม่คืนภายในกำหนด จึงตกเป็นผู้ผิดนัด และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันพ้นกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน – ผลของคำพิพากษาคดีก่อน – การบังคับคดีตามกฎหมาย
ผลของคดีก่อนถึงที่สุดว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ส่วนที่ทับที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง เป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ แม้คดีก่อนศาลมิได้มีคำสั่งให้ขับไล่โจทก์คดีนี้ แต่ ป.วิ.พ. มาตรา 348 วรรคสอง (ที่เพิ่มเติมใหม่) บัญญัติให้การบังคับคดีในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาส่งคืนหรือส่งมอบอสังหาริมทรัพย์เฉพาะสิ่ง ให้นำบทบัญญัติในหมวด 4 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ขับไล่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 มาตรา 21 ให้มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับกระบวนการบังคับคดีในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาก่อนที่กฎหมายใช้บังคับด้วย ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่จำเลยบังคับคดีโจทก์ในคดีก่อนได้ โจทก์ซึ่งยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีก่อนที่มีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ไม่มีสิทธิในที่ดินและไม่อาจกล่าวอ้างสิทธิขึ้นใหม่เพื่อโต้แย้งว่าได้เปลี่ยนแปลงการยึดถือครอบครองที่ดินแทนจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8725/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์คดีอาญา-แพ่ง: การพิจารณาค่าสินไหมทดแทนตามคดีอาญา และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 44/1 ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนในคดีส่วนแพ่งต้องถือคดีส่วนอาญาเป็นหลัก หากคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คดีส่วนแพ่งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา ฉะนั้น จำเลยจึงไม่จำต้องขออนุญาตฎีกาในคดีส่วนแพ่ง และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะคดีส่วนอาญา และให้ส่งคำร้องขออนุญาตฎีกาในคดีส่วนแพ่งดังกล่าวมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งจึงเป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นเฉพาะในส่วนที่ให้ส่งคำร้องขออนุญาตฎีกาในคดีส่วนแพ่งมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่ง และเมื่อคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาในคดีส่วนแพ่งของจำเลย และหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนลงไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนชำระเงินแทนกัน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลบังคับใช้
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองตกลงให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินแก่บริษัท ซ. แทนจำเลยที่ 1 เพื่อที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จะได้เข้าทำสัญญาบริหารงานร้านค้าเซเว่นอีเลฟเว่นสโตร์กับบริษัท ซ. และจำเลยที่ 1 จะได้ทำกิจการร้านเซเว่นอีเลฟเว่น โจทก์ทั้งสองจึงเป็นตัวแทนในการชำระเงินของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ทั้งสองชำระเงินแก่บริษัท ซ. และจำเลยทั้งสองคืนเงินบางส่วนแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมเรียกเงินที่ชำระไปแทนในส่วนที่เหลือจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาตัวแทนได้ แม้การเป็นตัวแทนจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและค่าเช่าทรัพย์สินระหว่างทายาทตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากพินัยกรรมและสิทธิของทายาทโดยธรรม
บ. ห. และโจทก์ เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน บ. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพร้อมบ้านและตึกแถวให้แก่ ห. เมื่อ บ. ถึงแก่ความตายทรัพย์สินดังกล่าวจึงตกทอดแก่ ห. ต่อมา ห. ถึงแก่ความตายโดยไม่มีภริยาและบุตร ทรัพย์สินดังกล่าวจึงตกแก่ทายาทโดยธรรม คือ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คือ โจทก์ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของ บ. ที่รับมรดกแทนที่ บ. แม้จะเป็นทรัพย์สินเดียวกันก็ตาม โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและเงินค่าเช่า 1 ใน 2 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกกรณีพินัยกรรมร่วมและพินัยกรรมฉบับหลัง สิทธิของผู้จัดการมรดก และการเพิกถอนพินัยกรรม
การที่ผู้ตายที่ 2 เคยทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองร่วมกับผู้ตายที่ 1 มาก่อน โดยมีข้อที่ 3 ระบุว่า พินัยกรรมฉบับนี้หากจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือผู้ทำพินัยกรรมคนหนึ่งคนใดจะถอนพินัยกรรมฉบับนี้ หรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่ขึ้นจะต้องกระทำในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งสองคนและต้องแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย ถ้าผู้ทำพินัยกรรมฉบับนี้คนหนึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนจะแก้ไข เปลี่ยนแปลง ถอนพินัยกรรมส่วนของตน หรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่ไม่ได้ หากทำพินัยกรรมฉบับใหม่ขึ้นจะไม่มีผลทำให้พินัยกรรมฉบับนี้ไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด นั้น ย่อมไม่มีผลผูกพันในส่วนของผู้ตายที่ 2 เพราะถือเป็นข้อกำหนดของผู้ตายที่ 1 เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อื่นคือผู้ตายที่ 2 ซึ่งถึงแก่ความตายภายหลัง ทั้งผู้ตายที่ 2 ผู้ทำพินัยกรรมฉบับแรกก็ได้ทำพินัยกรรมฉบับหลัง ยกทรัพย์สินแก่บุตร 7 คน รวมทั้งผู้คัดค้าน โดยไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สินอื่นของผู้ตายที่ 2 นอกพินัยกรรม จึงเป็นกรณีที่พินัยกรรมฉบับหลังเพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกเฉพาะส่วนของผู้ตายที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1693 และ 1694 ดังนี้ เมื่อผู้ร้องมิได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมฉบับหลัง ถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมของผู้ตายที่ 2 เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกในส่วนของผู้ตายที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาท: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้โอนและการเรียกคู่ความเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยว่า โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุและเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ราชพัสดุดังกล่าวโดยซื้อมาจาก จ. เดิมจำเลยเป็นผู้เช่าสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจาก จ. แต่ จ. ยกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่เคยสละสิทธิการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท เดิมจำเลยกู้ยืมเงินจาก จ. มีสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่ จ. ตลอดมาจนประมาณเดือนมิถุนายน 2559 จำเลยขอชำระเงินต้นคืน แต่ จ. ไม่ยอมรับเงินและไม่ยอมไถ่ถอนหลักประกัน และนำสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทไปโอนต่อให้แก่โจทก์ โดยที่จำเลยไม่เคยผิดนัดตามสัญญากู้ยืมเงิน การกระทำของ จ. จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ในฐานะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าที่ดินและการโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับ จ. และระหว่างโจทก์กับ จ. ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นการต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ จึงเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เมื่อฟ้องแย้งจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอน และขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าที่ดินและการโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับ จ. และระหว่าง จ. กับโจทก์ ซึ่งเป็นกรณีที่ จ. โต้แย้งสิทธิของจำเลยในการบังคับหลักประกันตามสัญญากู้ยืมเงินด้วย จึงเห็นสมควรเรียก จ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีร่วมกับโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2562 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท การโอนสิทธิการเช่าและการบังคับหลักประกันสิทธิ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยว่า โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุและเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ราชพัสดุดังกล่าว โดยซื้อมาจาก จ. เดิมจำเลยเป็นผู้เช่าสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจาก จ. แต่ จ. ได้ยกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยไม่ยอมออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่เคยสละสิทธิการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท การที่จำเลยไม่ขนย้ายออกจากที่ดินและบ้านพิพาทภายหลังจากสิ้นสิทธิการเช่าจากกรมธนารักษ์ จึงหาใช่เป็นการกระทำที่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เดิมจำเลยกู้ยืมเงินจาก จ. มีสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นหลักประกัน จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่ จ. ตลอดมาจนประมาณเดือนมิถุนายน 2559 จำเลยขอชำระคืนหนี้เงินต้นตามข้อตกลง แต่ จ. ไม่ยอมรับเงินและไม่ยอมไถ่ถอนหลักประกัน และนำสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทไปโอนต่อให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินและบ้านพิพาทจำเลยและครอบครัวได้ใช้พักอาศัยการใช้สิทธิของ จ. ที่บังคับเอาสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นหลักประกันเงินกู้ยืมของจำเลยไปเป็นของตนเองในขณะที่จำเลยไม่เคยผิดนัดตามสัญญากู้ยืมเงินนั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ในฐานะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่า จ. ผู้โอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย การกระทำของ จ. และโจทก์เป็นการฉ้อฉลและขัดต่อกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาท ขอให้ยกฟ้อง และขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าที่ดินและการโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับ จ. และระหว่าง จ. กับโจทก์ ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นการต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เพื่อให้ข้อที่พิพาทกันเสร็จไปในคราวเดียวกัน จึงควรรับฟ้องแย้งของจำเลยเพื่อรวมพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันกับฟ้องโจทก์ตามฟ้องแย้งจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ซึ่งรับโอนการเช่าที่ดินและโอนบ้านพิพาทจาก จ. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าที่ดินและการโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับ จ. และระหว่าง จ. กับโจทก์ ซึ่งเป็นกรณีที่ จ. โต้แย้งสิทธิของจำเลยในการบังคับหลักประกันตามสัญญากู้ยืมเงินด้วย จึงเห็นสมควรที่จะเรียก จ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีร่วมกับโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) ซึ่งบัญญัติให้ศาลมีอำนาจเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้