คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศรีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีสิทธิค่าชดเชยและวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 ที่กำหนดให้พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนั้นเป็นเพียงบทกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน การที่จำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งก็เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง เงินกองทุนสงเคราะห์ จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยและมีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์พนักงานและทายาท ซึ่งเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำเหน็จบำนาญเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณต่างจากวิธีคำนวณค่าชดเชยเงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำเหน็จบำนาญมิใช่ค่าชดเชยจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก จำเลยไม่ได้กำหนดให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ในช่วงใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่า โจทก์ไม่ใช่สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเองเมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยที่โจทก์มิได้กระทำความผิดตามประกาศดังกล่าวข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ และกรณีมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วว่าที่ดินไม่ใช่ของโจทก์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ 50 บาท ถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท เมื่อจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของสามีจำเลยซึ่งมีที่ดินติดต่อกับที่ดินของโจทก์ มิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'บริวาร' ในการบังคับคดีขายฝาก: เจ้าของเรือนไม้ที่ปลูกบนที่ดินเช่า ไม่ถือเป็นบริวารของผู้ขายฝาก
ผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของเรือนไม้ 2 หลังในจำนวนเรือนไม้3 หลังที่จำเลยทำสัญญาขายฝากโจทก์ โดยขออาศัยปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยเช่าจากบุคคลภายนอก และมิได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยนำไปขายฝาก ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ใช่บริวารของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะ ‘บริวาร’ ในคดีขับไล่ ต้องพิจารณาความเป็นเจ้าของเรือนและเจตนาในการขายฝาก
ผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของเรือนไม้ ๒ หลังในจำนวนเรือนไม้๓ หลังที่จำเลยทำสัญญาขายฝากโจทก์ โดยขออาศัยปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยเช่าจากบุคคลภายนอก และมิได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยนำไปขายฝาก ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ใช่บริวารของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3325/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็ค - เช็คเพื่อประกันหนี้ - ธนาคารปฏิเสธการจ่าย - ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คให้ จ.ไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ และเพื่อใช้เช็คนั้นดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยเพื่อบีบบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกดังกล่าว โจทก์ผู้รับโอนเช็คจากจ. ทราบถึงความผูกพันเรื่องเช็คพิพาทระหว่าง จ.กับจำเลยมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท: ใช้เครื่องชั่งผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้า
จำเลยมีไว้เพื่อใช้ซึ่งเครื่องชั่งที่ผิดอัตรา และได้ใช้เครื่องชั่งนั้นในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่น ซึ่งต่างก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเอาเปรียบในการค้าเช่นเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ศาลล่างทั้งสองลงโทษเป็น 2 กระทง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้