คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ผสม จิตรชุ่ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 619 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องขับไล่หลังสัญญาเช่าสิ้นสุด: ผู้เช่าช่วงยังอยู่ในอาคาร ผู้ให้เช่าเดิมมีสิทธิไล่ได้
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากการรถไฟ แล้วให้จำเลยเช่าช่วงแม้ขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่าสิ้นอายุแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยผู้เช่าช่วงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์ โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องส่งคืนตึกแถวให้ผู้ให้เช่าเมื่อสัญญาเช่าได้ระงับลงก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ส่งมอบตึกแถวพิพาทซึ่งเช่าจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขับไล่ของผู้ให้เช่าช่วงแม้สัญญาเช่ากับผู้ให้เช่าเดิมสิ้นสุดแล้ว หากผู้เช่าช่วงยัง占ครองอยู่
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากการรถไฟ แล้วให้จำเลยเช่าช่วง แม้ขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่าสิ้นอายุแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยผู้เช่าช่วงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์ โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องส่งคืนตึกแถวให้ผู้ให้เช่าเมื่อสัญญาเช่าได้ระงับลงก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ส่งมอบตึกแถวพิพาทซึ่งเช่าจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดการศพ: ทายาทโดยธรรมมีอำนาจจัดการศพได้เอง ไม่ต้องร้องต่อศาลหากไม่มีข้อพิพาท
กรณีร้องขอเป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตายมาตรา 1649 นั้น ต้องปรากฏว่าผู้ตายไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก หรือตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ทั้งทายาทก็ตกลงกันไม่ได้ที่จะมอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ อำนาจและหน้าที่นี้จึงตกได้แก่ผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนมากที่สุด และกรณีถ้าผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่า ผู้ได้รับมรดกเป็นจำนวนมากที่สุดนั้นไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายจึงอาจร้องขอต่อศาลได้ แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายมีอำนาจจัดการทำศพหรือมอบหมายให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ทั้งปรากฏว่าก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ไปขอรับศพผู้ตาย แต่ ส.ซึ่งรับศพจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไปก่อน ไม่ยอมมอบให้โดยอ้างว่าเป็นภรรยาผู้ตาย จึงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับ ส. ผู้ร้องชอบทีจะดำเนินคดีกับ ส. อย่างคดีมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ที่ร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการศพ: ทายาทโดยธรรมมีสิทธิจัดการศพได้เอง ไม่ต้องร้องขอต่อศาล
กรณีร้องขอเป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตายตามมาตรา 1649นั้น ต้องปรากฏว่าผู้ตายไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก หรือตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ทั้งทายาทก็ตกลงกันไม่ได้ที่จะมอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพอำนาจและหน้าที่นี้จึงตกได้แก่ผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนมากที่สุด และกรณีนี้ถ้าผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่า ผู้ได้รับมรดกเป็นจำนวนมากที่สุดนั้นไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายจึงอาจร้องขอต่อศาลได้ แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายมีอำนาจจัดการทำศพหรือมอบหมายให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ทั้งปรากฏว่าก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ไปขอรับศพผู้ตาย แต่ส.ซึ่งรับศพจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไปก่อน ไม่ยอมมอบให้โดยอ้างว่าเป็นภรรยาผู้ตาย จึงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับ ส. ผู้ร้องชอบที่จะดำเนินคดีกับ ส. อย่างคดีมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา55 ที่ร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637-2639/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีของตัวแทนจำหน่ายและสาขาของบริษัทต่างชาติ: ภาษีเงินได้และภาษีการค้า
โจทก์ยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติขยายกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์ตามนัยมาตรา 3อัฏฐแห่งประมวลรัษฎากร เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรไม่ยินยอมโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งมีอำนาจปกครองอยู่ในขณะนั้น และในที่สุดอธิบดีกรมสรรพากรได้มีหนังสือถึงโจทก์อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ ดังนี้ เป็นการขยายกำหนดเวลาออกไปตามอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรที่มีอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรขยายเวลาออกไปย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โดยชอบแล้ว และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
บริษัท อ. และ พ. ทำสัญญาซื้อขายอุปกรณ์โทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยบริษัท อ. แต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อเจรจาตกลงกับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2% ของราคาเอฟโอบี ที่ได้รับคำสั่งซื้อ และในการติดต่อขายอุปกรณ์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ยื่นเสนอราคาหรือลดราคา และได้ขอยืดเวลาการเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ ตกลงซื้อแล้วก็ได้แจ้งให้โจทก์ติดต่อบริษัท อ. ให้เข้ามาทำสัญญา การชำระราคาองค์การโทรศัพท์ฯเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไปยังบริษัท อ. แล้วทำหนังสือแจ้งให้ทราบโดยผ่านโจทก์ โจทก์ได้รับค่านายหน้าเป็นคราว ๆ ที่สินค้าตามสัญญาทยอยเข้ามา และสำหรับกรณีของบริษัท พ. นั้น โจทก์ก็เป็นผู้เสนอขายอุปกรณ์โทรศัพท์ของบริษัท พ. โดยโจทก์อ้างว่าได้รับมอบให้เป็นนายหน้าตัวแทน ในหนังสือขององค์การโทรศัพท์ที่ขออนุมัติสั่งซื้อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็อ้างว่าการเสนอราคาของบริษัท พ. มีโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทยใบสั่งซื้อก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นพยาน ประกอบกับโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการติดต่อให้บริษัท อ. และ พ. เข้าทำสัญญาซื้อขายกับองค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะนายหน้า แสดงว่าโจทก์ได้แสดงออกโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทยของบริษัท อ. และ พ. แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ เป็นตัวแทนของบริษัททั้งสองดังกล่าวอันเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในการขายอุปกรณ์โทรศัพท์ให้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 มาตรา 33
บทบัญญัติมาตรา 76 ทวิ อยู่ในส่วนที่ 3 ของหมวดที่ 3 ว่าด้วยภาษีเงินได้ แต่เรื่องภาษีการค้ามีบัญญัติอยู่ในหมวดที่ 4 ต่างส่วน ต่างหมวดกัน ดังนั้นการวินิจฉัยถึงความรับผิดในเรื่องภาษีการค้า จึงต้อง อาศัยบทบัญญัติในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้า จะนำบทบัญญัติ ใน มาตรา 76 ทวิ อันเป็นบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานเด็ดขาดในเรื่อง ภาษีเงินได้มาใช้กับเรื่องภาษีการค้าไม่ได้
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัท อ. เพื่อจุดประสงค์ในการเจรจากับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์ฯ โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 เปอร์เซนต์ของราคาเอฟโอบีที่ได้รับคำสั่งซื้อ ต่อมามีบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ. มีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทย และยืนยันข้อตกลงที่แต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าโดยให้โจทก์กระทำการเป็นตัวแทนนายหน้าต่อหน่วยราชการหรือองค์การในประเทศไทย และในการเซ็นสัญญาซื้อขายโจทก์เป็นผู้ขอยืดเวลาเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ จ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายให้บริษัท อ. ก็ต้องแจ้งผ่านโจทก์ ดังนี้ บริษัทโจทก์มิได้กระทำการเป็นเพียงนายหน้าของบริษัท อ. เท่านั้นแต่ถือได้ว่าเป็นผู้ทำการแทนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 37 และเป็นสาขาของบริษัท อ. ผู้นำเข้าตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) จากรายรับของบริษัท อ. ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2504 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2507
สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับบริษัท พ. ขายสินค้าให้องค์การโทรศัพท์ฯ ก็ปรากฏว่า โจทก์มีหนังสือเสนอขายสินค้าแทนบริษัท พ. โดยอ้างว่าโจทก์ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนนายหน้า ใบสั่งซื้อสินค้าที่องค์การโทรศัพท์กับบริษัท พ. ก็มีผู้จัดการส่งถึงบริษัท พ. ก็ต้องผ่านโจทก์สัญญาซื้อขายระหว่างองค์การโทรศัพท์ฯ กับบริษัท พ. ก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงนามเป็นพยานด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้เข้าเกี่ยวข้องติดต่อทุกขั้นตอนในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท พ. โจทก์จึงเป็นสาขาของบริษัท พ. ผู้นำเข้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18)พ.ศ. 2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของ บริษัท พ. ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2506 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2507 และมกราคม ถึงสิงหาคม 2508

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637-2639/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศ: หน้าที่เสียภาษีการค้าและเงินได้ กรณีมีตัวแทน/สาขาในไทย
โจทก์ยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติขยายกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์ตามนัยมาตาม 3 อัฎฐแห่งประมวลรัษฎากร เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรไม่ยินยอมโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งมีอำนาจปกครองอยู่ในขณะนั้น และในที่สุดอธิบดีกรมสรรพากรได้มีหนังสือถึงโจทก์อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ ดังนี้ เป็นการขยายกำหนดเวลาออกไปตามอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรที่มีอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรขยายเวลาออกไปย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โดยชอบแล้วและเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
บริษัท อ.และ พ.ทำสัญญาซื้อขายอุปการณ์โทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยบริษัท อ.แต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อเจรจาตกลงกับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 % ของราคาเอฟโอบี ที่ได้รับคำสั่งซื้อ และในการติดต่อขายอุปกรณ์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ยื่นเสนอราคาหรือลดราคา และได้ขอยืดเวลาการเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ ตกลงซื้อแล้วก็ได้แจ้งให้โจทก์ติดต่อบริษัท อ.ให้เข้ามาทำสัญญา การชำระราคาองค์การโทรศัพท์ฯ เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไปยังบริษัท พ. โดยโจทก์อ้างว่าได้รับมอบให้เป็นนายหน้าตัวแทน ในหนังสือขององค์การโทรศัพท์ที่ขออนุมัติสั่งซื้อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็อ้างว่า การเสนอราคาของบริษัท พ.มีโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทย ใลสั่งซื้อก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นพยาน ประกอบกับโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการติดต่อให้บริษัท อ. และ พ. เข้าทำสัญญาซื้อขายกับองค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะนายหน้า แสดงว่าโจทก์ได้แสดงออกโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทยของบริษัท อ.และพ. แล้ว ถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนของบริษัททั้งสองดังกล่าวอันเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในการขายอุปกรณ์โทรศัพท์ให้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามความในประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2494 มาตรา 33
บทบัญญัติมาตรา 76 ทวิอยู่ในส่วนที่ 3 ของหมวดที่ 3 ว่าด้วยภาษีเงินได้ แต่เรื่องภาษีการค้าที่บัญญัติอยู่ในหมวดที่ 4 ต่างส่วนต่างหมวดกัน ดังนั้น การวินิจฉัยถึงความรับผิดในเรื่องภาษีการค้า จึงต้องอาศัยบทบัญญัติในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้า จะนำบทบัญญัติในมาตรา 76 ทวิ อันเป็นบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานเด็ดขาดในเรื่องภาษีเงินได้มาใช้กับเรื่องภาษีการค้าไม่ได้
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัท อ. เพื่อจุดประสงค์ในการเจรจากับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์ฯ โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 เปอร์เซนต์ ของราคาเอฟโอบีที่ได้รับคำสั่งซื้อ ต่อมามีบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ.มีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทยและยืนยันข้อตกลงที่แต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าโดยให้โจทก์กระทำการเป็นตัวแทนนายหน้าต่อหน่วยราชการหรือองค์การในประเทศไทยและในการเซ็นสัญญาซื้อขายโจทก์เป็นผู้ขอยืดเวลาเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ จ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายในบริษัท อ.ก็ต้องแจ้งผ่านโจทก์ ดังนี้ บริษัทโจทก์มิได้กระทำการเป็นเพียงนายหน้าของบริษัท อ.เท่านั้น แต่ถือได้ว่าเป็นผู้ทำการแทนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 มาตรา 37 และเป็นสาขาของบริษัท อ.ผู้นำเข้าตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (ก) จากรายรับของบริษัท อ.ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2504 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2507
สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับบริษัท พ.ขายสินค้าให้องค์การโทรศัพท์ฯ ก็ปรากฏว่า โจทก์มีหนังสือเสนอขายสินค้าแทนบริษัท พ. โดยอ้างว่าโจทก์ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนนายหน้า ใบสั่งซื้อสินค้าที่องค์การโทรศัพท์กับบริษัท พ.ก็มีผู้จัดการส่งถึงบริษัท พ. ก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายระหว่างองค์การโทรศัพท์ฯ กับบริษัท พ.ก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงนามเป็นพยานด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้เข้าเกี่ยวข้องติดต่อทุกขั้นตอนในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท พ. โจทก์จึงเป็นสาขาของบริษัท พ.ผู้นำเข้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของบริษัท พ.ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2506 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2507 และมกราคม ถึงสิงหาคม 2508

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต, โฆษณาเท็จ, และประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นแพทย์และมิได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ จัดให้มีการโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคหลายชนิดให้หายได้ ประชาชนหลงเชื่อได้พากันไปรับรักษาโรคต่าง ๆ กับจำเลยที่ 1 วันละประมาณ 50 - 60 คน แต่ไม่หาย เพราะจำเลยที่ 1 มิได้รักษาโรคตามวิธีที่ถูกต้อง ในการรักษาดังกล่าวจำเลยคิดค่ารักษาคนละ 59 บาท ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน และได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากการหลอกลวง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
ผู้ตายเป็นโรคน้ำเลี้ยงสมองโป่งพอง มีเนื้อโป่งพองที่ดั้งจมูกมาแต่กำเนิดมารดาพาไปให้จำเลยที่ 1 รักษา จำเลยที่ 1 ใช้เข็มฉีดยาเจาะเนื้อที่โป่งพองแล้วเป่าพ่นด้วยน้ำลาย เมื่อเจาะแล้วมีน้ำใส ๆ ไหลออกมาจากรูที่เจาะไม่หยุด กับมีอาการซูลซีดลงและอ่อนเพลีย หลังจากนั้นอีก 6 วันก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรักษาพยาบาลโดยผู้ไม่ได้รับอนุญาต, โฆษณาเท็จ, ประมาทเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นแพทย์และมิได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลป์ จัดให้มีการโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคหลายชนิดให้หายได้ ประชาชนหลงเชื่อได้พากันไปรับรักษาโรคต่างๆกับจำเลยที่ 1 วันละประมาณ 50-60 คน แต่ไม่หายเพราะจำเลยที่ 1 มิได้รักษาโรคตามวิธีที่ถูกต้อง ในการรักษาดังกล่าวจำเลยคิดค่ารักษาคนละ 59 บาทดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน และได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากการหลอกลวง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
ผู้ตายเป็นโรคน้ำเลี้ยงสมองโป่งพองมีเนื้อโป่งพองที่ดั้งจมูกมาแต่กำเนิดมารดาพาไปให้จำเลยที่ 1 รักษาจำเลยที่ 1 ใช้เข็มฉีดยาเจาะเนื้อที่โป่งพองแล้วเป่าพ่นด้วยน้ำลาย เมื่อเจาะแล้วมีน้ำใสๆ ไหลออกมาจากรูที่เจาะไม่หยุด กับมีอาการซูบซีดลงและอ่อนเพลีย หลังจากนั้นอีก 6 วันก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมเมื่อคู่กรณีเสียชีวิตและไม่มีผู้จัดการมรดก ศาลไม่อาจสั่งแบ่งได้ตามมาตรา 55
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินร่วมกับ ป. ต่อมา ป. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องเป็นส่วนสัด แต่เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจทำได้ เพราะไม่ทราบแน่นอนว่ากรรมสิทธิ์ของผู้ร้องอยู่ส่วนใด ทั้งมรดกของ ป. ก็ยังไม่มีผู้จัดการมรดก จึงขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวทางด้านตะวันตกจำนวน 3 ใน 4 ส่วน ดังนี้ กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของผู้ร้องยังมิได้ถูกโต้แย้งแต่ประการใด ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์มาโดยการรับซื้อฝาก มิใช่ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ กรณีของผู้ร้องมิใช่เรื่องที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: สัญญาซื้อขายที่ไม่ผูกพันเจ้าของเดิม, การครอบครองปรปักษ์, และการเพิกถอน ส.ค.1
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับจำเลยร่วมให้จำเลยร่วมปลูกอาคารพานิชย์ตลาดสดอาคารแผงลอยในที่พิพาท เมื่อสร้างเสร็จจำเลยร่วมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ทันที และจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยร่วมเช่าอาคารพานิชย์ 15 ปีอาคารแผงลอย 10 ปี ดังนี้ สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันก่อให้เกิดบุคคลสิทธิต่อกันเท่านั้น เมื่อศาลฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ถึงแม้จำเลยร่วมจะได้ทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริต ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาทโจทก์จึงไม่ต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งจำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยร่วม จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาออกไปจากที่พิพาทตามคำขอบังคับของโจทก์ แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมทำสัญญาดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต่างเข้าใจโดยสุจริตว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จะขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าเดิมที่พิพาทเป็นของวัดโจทก์ ต่อมาปลัดอำเภอได้แจ้ง ส.ค.1 ว่าเป็นของทางราชการมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ทางอำเภอเชื่อ จึงออก ส.ค.1 ให้ ต่อมาเมื่อตั้งสุขาภิบาลขึ้นทางอำเภอได้โอนที่ดินพิพาทให้สุขาภิบาลพังโคนจำเลยครอบครอง จึงขอให้ศาลเพิกถอน ส.ค.1 และนิติกรรมการรับโอนที่พิพาท โอนที่ดินคืนให้โจทก์ ถ้าไม่ยอมโอนคืนให้ถือคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น ที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวก็เพื่อประสงค์ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้ และเมื่อศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แล้วก็ไม่จำต้องเพิกถอน ส.ค.1 และไม่ต้องเพิกถอนนิติกรรมรับโอนที่พิพาทกับโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์เพราะการแจ้ง ส.ค.1 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งแต่อย่างใด ทั้งที่พิพาทรายนี้เป็นที่ดินมือเปล่าไม่อาจบังคับให้โอนกันทางทะเบียนได้ ที่พิพาทจึงย่อมกลับเป็นของโจทก์ตามเดิมตามคำพิพากษาดังกล่าว
of 62