พบผลลัพธ์ทั้งหมด 702 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองฝิ่นและกล้องสูบฝิ่น: การเสพฝิ่นเองไม่ถือเป็นการครอบครองร่วมกับผู้อื่น
ฝิ่น มูลฝิ่น และกล้องสูบฝิ่นของกลางจับได้ที่บ้าน ม. จำเลยทั้งสองมีบ้านอยู่ต่างหาก ไม่ได้อยู่ที่บ้าน ม. แต่มาเยี่ยม ม. ในวันเกิดเหตุ และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้องกับของกลางดังกล่าวอย่างใด นอกจากการเสพฝิ่นและการที่จำเลยทั้งสองต่างเสพฝิ่นนั้นก็ไม่เป็นการมีกล้องสูบฝิ่นและฝิ่นที่เสพไว้ในความครอบครองร่วมกับ ม. จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานมีฝิ่น มูลฝิ่น และกล้องสูบฝิ่นไว้ในความครอบครองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองฝิ่นและกล้องสูบฝิ่น: การเสพฝิ่นเองไม่ถือเป็นการครอบครองร่วมกับผู้อื่น
ฝิ่น มูลฝิ่น และกล้องสูบฝิ่นของกลางจับได้ที่บ้าน ม. จำเลยทั้งสองมีบ้านอยู่ต่างหาก ไม่ได้อยู่ที่บ้าน ม. แต่มาเยี่ยม ม. ในวันเกิดเหตุ และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้องกับของกลางดังกล่าวอย่างใด นอกจากการเสพฝิ่นและการที่จำเลยทั้งสองต่างเสพฝิ่นนั้นก็ไม่เป็นการมีกล้องสูบฝิ่นและฝิ่นที่เสพไว้ในความครอบครองร่วมกับ ม.จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานมีฝิ่น มูลฝิ่น และกล้องสูบฝิ่นไว้ในความครอบครองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ถูกริบแล้ว ผู้ซื้อโดยสุจริตก็ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
เมื่อศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางแล้ว เจ้าของรถไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นอีกต่อไป ผู้ร้องซื้อรถยนต์ของกลางขณะที่ผู้ขายไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ แม้ผู้ร้องจะซื้อโดยสุจริตและแก้ทะเบียนเป็นของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางไม่มีสิทธิร้องขอรถยนต์ของกลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ถูกริบเมื่อศาลมีคำพิพากษา แม้ซื้อโดยสุจริตก็ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
เมื่อศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางแล้ว เจ้าของรถไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นอีกต่อไปผู้ร้องซื้อรถยนต์ของกลางขณะที่ผู้ขายไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ แม้ผู้ร้องจะซื้อโดยสุจริตและแก้ทะเบียนเป็นของผู้ร้องแล้วผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางไม่มีสิทธิร้องขอรถยนต์ของกลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอดต่อความเสียหายของสินค้า และขอบเขตความรับผิดของผู้รับขนช่วง
โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งของไปต่างประเทศทางทะเล จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 นำรถลากจูงรถตู้ไปลำเลียงของมาลงเรือ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในความผิดของจำเลยที่ 2 ที่ของสูญหายไปตาม ป.พ.พ. ม.617 ด้วยป.ว.281 ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด โดยเหตุที่เป็นบริษัทต่างประเทศต้องห้ามรับขนส่งสินค้าทางบกไม่ได้จำเลยที่ 2 รับขนช่วงจากจำเลยที่ 1 เป็นการรับขนโดยผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ผู้ขนส่งต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1 ในการที่สินค้าของโจทก์สูญหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลและผู้รับขนส่งช่วงเมื่อสินค้าสูญหาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนของทางทะเล โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งกุ้งแช่เย็นจากจังหวัดตราดไปต่างประเทศ ในการขนส่งกุ้งดังกล่าว จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้จำเลยที่ 2 นำตู้บรรจุสินค้าซึ่งเรียกว่าคอนเทนเนอร์มาบรรจุกุ้งและลากจูงจากจังหวัดตราดไปยังท่าเรือสัตหีบ ปรากฏว่ากุ้งของโจทก์ในรถตู้ลำเลียงหายไปบางส่วน ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 นำของที่จำเลยที่ 1 รับขนมายังท่าเรืออันเป็นส่วนหนึ่งของการที่จะให้ธุรกิจของจำเลยที่ 1 ในการรับขนของลุล่วงเป็นผลสำเร็จ เมื่อของที่รับขนสูญหายไป จำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617 และเมื่อจำเลยที่ 2 รับขนส่งช่วงจากจำเลยที่ 1 อันถือได้ว่า สินค้าของโจทก์ได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ซึ่งผู้ขนส่งทั้งนั้นจะต้องร่วมกันรับผิดในกรณีที่สินค้าของโจทก์สูญหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพิ่มค่าก่อสร้าง: การจ่ายเงินเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณไม่ใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการจ่าย
กระทรวงสาธารณสุขจำเลยทำสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างเพราะอุปกรณ์การก่อสร้างมีราคาสูงขึ้นผิดปกติเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ หากจำเลยผู้ว่าจ้างไม่เพิ่มให้โจทก์อาจทิ้งงานเป็นผลให้งานก่อสร้างของทางราชการต้องล่าช้าเสียหาย เงินเพิ่มชดเชยนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาเดิมซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างจะต้องวางเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันเช่นเดียวกับสัญญาเดิม และเป็นเงินที่เพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจำนวนตามที่คู่สัญญาตกลงกันแล้วว่า จะเพียงพอให้งานก่อสร้างตามสัญญาเดิมดำเนินไปจนเสร็จสิ้น ดังนั้น ข้อความในสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างที่ว่า "ผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้รับจ้าง เป็นจำนวนเงิน 1,530,880 บาท เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณตามกฎหมายแล้ว" จึงมิใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการกำหนดการจ่ายเงินค่าจ้างคือ จำเลยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าจ้างให้โจทก์ เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณแล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดในกรณีที่สำนักงบประมาณไม่อนุมัติงวดเงินที่ค้างชำระอยู่อีก 356,690 บาทหาได้ไม่
จำเลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเดิมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7
จำเลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเดิมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพิ่มค่าก่อสร้าง: ข้อกำหนดการจ่ายเงินไม่ใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการชำระหนี้ และประเด็นอายุความที่ไม่อุทธรณ์ในชั้นต้น
กระทรวงสาธารณสุขจำเลยทำสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะอุปกรณ์การก่อสร้างมีราคาสูงขึ้นผิดปกติ เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ หากจำเลยผู้ว่าจ้างไม่เพิ่มให้โจทก์อาจทิ้งงานเป็นผลให้งานก่อสร้างของทางราชการต้องล่าช้าเสียหาย เงินเพิ่มชดเชยนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาเดิมซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างจะต้องวางเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันเช่นเดียวกับสัญญาเดิม และเป็นเงินที่เพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจำนวนตามที่คู่สัญญาตกลงกันแล้วว่า จะเพียงพอให้งานก่อสร้างตามสัญญาเดิมดำเนินไปจนเสร็จสิ้น ดังนั้น ข้อความในสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างที่ว่า " ผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้รับจ้าง เป็นจำนวนเงิน 1,530,880 บาท เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณตามกฎหมายแล้ว " จึงมิใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการกำหนดการจ่ายเงินค่าจ้าง คือ จำเลยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าจ้างให้โจทก์ เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณแล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดในกรณีที่สำนักงบประมาณไม่อนุมัติงวดเงินที่ค้างชำระอยู่อีก 356,690 บาทหาได้ไม่
จำลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเดิม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7
จำลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเดิม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายจากประกันภัยและการคืนเงินจากรถยนต์ที่ถูกลัก การเรียกร้องค่าซ่อมรถจากจำเลยไม่มีสิทธิ
จำเลยได้รถยนต์คันพิพาทมาจากผู้มีชื่อโดยการตีราคาแลกเปลี่ยนกับรถยนต์คันเดิมของจำเลย ต่อมารถพิพาทถูกรถยนต์คันซึ่งเอาประกันภัยไว้กับบริษัทโจทก์ชนเสียหายโดยฝ่ายหลังเป็นฝ่ายผิด เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดในผลแห่งความเสียหายต่อจำเลย โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยโอนรถพิพาทให้โจทก์และโจทก์ยอมจ่ายเงินให้จำเลย 65,000 บาท ต่อมาโจทก์ได้ขายรถยนต์พิพาทให้ ส. เป็นเงิน 35,000 บาท ส.ได้นำไปซ่อมเสียค่าซ่อมไป 15,000 บาท ความปรากฏต่อเจ้าพนักงานต่อมาว่ารถยนต์พิพาทเป็นของผู้อื่นที่ถูกลักไป จึงยึดและคืนให้แก่เจ้าของ ส.จึงฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้โจทก์คืนเงินราคารถยนต์ที่รับไว้จาก ส. 35,000 บาท และค่าซ่อมอีก 15,000 บาทแก่ ส. โจทก์จึงมาฟ้องเรียกเงิน 65,000 บาท กับค่าซ่อมรถที่โจทก์จ่ายให้ ส. ไป 15,000 บาทจากจำเลย ดังนี้ การที่โจทก์ยอมใช้เงิน (65,000 บาท) ให้จำเลยแล้วรับโอนรถพิพาทไปก็เพราะโจทก์มีความรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อจำเลยในมูลประกันภัยเป็นคนละเรื่องกับการที่โจทก์ได้ขายรถให้ ส.ไป เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์เต็มตามจำนวน 65,000 บาทแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิจะเอาเรื่องความรับผิดในการรอนสิทธิในระหว่าง ส.กับโจทก์มาเป็นข้ออ้างเพื่อเอาเงินค่าซ่อมรถจากจำเลยอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายจากประกันภัยและการคืนเงินกรณีรถยนต์ถูกลัก - สิทธิเรียกร้องเมื่อรถยนต์ถูกอายัด
จำเลยได้รถยนต์คันพิพาทมาจากผู้มีชื่อโดยการตีราคาแลกเปลี่ยนกับรถยนต์คันเดิมของจำเลยต่อมารถพิพาทถูกรถยนต์คันซึ่งเอาประกันภัยไว้กับบริษัทโจทก์ชนเสียหายโดยฝ่ายหลังเป็นฝ่ายผิด เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดในผลแห่งความเสียหายต่อจำเลยโจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยโอนรถพิพาทให้โจทก์และโจทก์ยอมจ่ายเงินให้จำเลย 65,000 บาท ต่อมาโจทก์ได้ขายรถยนต์พิพาทให้ ส. เป็นเงิน 35,000 บาทส. ได้นำไปซ่อมเสียค่าซ่อมไป 15,000บาท ความปรากฏต่อเจ้าพนักงานต่อมาว่ารถยนต์พิพาทเป็นของผู้อื่นที่ถูกลักไป จึงยึดและคืนให้แก่เจ้าของ ส. จึงฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้โจทก์คืนเงินราคารถยนต์ที่รับไว้จาก ส. 35,000 บาทและค่าซ่อมอีก 15,000 บาทแก่ส. โจทก์จึงมาฟ้องเรียกเงิน 65,000 บาท กับค่าซ่อมรถที่โจทก์จ่ายให้ ส. ไป15,000 บาท จากจำเลย ดังนี้ การที่โจทก์ยอมใช้เงิน (65,000บาท) ให้จำเลยแล้วรับโอนรถพิพาทไปก็เพราะโจทก์มีความรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อจำเลยในมูลประกันภัยเป็นคนละเรื่องกับการที่โจทก์ได้ขายรถให้ ส. ไป เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์เต็มตามจำนวน 65,000 บาท แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิจะเอาเรื่องความรับผิดในการรอนสิทธิในระหว่าง ส. กับโจทก์มาเป็นข้ออ้างเพื่อเอาเงินค่าซ่อมรถจากจำเลยอีกได้