คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนิท อังศุสิงห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 825 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์จนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์
จำเลยทั้งสองกับพวกมาถึงบ้านผู้ตาย จำเลยที่ 1 ถามว่าเห็นกระบือหายมาทางนี้ไหม ผู้ตายบอกว่าไม่เห็น จำเลยทั้งสองก็เข้าจับแล้วช่วยรุมทำร้ายและยิงผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ขึ้นไปบนเรือนเอาปืน วิทยุและเข็มขัดลงมา ส่วนจำเลยที่ 2 และพวกไปจูงกระบือออกจากคอกและคุมตัวภริยาและน้องสาวผู้ตายให้ไปส่ง แม้ไม่มีการขู่เข็ญก่อนยิง แต่การที่ยิงผู้ตายแล้วเอาทรัพย์สินของผู้ตายไปก็เพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไปอันเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ และขณะเดียวกันก็เป็นการฆ่าเพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ด้วย จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 289, 340, 340 ตรี เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 340 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ใช่การฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์โดยตรง
คำฟ้องที่ขอให้โอนชื่อในทะเบียนรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยมาเป็นของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ เป็นการขอบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิได้บังคับเอาแก่ตัวทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นโดยตรง จะฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์พิพาทนั้นตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1) หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่ฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์โดยตรง จึงไม่เข้า ม.4(1) ว.พ.พ.
คำฟ้องที่ขอให้โอนชื่อในทะเบียนรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยมาเป็นของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ เป็นการขอบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิได้บังคับเอาแก่ตัวทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นโดยตรงจะฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์พิพาทนั้นตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่มิชอบช่วยเหลือผู้กระทำผิดตัดไม้ในเขตป่าสงวน มีความผิดตามมาตรา 200
จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอ จึงเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับป่าสงวนแห่งชาติจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสืบสวนสอบสวนความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ หรือความผิดอาญาอื่นใดที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจของตนได้ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้ตำรวจเป็นผู้ทำการสอบสวนฝ่ายเดียวนั้นเป็นแต่ระเบียบภายในกระทรวง หาได้ลบล้างอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติด้วยตนเองได้ทั้งผู้ต้องหาและไม้กับรถยนต์มาเป็นของกลาง การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้สิบตำรวจเอกพ. ทำบันทึกว่าได้แต่ไม้ของกลางอย่างเดียว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะช่วยผู้กระทำความผิดไม่ให้ต้องรับโทษและในการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยผู้ต้องหาไปนั้น จำเลยที่ 1 ได้เป็นผู้สั่งการและรู้เห็นด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 จำเลยที่ 2 เป็นป่าไม้อำเภอ ได้ร่วมไปจับกุมผู้ต้องหากับจำเลยที่ 1 ด้วย ชั้นแรกจำเลยที่ 2 ได้ให้สิบตำรวจเอก พ. เขียนบันทึกการจับกุมว่าได้ผู้ต้องหา 7 คน แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้ทำบันทึกการจับกุมขึ้นใหม่ว่าจับผู้ต้องหาไม่ได้เลย และให้ผู้ร่วมจับกุมรวมทั้งจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ การที่จำเลยที่ 2 ยอมลงชื่อในบันทึกการจับกุมฉบับหลังนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมทราบอยู่แล้วว่าบันทึกฉบับนี้ทำขึ้นฝ่าฝืนต่อความจริงเพื่อจะช่วยเหลือผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ากระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสารวัตรปกครองป้องกัน และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนต่างทราบแล้วว่า ผู้ต้องหาทั้ง 7 คนที่ถูกจับมาต้องหาว่ากระทำผิดฐานลักลอบตัดไม้ในป่า แต่แทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาในข้อหาดังกล่าว จำเลยที่ 3 กลับตั้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาเหล่านี้ว่ากระทำผิดฐานขับขี่รถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่และไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวและให้จำเลยที่ 4 ทำการเปรียบเทียบปรับแล้วปล่อยผู้ต้องหาและรถของกลางไป การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4จึงเป็นการกระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และที่จำเลยที่ 3ที่ 4 อ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้นเมื่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในเรื่องนี้มิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 4 ทราบดีอยู่แล้วจึงจะอ้างมาเป็นเหตุยกเว้นโทษหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 เป็นสารวัตรใหญ่ซึ่งทราบดีว่าในการจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้รายนี้ นอกจากไม้แล้วยังได้ตัวผู้ต้องหาและได้รถยนต์บรรทุกไม้มาเป็นของกลางด้วย แต่จำเลยที่ 5กลับบิดเบือนข้อเท็จจริงว่าไม่มีผู้กระทำผิดและให้มีการเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาในข้อหาอื่นที่มิใช่ข้อหาเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ และเป็นผู้สรุปความเห็นให้งดการสอบสวนเสนอต่อผู้กำกับการตำรวจว่าจับไม้ไม่ได้ตัวผู้กระทำผิด ได้แต่ไม้ของกลาง การกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ช่วยเจ้าของรถยนต์เจ้าของไม้ และช่วยผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิวาทชกต่อยและใช้อาวุธปืนยิงต่อเนื่อง ถือเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อนตามกฎหมายอาญา
จำเลยมีเรื่องวิวาทชกต่อยกับผู้เสียหายที่ร่วมโต๊ะรับประทานอาหาร ด้วยกัน มีผู้ห้าม แล้วจำเลยกลับไปเอาอาวุธปืนย้อนกลับมายิงกราด ผู้เสียหายผู้ตายกับพวกหลังจากนั้นประมาณ 10 นาที จำเลยมีเวลาพอ ที่จะได้สติคิดพิจารณาไตร่ตรองแล้ว จึงเป็นการกระทำโดยมีการ ไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอำพรางสัญญาขายฝาก โมฆะตามกฎหมาย ต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์ต้องการกู้เงินจำเลย จำเลยไม่มีเงิน จึงตกลงจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทมี น.ส.3ก. เพื่อจำเลยจะได้นำน.ส.3ก. ไปยืมเงินเพื่อนมาให้โจทก์กู้ หลังจากนั้นอีก4 วันโจทก์มารับเงินจากจำเลย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากที่พิพาทกันเอง ดังนี้ ถือได้ว่าการทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 115 กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย และจำเลยต้องคืนที่ดินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์ต้องการกู้เงินจำเลย จำเลยไม่มีเงิน จึงตกลงจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทมี น.ส.3 ก. เพื่อจำเลยจะได้นำ น.ส.3 ก. ไปยืมเงินเพื่อนมาให้โจทก์กู้ หลังจากนั้นอีก 4 วัน โจทก์มารับเงินจากจำเลย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากที่พิพาทกันเอง ดังนี้ ถือได้ว่าการทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 115 กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลยและจำเลยต้องคืนที่ดินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเครื่องประดับเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง หากผิดสัญญาเป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ร่วมกับจำเลยทำการค้าเครื่องประดับสตรีเพื่อประโยชน์ร่วมกัน การที่จำเลยมาเอาสร้อยลูกปัดไปจากโจทก์ร่วมได้ทำหลักฐานการรับมอบ ให้ยึดถือไว้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ร่วมมอบให้จำเลยไปขายเพื่อผลกำไร ตามที่เคยปฏิบัติต่อกันมาก่อนโดยสุจริต เมื่อจำเลยขายได้แล้วไม่นำ เงินมาชำระให้แก่โจทก์ร่วม จึงเป็นการผิดสัญญาทางแพ่งคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงเอาสร้อยลูกปัดไปจากโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการอนุมัติฎีกาเบิกจ่ายเงินบำเหน็จที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ แม้จะพ้นตำแหน่งไปแล้ว
ตามรายงานความเห็นของสมุห์บัญชีและปลัดเทศบาล ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจฎีกา และผู้เสนอความเห็นในฎีกาและเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาเบิกจ่ายค่าบำเหน็จให้แก่ลูกจ้าง ได้เสนอเห็นควรให้เบิกจ่ายเงินบำเหน็จลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 2 ในฐานะนายกเทศมนตรีผู้มีอำนาจอนุมัติฎีกา ได้มีคำสั่งอนุญาตในรายงานดังกล่าว ซึ่งมีความหมายว่าอนุญาตให้เบิกจ่ายเงินบำเหน็จลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างได้นั่นเอง จึงเป็นการอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินบำเหน็จตามฎีกาดังกล่าวได้ แต่เนื่องจากเทศบาลไม่ได้ตั้งงบประมาณประเภทเงินค่าทดแทนและประเภทเงินบำเหน็จไว้ในงบประมาณประจำปี จำเลยที่ 2 จึงทำหนังสือขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดขอยืมเงินสะสมของเทศบาลมาทดรองจ่ายไปพลางก่อน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติมา ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้พ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีไปตามวาระแล้ว อ. นายกเทศมนตรีต่อจากจำเลยที่ 2 จึงได้ลงชื่ออนุมัติในหน้าฎีกาให้เบิกเงินตามฎีกามาจ่ายได้ เป็นที่เห็นได้ว่าถ้าหากเทศบาลได้ตั้งงบประมาณประเภทเงินทดแทนและประเภทเงินบำเหน็จไว้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 อนุญาตในรายงานดังกล่าว ก็ย่อมตั้งฎีกาเบิกเงินมาจ่ายได้ไม่ต้องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอยืมเงินสะสมของเทศบาลมาทดรองจ่ายไปพลางก่อนแต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งอนุญาตในรายงานดังกล่าวย่อมเป็นการอนุมัติฎีกาตามความหมายในระเบียบกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 24 นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างและส่วนลดหย่อนค่าเสียหายจากความประมาทของผู้เสียหาย
เหตุละเมิดเกิดขึ้นโดยคนขับรถของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย เมื่อคนขับรถเป็นลูกจ้างของโจทก์จึงถือว่าเป็นฝ่ายผู้เสียหายตามความหมายของมาตรา 223แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันทำให้โจทก์ต้องรับผลของการกระทำละเมิดดังกล่าวตามส่วนแห่งความหนักเบาของความประมาทด้วยตามมาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223
of 83