พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีความผิดร่วมทหาร-พลเรือน ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร หากมีผู้กระทำผิดเป็นพลเรือน
กรณีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกันเป็นคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ย่อมไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 14 (1)จึงต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดร่วมกับพวกอีก3 คน ซึ่งเป็นพลเรือน และขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันจะทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ถึงแม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดร่วมกับพวกอีก3 คน ซึ่งเป็นพลเรือน และขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันจะทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ถึงแม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีความผิดร่วมระหว่างทหารและพลเรือน ศาลพลเรือนยังมีอำนาจพิจารณาได้ตามเงื่อนไข
กรณีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกันเป็นคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ย่อมไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14(1) จึงต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดร่วมกับพวกอีก 3 คน ซึ่งเป็นพลเรือน และขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันจะ ทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ถึงแม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การพิจารณาคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับทหาร การเปลี่ยนแปลงสถานะทางทหารหลังฟ้อง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งมีอาชีพรับราชการทหารกับพวกคือสิบเอก ส. ร่วมกันกระทำผิดฆ่าผู้ตาย ผู้ตายได้ใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส. ถึงแก่ความตาย ก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าตามฟ้องสิบเอก ส. เป็นนายทหารประทานประจำการ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 16(3) เพราะยศทหารมิได้ใช้เฉพาะทหารประจำการเท่านั้น และการที่ผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส. อาจเป็นการป้องกันโดยชอบไม่มีความผิดก็ได้ จึงถือว่าผู้ตายกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้ต่อมาโจทก์นำสืบได้ความว่าขณะถูกโจทก์กล่าวหาว่ากระทำผิด สิบเอก ส. รับราชการทหาร เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังจากเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ซึ่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 15 วรรคสอง ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ แม้โจทก์จะมิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับสิบเอก ส. ขึ้นฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจศาลซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างยศทหารและอำนาจศาล
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งมีอาชีพรับราชการทหารกับพวกคือสิบเอก ส.ร่วมกันกระทำผิดฆ่าผู้ตาย ผู้ตายได้ใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส.ถึงแก่ความตาย ก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าตามฟ้องสิบเอก ส.เป็นนายทหารประทวนประจำการ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16 (3) เพราะยศทหารมิได้ใช้เฉพาะทหารประจำการเท่านั้น และการที่ผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส.อาจเป็นการป้องกันโดยชอบไม่มีความผิดก็ได้ จึงถือว่าผู้ตายกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้ต่อมาโจทก์นำสืบได้ความว่าขณะถูกโจทก์กล่าวหาว่ากระทำผิด สิบเอก ส.รับราชการทหาร เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังจากเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ซึ่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรคสอง ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ แม้โจทก์จะมิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับสิบเอก ส.ขึ้นฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจศาลซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5955/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพลเรือนเมื่อปรากฏภายหลังว่าจำเลยเป็นนายทหารประจำการ คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเพียงยศของจำเลย แม้จะระบุด้วยว่าจำเลยมีอาชีพรับราชการ แต่ก็ยังไม่ปรากฏชัดแจ้งจากคำฟ้องว่า จำเลยรับราชการเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการเพราะจำเลยมีสิทธิที่จะใช้ยศนำหน้าชื่อของจำเลยได้ แม้จะออกจากราชการหรือโอนไปรับราชการในสังกัดอื่นซึ่งมิใช่เป็นนายทหารประจำการ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับรับฟ้องซึ่งถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏจากคำแถลงของโจทก์ว่าจำเลยยังรับราชการทหารอยู่ จึงเป็นการที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ศาลพลเรือนย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาคดีอาญาที่จำเลยเป็นทหาร แม้ฟ้องต่อศาลพลเรือน
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 วรรคสอง หมายความว่าขณะที่ศาลพลเรือนสั่งรับประทับฟ้องของโจทก์ ความยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ ต่อมาเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วความจึงปรากฏในภายหลังว่าจำเลยเป็นทหารประจำการ ดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปได้เท่านั้น หาได้หมายความว่าคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร หากยื่นฟ้องต่อศาลพลเรือนแล้วศาลพลเรือนจะรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือไม่ก็ได้
การที่โจทก์นำคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมายื่นฟ้องยังศาลพลเรือนศาลพลเรือนไม่จำต้องสั่งไม่รับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง (อาจสั่งหลังจากไต่สวนมูลฟ้องแล้วก็ได้)
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 เป็นความผิดในทางอาญาอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นทหารประจำการจึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
การที่โจทก์นำคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมายื่นฟ้องยังศาลพลเรือนศาลพลเรือนไม่จำต้องสั่งไม่รับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง (อาจสั่งหลังจากไต่สวนมูลฟ้องแล้วก็ได้)
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 เป็นความผิดในทางอาญาอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นทหารประจำการจึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: การฟ้องคดีอาญาต่อศาลพลเรือนเมื่อจำเลยเป็นทหารประจำการ
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 วรรคสอง หมายความว่าขณะที่ศาลพลเรือนสั่งรับประทับฟ้องของโจทก์ ความยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ ต่อมาเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วความจึงปรากฏในภายหลังว่าจำเลยเป็นทหารประจำการ ดังนี้ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปได้เท่านั้น หาได้หมายความว่าคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร หากยื่นฟ้องต่อศาลพลเรือนแล้วศาลพลเรือนจะรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือไม่ก็ได้
การที่โจทก์นำคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมายื่นฟ้องยังศาลพลเรือน ศาลพลเรือนไม่จำต้องสั่งไม่รับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง (อาจสั่งหลังจากไต่สวนมูลฟ้องแล้วก็ได้)
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 เป็นความผิดในทางอาญาอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นทหารประจำการ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
การที่โจทก์นำคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมายื่นฟ้องยังศาลพลเรือน ศาลพลเรือนไม่จำต้องสั่งไม่รับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง (อาจสั่งหลังจากไต่สวนมูลฟ้องแล้วก็ได้)
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 เป็นความผิดในทางอาญาอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นทหารประจำการ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจพิจารณาคดีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมมิวนิสต์ฯ คดีนี้อยู่ในอำนาจศาลทหาร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ฯ ความผิดดังกล่าวอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ปรากฏแต่แรกตามฟ้องแล้วว่าความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหาร หาใช่ความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้รับคำฟ้องและดำเนินการพิจารณาพิพากษามา เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจศาลคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีความผิดต่อความมั่นคงฯ อยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ศาลพลเรือนรับฟ้องแล้ว
ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตั้งแต่มาตรา 217 ถึงมาตรา 239 นั้นมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 ซึ่งใช้บังคับระหว่างเกิดเหตุให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาดังนั้น ที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรีรับฟ้องคดีซึ่งมีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นบทหนักไว้ดำเนินการตลอดมาถึงชั้นศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้เกี่ยวกับอำนาจศาล
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้(อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติฯ แล้วเช่นนี้ หาใช่ว่าความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาพิพากษากลับศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้(อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติฯ แล้วเช่นนี้ หาใช่ว่าความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาพิพากษากลับศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์