คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน เลิศวิรุฬห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2493/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการพนันไม่เป็นมูลหนี้ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิด
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อเพื่อชำระหนี้อันเกิดจากการพนันซึ่งตามกฎหมายหาเป็นมูลหนี้ไม่ ดังนั้นแม้โจทก์จะรับโอนเช็คพิพาทไว้ด้วยประการใดก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2493/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทจากการพนัน: การออกเช็คเพื่อชำระหนี้จากการพนันไม่เป็นความผิด แม้มีการรับโอนเช็คแล้ว
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อเพื่อชำระหนี้อันเกิดจากการพนันซึ่งตามกฎหมายหาเป็นมูลหนี้ไม่ ดังนั้นแม้โจทก์จะรับโอนเช็คพิพาทไว้ด้วยประการใดก็ตามการกระทำของจำเลยก้ไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: ขอบเขตความรับผิดจำกัดเฉพาะหน้าที่การงาน การกระทำนอกเหนือหน้าที่ไม่ต้องรับผิด
โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ทำงานในหน้าที่พนักงานขายตั๋วหรือติดรถของโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ย่อมเป็นที่เข้าใจกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เฉพาะในหน้าที่การงานเท่านั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานขายตั๋วและต่อมาทำหน้าที่เป็นนายตรวจได้ขับรถยนต์โดยสารและเกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์จึงเป็นการกระทำนอกหน้าที่การงานที่ว่าจ้างโดยชัดแจ้งจำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหมิ่นประมาทเริ่มนับเมื่อยุติการกระทำผิด และการใส่ความเรื่องหนี้สินถือเป็นหมิ่นประมาท
การปิดประกาศโฆษณาหมิ่นประมาทนั้น เป็นความผิดต่อเนื่องจนกว่าจะมีการปลดป้ายประกาศออกไป ซึ่งถือได้ว่าการกระทำอันเป็นมูลแห่งความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ยุติลง อายุความย่อมจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการปลดป้ายประกาศออก ดังนั้นแม้จำเลยติดป้ายประกาศหมิ่นประมาทโจทก์ก่อนวันที่โจทก์ไปร้องทุกข์หรือฟ้องคดีเกิน 3 เดือนแต่เมื่อโจทก์ร้องทุกข์และฟ้องคดีไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันปลดป้ายประกาศโฆษณาหมิ่นประมาทออกคดีจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยปิดประกาศภาพถ่ายโจทก์โดยมีข้อความภาษาอังกฤษกำกับแปลเป็นภาษาไทยว่า โจทก์เป็นหนี้จำเลย 15,910 บาท ยังเรียกเก็บไม่ได้หรือยังไม่ได้ชำระ โดยจำเลยปิดประกาศดังกล่าวในสถานบริการของจำเลยซึ่งมีลูกค้าเข้าไปรับบริการ เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกล่าวหาเรื่องร้าย เป็นการใส่ความโจทก์อันจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ทั้งเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้ว่าเรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริงก็ไม่เป็นเหตุยกเว้นให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรโดยมิชอบ และความรับผิดของหน่วยงานราชการ
สินค้าของกลางเป็นสินค้าที่โจทก์ซื้อจากตลาดในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ฟังไม่ได้ว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียภาษีศุลกากรเจ้าหน้าที่ย่อมไม่มีอำนาจยึดจำเลยจะไม่คืนสินค้าของโจทก์ให้แก่โจทก์โดยอ้างว่าตกเป็นของแผ่นดินแล้วตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 หาได้ไม่เพราะกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยไม่ยอมคืนสินค้าให้แก่โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติราชการตามบังคับบัญชาของ กรมศุลกากร จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติการไปตามอำนาจหน้าที่ในราชการของจำเลยที่ 2 ตามปกติ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลสั่งให้กรมศุลกากรคืนทรัพย์หรือชดใช้ค่าเสียหาย
สินค้าของกลางเป็นสินค้าที่โจทก์ซื้อจากตลาดในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ฟังไม่ได้ว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียภาษีศุลกากร เจ้าหน้าที่ย่อมไม่มีอำนาจยึด จำเลยจะไม่คืนสินค้าของโจทก์ให้แก่โจทก์โดยอ้างว่าตกเป็นของแผ่นดินแล้วตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24หาได้ไม่เพราะกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยไม่ยอมคืนสินค้าให้แก่โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติราชการตามบังคับบัญชาของกรมศุลกากร จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติการไปตามอำนาจหน้าที่ในราชการของจำเลยที่ 2 ตามปกติ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับรายรับดอกเบี้ยเพื่อเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้ ต้องเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว ไม่ใช่เพียงถึงกำหนดชำระ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ที่บัญญัติว่า รายรับหมายความว่าเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใดๆอันมีมูลค่า ที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้า นั้น หมายถึงรายรับเนื่องจากการ ประกอบการค้าประเภททั่วไป ไม่รวมถึงรายรับจากการค้าประเภท ธนาคาร ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นในมาตรา 79(3)
ดอกเบี้ยอันเป็นรายรับจากการค้าประเภทธนาคาร ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 79(3)(ก) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว คือดอกเบี้ยรับชำระจริงใน เดือนใดจึงจะถือว่าเป็นรายรับของเดือนนั้น เมื่อดอกเบี้ย ที่ธนาคารโจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้เพียงแต่ถึงกำหนดชำระ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง จึงยังไม่เป็นรายรับตาม มาตรา 79(3)(ก) ในอันที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าในแต่ละเดือนนั้น (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2527)
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริง จึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยธนาคารเพื่อเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้ ต้องเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ที่บัญญัติว่า รายรับหมายความว่าเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใดๆอันมีมูลค่า ที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้านั้น หมายถึงรายรับเนื่องจากการ ประกอบการค้าประเภททั่วไป ไม่รวมถึงรายรับจากการค้าประเภท ธนาคาร ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นในมาตรา 79(3) ดอกเบี้ยอันเป็นรายรับจากการค้าประเภทธนาคาร ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 79(3)(ก) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว คือดอกเบี้ยรับชำระจริงใน เดือนใดจึงจะถือว่าเป็นรายรับของเดือนนั้น เมื่อดอกเบี้ย ที่ธนาคารโจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้เพียงแต่ถึงกำหนดชำระ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง จึงยังไม่เป็นรายรับตาม มาตรา 79(3)(ก) ในอันที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าในแต่ละเดือนนั้น (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2527)
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้ รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้ เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริงจึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตายในสถานการณ์ฉุกละหุกและบันดาลโทสะ ศาลลดโทษจากฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายในที่มืด ในระยะเวลาฉุกละหุกไม่ มีเวลาเลือกที่แทง และแทงไปเพียงครั้งเดียวซึ่งเป็น การแทงโดยไม่อาจทราบได้ว่าจะถูกตรงที่ใด จำเลยรักผู้ตายซึ่งเป็นภรรยามาก ไม่เคยดุด่าทำร้ายผู้ตายมาก่อน เมื่อแทงผู้ตายแล้วมิได้หลบหนี ได้พยายามนำผู้ตายไปส่งโรงพยาบาลเพราะเข้าใจว่าผู้ตายยังไม่ตาย ถือไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายจำเลยจึงมีความผิดเพียง ฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290
จำเลยเอาใจชวนผู้ตายซึ่งเมาสุรามากให้รับประทานอาหารผู้ตายไม่รับประทานกลับเหยียบจานข้าวและตะเกียงจนดับแล้ว เดินข้ามสำรับกับข้าวไปนอน จำเลยตามไปง้อ ผู้ตายกลับใช้มีดแทงจำเลยก่อนจำเลยแย่งมีดได้จึงใช้มีดแทงผู้ตาย ถือได้ว่าจำเลยบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ฟ้องขอให้ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เมื่อทางพิจารณา ได้ความว่าจำเลยมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจน เป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายก็ลงโทษตามฐานความผิดเท่าที่พิจารณาได้ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตายในภาวะฉุกละหุกและบันดาลโทสะ ศาลลดโทษจากฆ่าผู้อื่นเป็นทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายในที่มืด ในระยะเวลาฉุกละหุกไม่ มีเวลาเลือกที่แทงและแทงไปเพียงครั้งเดียวซึ่งเป็น การแทงโดยไม่อาจทราบได้ว่าจะถูกตรงที่ใดจำเลยรัก ผู้ตายซึ่งเป็นภรรยามาก ไม่เคยดุด่าทำร้ายผู้ตายมาก่อนเมื่อแทงผู้ตายแล้วมิได้หลบหนี ได้พยายามนำผู้ตายไปส่งโรงพยาบาลเพราะเข้าใจว่าผู้ตายยังไม่ตาย ถือไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายจำเลยจึงมีความผิดเพียง ฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 จำเลยเอาใจชวนผู้ตายซึ่งเมาสุรามากให้รับประทานอาหารผู้ตายไม่รับประทานกลับเหยียบจานข้าวและตะเกียงจนดับแล้ว เดินข้ามสำรับกับข้าวไปนอน จำเลยตามไปง้อ ผู้ตายกลับ ใช้มีดแทงจำเลยก่อน จำเลยแย่งมีดได้จึงใช้มีดแทงผู้ตาย ถือได้ว่าจำเลยบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ฟ้องขอให้ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เมื่อทางพิจารณา ได้ความว่าจำเลยมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจน เป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ก็ลงโทษตามฐานความผิดเท่าที่พิจารณาได้ความได้
of 77