พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากฉ้อฉลและการเสียเปรียบของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยที่1 ผิดสัญญาไม่ยอมจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แต่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เรียกเงินมัดจำกับค่าปรับ และศาลได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ กล่าวอ้างว่าภายหลังที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้โจทก์แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยร่วมกันฉ้อฉล ทั้งที่จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นคู่สัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินมัดจำและชำระค่าปรับ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้นอกจากที่ดินแปลงดังกล่าวแปลงเดียว ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อขาย ดังนี้หากข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 อาจเป็นการฉ้อฉล อันจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนอง เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับเงินจากการขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้
เดิมโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ แล้วตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ภายใน 12 ปีโดยจำเลยจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำเลยจำนองนั้นโดยติดจำนอง เงินที่ได้มาเมื่อหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้วจึงต้องนำมาจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 318
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง และอำนาจศาลในการอนุญาตเบิกความพยานเพิ่มเติม
คดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3(1) ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 6 เดือนศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่าบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 009 ไม่มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องให้แจ้งชัดว่าโจทก์ได้เปิดบัญชีนั้นโดยใช้นามอื่นเชื่อไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงต่างกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏทางพิจารณาดังนี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างตนเองเป็นพยานแล้ว เมื่อโจทก์ขออนุญาตเบิกความเป็นครั้งที่สอง ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีก การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์เบิกความเป็นพยานเพิ่มเติมอีกครั้ง เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะอนุญาตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา228 คำเบิกความของโจทก์ครั้งที่สองจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างตนเองเป็นพยานแล้ว เมื่อโจทก์ขออนุญาตเบิกความเป็นครั้งที่สอง ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีก การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์เบิกความเป็นพยานเพิ่มเติมอีกครั้ง เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะอนุญาตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา228 คำเบิกความของโจทก์ครั้งที่สองจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง และการเบิกความพยานซ้ำ
คดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 (1) ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 009 ไม่มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชี โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องให้แจ้งชัดว่าโจทก์ได้เปิดบัญชีนั้นโดยใช้นามอื่น เชื่อไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงต่างกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏทางพิจารณา ดังนี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างตนเองเป็นพยานแล้ว เมื่อโจทก์ขออนุญาตเบิกความเป็นครั้งที่สอง ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีก การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์เบิกความเป็นพยานเพิ่มเติมอีกครั้ง เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะอนุญาตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 คำเบิกความของโจทก์ครั้งที่สองจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างตนเองเป็นพยานแล้ว เมื่อโจทก์ขออนุญาตเบิกความเป็นครั้งที่สอง ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีก การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์เบิกความเป็นพยานเพิ่มเติมอีกครั้ง เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะอนุญาตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 คำเบิกความของโจทก์ครั้งที่สองจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าร้าง: การออกจากบ้านเนื่องจากขัดใจบิดาภริยา ไม่ถือเป็นการจงใจทิ้งร้าง
จำเลย (สามี) ออกจากบ้านโจทก์ (ภริยา) ไปเพราะมีเรื่องขัดใจกับบิดาโจทก์แล้วบิดาโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยกลับเข้าบ้านถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจทิ้งร้างโจทก์และไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ ยังไม่มีเหตุหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(3) ที่บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถที่ทางร่วม: ผู้ขับรถทางเอกต้องระมัดระวังและลดความเร็วเมื่อมีรถจากทางโท
คนขับรถของโจทก์ที่ 1 ขับรถผ่านทางแยกด้วยความเร็วสูงเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่ลดความเร็วและไม่ห้ามล้อเมื่อเห็นรถจำเลยแล่นผ่านทางแยกอยู่ข้างหน้าโดยถือว่ารถคันที่ตนขับแล่นอยู่ในทางเอก แม้รถจำเลยจะแล่นมาจากทางโท แต่รถจำเลยไปถึงสี่แยกที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางร่วมก่อนจำเลยมีสิทธิขับรถผ่านทางแยกไปก่อนได้ เมื่อรถของโจทก์ที่ 1 ชนรถจำเลยจึงถือว่าเป็นความประมาทของคนขับรถโจทก์ที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกวดราคา: เงื่อนไขการยืนราคาและการริบเงินมัดจำเมื่อไม่ทำสัญญา
แจ้งความประกาศให้ผู้ประสงค์รับเหมาก่อสร้างงานยื่นซองประกวดราคาเป็นคำเชื้อเชิญ และข้อความซึ่งระบุไว้ในแจ้งความว่า ราคาที่ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคาจะไม่เปลี่ยนแปลงภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคาก็เป็นเงื่อนไขที่บังคับไม่ให้โจทก์ ผู้ยื่นซองประกวดราคาเปลี่ยนแปลงราคาค่ารับเหมาก่อสร้างภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ทราบเงื่อนไขจึงยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างงานรายนี้ซึ่งเป็นคำเสนอ และตกลงจะไม่เปลี่ยนแปลงราคารับเหมาก่อสร้างภายใน 60 วันนับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็ไม่ทำให้คำเสนอของโจทก์เป็นคำเสนอที่มีข้อจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้ายเมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้ายเมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกวดราคา การเปลี่ยนแปลงราคาหลังยื่นซอง และสิทธิในการริบเงินมัดจำ
แจ้งความประกาศให้ผู้ประสงค์รับเหมาก่อสร้างงานยื่นซองประกวดราคาเป็นคำเชื้อเชิญ และข้อความซึ่งระบุไว้ในแจ้งความว่า ราคาที่ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคาจะไม่เปลี่ยนแปลงภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็เป็นเงื่อนไขที่บังคับไม่ให้โจทก์ผู้ยื่นซองประกวดราคาเปลี่ยนแปลงราคาค่ารับเหมาก่อสร้างภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ทราบเงื่อนไขจึงยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างงานรายนี้ซึ่งเป็นคำเสนอ และตกลงจะไม่เปลี่ยนแปลงราคารับเหมาก่อสร้างภายใน 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็ไม่ทำให้คำเสนอของโจทก์เป็นคำเสนอที่มีข้อจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาใช้ทุนการศึกษา: การคำนวณระยะเวลาชดใช้ และฐานะนิติบุคคลของโจทก์
พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรีบัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นทบวงการเมืองและมีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนโจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72,73 และมีอำนาจฟ้อง
การดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญของจำเลยที่ 1 เป็นผลจากการคัดเลือกของคณะบุคคลตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 มาตรา 218 ที่ใช้ในขณะจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาการใช้ทุนการศึกษา ตามมาตรา 219 ข้าราชการจะเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้ ทั้งจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญภายหลังที่จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการ จึงไม่เป็นการรับราชการตามสัญญาดังกล่าว จะนำมาคำนวณเพื่อใช้ทุนการศึกษาไม่ได้
การดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญของจำเลยที่ 1 เป็นผลจากการคัดเลือกของคณะบุคคลตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 มาตรา 218 ที่ใช้ในขณะจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาการใช้ทุนการศึกษา ตามมาตรา 219 ข้าราชการจะเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้ ทั้งจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญภายหลังที่จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการ จึงไม่เป็นการรับราชการตามสัญญาดังกล่าว จะนำมาคำนวณเพื่อใช้ทุนการศึกษาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือทวงหนี้ไปยังภูมิลำเนาที่เปลี่ยนแปลง และผลของการไม่ปฏิเสธหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ผู้ร้องมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งสับเปลี่ยนกันไป ถือได้ว่าบ้านแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 45 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหนังสือทวงหนี้และหนังสือเตือนให้ผู้ร้องชำระหนี้ไปที่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นการชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74,79 แล้ว
ผู้ร้องได้รับหนังสือทวงหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบแล้วแต่มิได้ปฏิเสธหนี้ดังกล่าวภายในกำหนด ถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ตามจำนวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 วรรคแรก
ผู้ร้องได้รับหนังสือทวงหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบแล้วแต่มิได้ปฏิเสธหนี้ดังกล่าวภายในกำหนด ถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ตามจำนวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 วรรคแรก