คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรัส เขมะจารุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการใช้เช็คพิพาทโดยมีส่วนผิดของผู้รับเช็คทำให้เช็คสูญหาย
จำเลยทั้งสามซื้อพลอยจากโจทก์แล้วออกเช็คพิพาทลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้ค่าพลอยให้โจทก์ ต่อมาเช็คนั้นหายไปจากความครอบครองของโจทก์และมีผู้แก้ไขวันออกเช็คและนำเช็คดังกล่าวเบิกเงินไปในบัญชีของจำเลยที่ธนาคารไป ดังนี้ เมื่อพฤติการณ์ของโจทก์มีส่วนทำให้เกิดกรณีเช็คพิพาทถูกลัก โจทก์มีส่วนผิดเป็นเหตุให้เช็คพิพาทหายไปและเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้ว หนี้ที่จำเลยต้องชำระราคาพลอยให้แก่โจทก์ย่อมจะระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม จำเลยทั้งสามไม่ต้องรับผิดชำระค่าพลอยที่ซื้อไปจากโจทก์ให้แก่โจทก์อีก แม้เมื่อโจทก์ทราบว่าเช็คหายโจทก์ได้รีบบอกแก่จำเลยและธนาคารเพื่อไม่ให้ใช้เงินแล้ว แต่ปรากฏว่าโจทก์บอกกล่าวแก่จำเลยหลังจากที่มีการใช้เงินตามเช็คแล้ว การบอกกกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์
หมายเหตุ มติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทสูญหายจากความประมาทของผู้รับเช็ค หนี้ระงับตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสามซื้อพลอยจากโจทก์แล้วออกเช็คพิพาทลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้ค่าพลอยให้โจทก์ต่อมาเช็คนั้นหายไปจากความครอบครองของโจทก์และมีผู้แก้ไขวันออกเช็คและนำเช็คดังกล่าวเบิกเงินไปในบัญชีของจำเลยที่ธนาคารไปดังนี้เมื่อพฤติการณ์ของโจทก์มีส่วนทำให้เกิดกรณีเช็คพิพาทถูกลักโจทก์มีส่วนผิดเป็นเหตุให้เช็คพิพาทหายไปและเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้วหนี้ที่จำเลยต้องชำระราคาพลอยให้แก่โจทก์ย่อมจะระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา321วรรคสามจำเลยทั้งสามไม่ต้องรับผิดชำระค่าพลอยที่ซื้อไปจากโจทก์ให้แก่โจทก์อีกแม้เมื่อโจทก์ทราบว่าเช็คหายโจทก์ได้รีบบอกแก่จำเลยและธนาคารเพื่อไม่ให้ใช้เงินแล้วแต่ปรากฏว่าโจทก์บอกกล่าวแก่จำเลยหลังจากที่มีการใช้เงินตามเช็คแล้วการบอกกกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ หมายเหตุมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่3/2529,5/2529.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ออกบัตรประชาชนและเกณฑ์ทหาร: การฟ้องจำเลยที่ไม่มีอำนาจและพ้นตำแหน่ง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 ที่ 2ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอ น. และสัสดีอำเภอ น. ตามลำดับ เพื่อขอบัตรประจำตัวประชาชนและขอลงชื่อโจทก์ในบัญชีทหารกองเกิน จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์มิใช่ผู้มีสัญชาติไทยและไม่จัดการให้ ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย ให้จำเลยออกบัตรประจำตัวประชาชนให้โจทก์ ลงชื่อโจทก์ในบัญชีทหารกองเกินและออกใบสำคัญทหารกองเกินให้โจทก์ ดังนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนและกฎกระทรวง ฉบับที่ 40 ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร กำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน อำนาจในการลงชื่อในบัญชีทหารกองเกินกับออกใบสำคัญทหารกองเกินเป็นของนายอำเภอท้องที่ หาใช่สัสดีอำเภอไม่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่กระทำการตามที่โจทก์ขอในฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ความว่าโจทก์ฟ้องภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นตำแหน่งนายอำเภอ น. แล้ว และโจทก์มิได้ฟ้องนายอำเภอ น. แต่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว เมื่อขณะฟ้องจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ศาลจึงมิอาจพิพากษาบังคับจำเลยทั้งสองหรือนายอำเภอ น. ซึ่งมิได้ถูกฟ้องคำขอที่ขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยเพื่อที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองออกบัตรประจำตัวประชาชนและออกใบสำคัญทหารกองเกินให้ จึงตกไปอยู่ในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างครูโรงเรียนราษฎร์ ไม่จ่ายค่าชดเชย พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจออกคำเตือนได้
ครูโรงเรียนราษฎร์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่านายจ้างเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย มิใช่กรณีพิพาทในเรื่องกำหนดหรือแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่ใช่เรื่องที่ต้องบังคับ ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แต่เป็นเรื่อง ที่ต้อง ดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และไม่มีข้อบังคับให้นำ พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ มาใช้ พนักงานตรวจแรงงาน มีอำนาจ ออกคำเตือนให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยได้ ตามข้อ 77 แห่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ไม่เป็น การโต้แย้ง สิทธิของนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิด และผลกระทบต่อการลงโทษคดีค้ากำไรเกินควร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรพ.ศ. 2490 มาตรา 16 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อมาพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มีบทบัญญัติมาตรา 30กำหนดหลักการไว้ใกล้เคียงกับมาตรา 16 ของพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร ดังนี้ เมื่อกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด โดยกฎหมายที่ใช้ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบแห่งความผิด และเปิดโอกาสให้จำเลย อ้างเหตุผลอันสมควรมาเป็นข้อแก้ตัวได้ จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลัง เป็นคุณแก่จำเลย และต้องนำมาบังคับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิดและการบังคับใช้กฎหมายที่ให้คุณแก่จำเลย กรณีค้ากำไรเกินควร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 16 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อมาพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มีบทบัญญัติมาตรา 30กำหนดหลักการไว้ใกล้เคียงกับมาตรา 16 ของพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร ดังนี้ เมื่อกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด โดยกฎหมายที่ใช้ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบแห่งความผิด และเปิดโอกาสให้จำเลย อ้างเหตุผลอันสมควรมาเป็นข้อแก้ตัวได้ จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณแก่จำเลย และต้องนำมาบังคับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, เช็ค, เพิกถอนรายการ, ลูกหนี้, การชำระเงิน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังได้นำเช็คซึ่งผู้อื่นเป็นผู้ออกมาขายลดให้โจทก์ โดยโจทก์ได้ส่วนลดหมื่นละยี่สิบบาท แม้ข้อตกลงซื้อขายลดเช็คระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้แล้วจำเลยที่1 จะต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ก็ตาม แต่การที่จำเลยนำเช็คพิพาทมาเข้าบัญชีเดินสะพัดของจำเลยเพื่อให้โจทก์เรียกเก็บเงิน โดยนำเช็คเข้าบัญชีในวันที่ลงในเช็คแล้วจำเลยออกเช็คสั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้ตามจำนวนดังกล่าวจากบัญชีเดินสะพัดของจำเลย และโจทก์ยอมจ่ายเงินไปก่อนโดยที่เช็คที่จำเลยนำมาเข้าบัญชียังเรียกเก็บเงินไม่ได้และโจทก์ได้ค่าธรรมเนียมเรียกว่าส่วนลดหมื่นละยี่สิบบาทเช่นนี้เป็นพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จ่ายเงินตามเช็คของจำเลยจากบัญชีเดินสะพัดไปแล้ว ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิจะเพิกถอนการลงรายการของเช็คดังกล่าวเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 857 และนำจำนวนเงินนั้นมาลงรายการว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในจำนวนเงินดังกล่าวต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในเช็คลดบัญชีเดินสะพัด: สิทธิในการเพิกถอนรายการเมื่อเช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์ นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยังได้นำเช็คซึ่งผู้อื่นเป็นผู้ออกมาขายลดให้โจทก์ โดยโจทก์ได้ส่วนลดหมื่นละยี่สิบบาท แม้ขอตกลงซื้อขายลดเช็คระหว่างเช็คกับจำเลยที่ 1 จะไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ก็ตาม แต่การที่จำเลยนำเช็คพิพาทมาเข้าบัญชีเดินสะพัดของจำเลยเพื่อให้โจทก์เรียกเก็บเงิน โดยนำเช็คเข้าบัญชีในวันที่ลงในเช็ค แล้วจำเลยออกเช็คสั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้ตามจำนวนดังกล่าวจากบัญชีเดินสะพัดของจำเลยและโจทก์ยอมจ่ายเงินไปก่อนโดยที่เช็คที่จำเลยนำมาเข้าบัญชียังเรียกเก็บเงินไม่ได้ และโจทก์ได้ค่าธรรมเนียมเรียกว่า ส่วนลดหมื่นละยี่สิบบาท เช่นนี้ เป็นพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จ่ายเงินตามเช็คของจำเลยจากบัญชีเดินสะพัดไปแล้ว ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิจะเพิกถอนการลงรายการของเช็คดังกล่าวเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 857 และนำจำนวนเงินนั้นมา ลงรายการว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในจำนวนเงินดังกล่าวต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยนิติกรรมที่ไม่จดทะเบียน ทำให้การได้มาไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
ผู้ร้องอ้างว่าได้จดทะเบียนถือกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยในที่ดินพิพาทโดยผู้ร้องตกลงกันเองกับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทและครอบครองกันเป็นส่วนสัดเป็นเรื่องกล่าวอ้างว่ามีการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิทธิโดยผู้ร้องได้ที่ดินส่วนแบ่งมาโดยนิติกรรมซึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่านิติกรรมแบ่งแยกที่ดินพิพาทได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่การได้ที่ดินส่วนของผู้ร้องจึงไม่ บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดพ.ร.บ.จราจรทางบก: ผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โดยตรง โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) สำหรับความผิดนี้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
of 11