คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิถี ปานะบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินสินบนนำจับ: ยุติเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากรบรรยายฟ้องด้วยว่าคดีมีผู้แจ้งความนำจับนำเจ้าพนักงานจับจำเลย และขอให้ศาลสั่งจ่ายเงินสินบนนำจับตามกฎหมาย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่า พนักงานอัยการโจทก์ได้ร้องขอต่อศาลให้จ่ายเงินสินบนแทนผู้นำจับตามบทบัญญัติในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 แล้ว และเมื่อคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ไม่มีผู้นำจับโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้าน และต่อมาศาลฎีกาพิพากษายืน คดีจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ว่าไม่มีผู้นำจับ ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายเงินนำจับแก่ผู้ร้อง อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่ไม่ชัดเจนข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง ทำให้ศาลไม่รับพิจารณา
ปัญหาว่า คำร้องของผู้ร้องชอบด้วยมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การคัดค้านการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่งมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ ได้จำกัดประเภทของบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านไว้ ได้แก่ ผู้เลือกตั้ง ผู้สมัคร และพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ในกรณีที่เห็นว่าการเลือกตั้งหรือการที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้ง เป็นไปโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26,32,34,51 หรือมาตรา 52 ด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 26 บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเข้าสมัครรับเลือกตั้งและการฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 84 คำร้องของผู้ร้องมีใจความสำคัญเพียงว่า ในวันยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งผู้คัดค้านที่ 1 ผู้สมัครยังดำรงตำแหน่งกำนันตำบลอิสาณและนายทะเบียนตำบลอิสาณ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 96(7) ที่ว่าเป็นพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ขอให้มีคำสั่งว่าการได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่เท่านั้น คำร้องมิได้แสดงโดยแจ้งชัดแห่งข้อหาว่า การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ นั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 78 อย่างไร กล่าวคือมิได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้รู้แล้ว ว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เพราะเป็นบุคคลต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญฯมาตรา 96(7) แล้วยังเข้าสมัครรับเลือกตั้งอีก ฉะนั้นคำร้องของผู้ร้องซึ่งบรรยายอ้างถึงแต่คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ แต่อย่างเดียว จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย มาตรา 78 ไม่มีเหตุที่จะรับไว้เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่ไม่ชัดเจนข้อหาฝ่าฝืนมาตรา 26 พ.ร.บ.เลือกตั้งฯ ศาลยกคำร้อง
ปัญหาว่า คำร้องของผู้ร้องชอบด้วยมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การคัดค้านการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง มาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ ได้จำกัดประเภทของบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านไว้ ได้แก่ผู้เลือกตั้ง ผู้สมัคร และพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ในกรณีที่เห็นว่าการเลือกตั้งหรือการที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้ง เป็นไปโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26, 32, 34, 51 หรือมาตรา 52 ด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 26 บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเข้าสมัครรับเลือกตั้งและการฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 84 คำร้องของผู้ร้องมีใจความสำคัญเพียงว่า ในวันยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งผู้คัดค้านที่ 1 ผู้สมัครยังดำรงตำแหน่งกำนันตำบลอิสาณและนายทะเบียนตำบลอิสาณ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 96(7) ที่ว่าเป็นพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ขอให้มีคำสั่งว่าการได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่เท่านั้น คำร้องมิได้แสดงโดยแจ้งชัดแห่งข้อหาว่า การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบนั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 78 อย่างไร กล่าวคือมิได้บรรยายข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รู้แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพราะเป็นบุคคลต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 96(7) แล้วยังเข้าสมัครรับเลือกตั้งอีก ฉะนั้น คำร้องของผู้ร้องซึ่งบรรยายอ้างถึงแต่คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ แต่อย่างเดียว จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย มาตรา 78 ไม่มีเหตุที่จะรับไว้เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2805/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ใช้กับที่ดินมีเจ้าของเท่านั้น ไม่ใช่ที่ดินว่างเปล่า
การครอบครองปรปักษ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการครอบครองที่ดินอันเป็นของผู้อื่น ซึ่งหมายถึงที่ดินนั้นเป็นที่ดินซึ่งเจ้าของมีกรรมสิทธิ์ มิใช่กรณีการครอบครองที่ดินว่างเปล่าอันไม่มีเจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของรองอธิบดี, สัญญาค้ำประกัน, สัญญารับสภาพหนี้ที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน, การผิดนัดชำระหนี้
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องว่า ขณะฟ้องคดีนี้อธิบดีกรมศิลปากรยังมีตัวดำรงตำแหน่งปฏิบัติราชการได้ พ. รองอธิบดีจึงไม่มีอำนาจฟ้องแทนกรมศิลปากร ดังนี้ ปัญหาว่ากรมศิลปากรมีรองอธิบดีกี่คน และปลัดกระทรวงได้แต่งตั้งให้ พ.รองอธิบดีรักษาการแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2512 หรือไม่ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พ.รองอธิบดีกรมศิลปากรรักษาราชการแทนอธิบดีจึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทกืได้ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 42 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. ลูกหนี้ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ.จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ มิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ.ยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือน โดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นรายๆ ออกต่างหากจากกัน ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่า เป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำรอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, สัญญาค้ำประกัน, สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน, การผิดสัญญา, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องว่า ขณะฟ้องคดีนี้อธิบดีกรมศิลปากรยังมีตัวดำรงตำแหน่งปฏิบัติราชการได้ พ. รองอธิบดีจึงไม่มีอำนาจฟ้องแทนกรมศิลปากร ดังนี้ ปัญหาว่ากรมศิลปากรมีรองอธิบดีกี่คนและปลัดกระทรวงได้แต่งตั้งให้ พ. รองอธิบดีรักษาการแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2512 หรือไม่ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พ. รองอธิบดีกรมศิลปากรรักษาราชการแทนอธิบดีจึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ได้ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 42 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. (ลูกหนี้) ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายสัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ. ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้วเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ. จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติมิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ. ยอมชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน ๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือนโดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นราย ๆ ออกต่างหากจากกันดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่าเป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ. ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรที่ถึงที่สุดแล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนในคดีล้มละลาย
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งจำนวนที่จะต้องชำระเพิ่มไปยังลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้มิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือลูกหนี้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ลูกหนี้ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ แล้วไม่ยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร ถือว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยุติแล้ว ลูกหนี้หมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อไป และต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรถึงที่สุด เมื่อลูกหนี้ไม่ยื่นฟ้องภายในกำหนดตามกฎหมาย แม้มีการอุทธรณ์ก่อนหน้า
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งจำนวนที่จะต้องชำระเพิ่มไปยังลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้มิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือลูกหนี้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ลูกหนี้ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ แล้วไม่ยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร ถือว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยุติแล้ว ลูกหนี้หมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อไป และต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ปลอมเป็นหลักฐานการกู้ยืมไม่ได้ ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
จำเลยกู้เงินไป 8,000 บาท โจทก์ให้จำเลยลงชื่อในช่องผู้กู้โดยมิได้กรอกข้อความอื่นในสัญญากู้ ต่อมาโจทก์จึงกรอกข้อความในสัญญากู้และเขียนจำนวนเงินที่กู้เป็น 80,000 บาท แล้วฟ้องเรียกเงินจากจำเลย สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์ไม่อาจแสดงสิทธิจากเอกสารปลอมได้ ถือได้ว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยพยานหลักฐานจากสำนวนคดีอาญาในคดีแพ่ง ศาลต้องพิจารณาตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 สำนวนคดีอาญาดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)ที่จะต้องได้รับการวินิจฉัย การที่ศาลยกฟ้องโจทก์โดยไม่วินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีอาญานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดกฎหมาย และศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3),247 ข้อเท็จจริงนี้ย่อมมีผลถึงโจทก์อื่นซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
of 19