คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 86 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงราคาผิดประเภทสินค้าหลีกเลี่ยงอากร การประเมินภาษี และอายุความทางภาษี
สินค้าชนิดเดียวกันถ้านำเข้ามาในลักษณะที่เป็นอะไหล่รถยนต์จะต้องคิดราคาต*ลาดเพื่อเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 75 ของราคาที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี.แต่การนำเข้าแบบซี.เค.ดี. นั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ก่อน จำเลยนำเข้าโดยไม่ได้ขออนุมัติคณะกรรมการนำเข้าแบบ ซี.เค.ดี. จึงต้องคิดราคาต*ลาดเพื่อเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 75 ของราคาที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี. การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 เพิ่มราคาและแจ้งให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มขึ้นจึงชอบ การเรียกเก็บเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 112 จัตวา นั้นมิใช่เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ทวิเท่านั้น มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าถ้าวางประกันก็เรียกเก็บเงินเพิ่มได้ แต่ถ้าไม่มีการวางประกันกลับเรียกเก็บเงินเพิ่มไม่ได้ ซึ่งกฎหมายคงไม่ประสงค์จะให้เกิดผลผิดปกติเช่นนั้น การแจ้งการประเมินตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 นั้นมิได้มีการกำหนดแบบหรือวิธีการไว้ เมื่อหนังสือที่แจ้งไปยังจำเลยกำหนดให้จำเลยนำค่าภาษีอากรที่ขาดไปชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้มิฉะนั้นจะดำเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไปย่อมถือเป็นการแจ้งการประเมินแล้ว จำเลยสำแดงราคาของที่นำเข้าผิดสภาพของสินค้าโดยนำเข้ามาอย่างอะไหล่แต่สำแดงราคาเป็นสินค้าที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี.อันเป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1ที่จะเรียกอากรที่ขาดเพราะเหตุเกี่ยวกับราคาของที่จำเลยนำเข้าจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10วรรคสามตอนแรก มิใช่กรณีที่มีการคำนวณจำนวนอากรผิดวัน จะมีอายุความ 2 ปี ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลนั้น เมื่อกรณีของจำเลยมีการแสดงรายการเท็จโดยเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียภาษีอากรส่วนที่ขาดได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 ทวิ(2) จำเลยนำสินค้าพิพาทเข้ามาในปี 2519 เจ้าพนักงานของโจทก์จึงประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มในปี 2524 และฟ้องคดีเมื่อปี 2528 อยู่ในกำหนดระยะเวลา 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ในเรื่องอากรที่ค้างชำระนั้นได้มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในพ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา และ ป.รัษฎากรมาตรา 89 ทวิ ให้ผู้ค้างชำระภาษีต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ ในกรณีที่มีการค้าง*ชำระเงินภาษีอากรจึงต้องใช้สิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มตามบทกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษนี้ จะเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. อันเป็นสิทธิเรียกร้องทั่วไปไม่ได้ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินอากรที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นการให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีของผู้ผลิตและผู้รับประโยชน์จากตราสาร แม้ยังมิได้ชำระภาษีก็ฟ้องได้
ตามบทมาตราที่จำเลยอ้าง (มาตรา 27,31,77 ทวิ,86ทวิ) มิได้บัญญัติห้ามฟ้อง. ดังนั้น แม้โจทก์ยังไม่ได้ชำระภาษีอากรที่ถูกเรียกเก็บก็นำคดีมาฟ้องศาลได้.
โจทก์อาศัยใบอนุญาตทำไม้ของผู้อื่นทำฟืนขาย. แม้ในการทำฟืนนั้น โจทก์จะจ้างผู้อื่นให้ทำให้กับตนก็ดี. โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ผลิตตามความหมายในมาตรา 77.
เมื่อจำเลยเรียกเก็บอากรจากผู้มีหน้าที่ที่จะต้องชำระและผู้นั้นรับจะชำระให้. แต่ในที่สุดก็ไม่ชำระจำเลยย่อมเรียกเก็บอากรนั้นจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตราสารได้ตามมาตรา 115.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีของผู้ผลิตและผู้รับประโยชน์จากตราสาร แม้ยังมิได้ชำระภาษีก็ฟ้องได้
ตามบทมาตราที่จำเลยอ้าง (มาตรา 27, 31, 77 ทวิ, 86ทวิ) มิได้บัญญัติห้ามฟ้อง ดังนั้น แม้โจทก์ยังไม่ได้ชำระภาษีอากรที่ถูกเรียกเก็บก็นำคดีมาฟ้องศาลได้
โจทก์อาศัยใบอนุญาตทำไม้ของผู้อื่นทำฟืนขาย แม้ในการทำฟืนนั้น โจทก์จะจ้างผู้อื่นให้ทำให้กับตนก็ดี โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ผลิตตามความหมายในมาตรา 77
เมื่อจำเลยเรียกเก็บอากรจากผู้มีหน้าที่ที่จะต้องชำระและผู้นั้นรับจะชำระให้. แต่ในที่สุดก็ไม่ชำระจำเลยย่อมเรียกเก็บอากรนั้นจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตราสารได้ตามมาตรา 115