คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและการสละสิทธิในหนี้ภาษี การประเมินภาษีเกิดขึ้นก่อนสิทธิในการประนีประนอมยอมความ
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา14 และมาตรา 77 ซึ่งหากผู้ต้องเสียภาษีไม่ยื่นเสียภาษีหรือเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินเมื่อตรวจสอบพบแล้วจะทำการประเมินภาษีแล้วแจ้งจำนวนภาษีที่จะต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษี ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 เมื่อรับแจ้งแล้วผู้ต้องเสียภาษียังมีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และต่อศาลต่อไปตามลำดับได้ จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ก่อนทำการประเมินและแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษี ยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ต้องเสียภาษีเป็นหนี้ภาษีที่แน่นอนเมื่อยังถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ภาษีที่แน่นอน ผู้ต้องเสียภาษีจึงยังไม่อาจที่จะตกลงสละสิทธิหรือประนีประนอมยอมความในหนี้ภาษีนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 ได้ ฉะนั้นข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงที่โจทก์ได้ทำไว้ก่อนมีการประเมินภาษีดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับในข้อนี้ ดังจะเห็นได้ว่าต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังโจทก์ หลังจากนั้นโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวต่อคณะกรรมการ-พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวยอมรับการอุทธรณ์รวมทั้งวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 เห็นว่าบันทึกข้อตกลงของโจทก์เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลทำให้หนี้ภาษีอากรระงับและโจทก์มีความผูกพันต้องชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามข้อต่อสู้และตามที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดที่จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งการประเมินภาษีไปยังโจทก์ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องรับอุทธรณ์การประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้อีก กรณียังฟังไม่ได้ว่าบันทึกข้อตกลงของโจทก์เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลทำให้การเรียกร้องหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องจากโจทก์ระงับ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมทั้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (20) และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งและวรรคสี่นั้น แม้สถานที่เก็บสินค้าจะถือว่าเป็นสถานที่ประกอบกิจการซึ่งในกรณีปกติจะต้องยื่นคำขอเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือเป็นรายสถานประกอบการก็ดี แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าหากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันแล้ว ในการขอเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ประกอบการดังกล่าวยื่นคำขอเครดิตรวมกัน คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับอนุมัติจากอธิบดีของจำเลยที่ 1ให้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกันแล้ว และโจทก์ก็ได้ยื่นคำขอเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือที่สำนักงานใหญ่ ที่สาขาและที่เก็บสินค้ารวมกันแล้ว นอกจากนี้ยังปรากฏว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 เห็นชอบในกรณีนี้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือของโจทก์ที่เก็บไว้ในคลังสินค้าเลขที่ 9/2 หมู่ที่ 6 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ และที่เลขที่ 19 - 23 ซอยพิชิต ถนนมหาไชย แขวง-วังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ด้วย
ในบัญชีระบุพยานโจทก์อ้างระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการปฏิบัติงานกรรมวิธีแสดงแบบรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ.2535 ลงวันที่ 6 มกราคม2535 และระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการปฏิบัติงานกรรมวิธีแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2536 ลงวันที่ 22 กันยายน 2536 เป็นพยานแต่ศาลภาษีอากรกลางมิได้นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงแต่อย่างใดฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักประกันทุเลาการบังคับคดีไม่ใช่การชำระหนี้ การโอนสิทธิเรียกร้องต้องยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
จำเลยนำสมุดเงินฝากของธนาคารมาเป็นหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างฎีกา ศาลชั้นต้นมีหนังสือห้ามจำเลยถอนเงินจากสมุดเงินฝากดังกล่าว สมุดเงินฝากของธนาคารซึ่งจำเลยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นเป็นเพียงหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างฎีกาเท่านั้นว่าจำเลยมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ สมุดเงินฝากดังกล่าวจึงมิใช่เป็นตัวเงินซึ่งจำเลยนำมาวางต่อศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้จำเลยแถลงต่อศาลขอชำระหนี้โดยยอมให้โจทก์รับเงินจากสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจากศาลชั้นต้นได้ก็ตาม โจทก์ไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นให้โจทก์ได้ วิธีการที่ศาลจะให้ธนาคารส่งเงินตามสมุดเงินฝาก มาเพื่อจ่ายให้โจทก์จำต้องดำเนินการตามหมายบังคับคดี ถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อจำเลยแถลงต่อศาลขอให้โจทก์รับเงินจากสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจากศาลชั้นต้น ย่อมเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์แล้วหนี้ตามคำพิพากษาย่อมระงับ โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยได้อีกนั้น ประเด็นข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักประกันทุเลาการบังคับคดีไม่ใช่การชำระหนี้ โจทก์ต้องใช้หมายบังคับคดีเพื่อเรียกเงินจากธนาคาร
จำเลยนำสมุดเงินฝากของธนาคารมาเป็นหลักฐานประกันในการขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างฎีกาศาลชั้นต้นมีหนังสือห้ามจำเลยถอนเงินจากสมุดเงินฝากดังกล่าวสมุดเงินฝากของธนาคารซึ่งจำเลยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นเป็นเพียงหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างฎีกาเท่านั้นว่าจำเลยมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์สมุดเงินฝากดังกล่าวจึงมิใช่เป็นตัวเงินซึ่งจำเลยนำมาวางต่อศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแม้จำเลยแถลงต่อศาลขอชำระหนี้โดยยอมให้โจทก์รับเงินฝากดังกล่าวไปจากศาลชั้นต้นได้ก็ตามโจทก์ไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นให้โจทก์ได้วิธีการที่ศาลจะให้ธนาคารส่งเงินตามสมุดเงินฝากมาเพื่อจ่ายให้โจทก์จำต้องดำเนินการตามหมายบังคับคดีถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าเมื่อจำเลยแถลงต่อศาลขอให้โจทก์รับเงินจากสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจากศาลชั้นต้นย่อมเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์แล้วหนี้ตามคำพิพากษาย่อมระงับโจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยได้อีกนั้นประเด็นข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำเลยในคดีอาญา: พฤติการณ์หลังเกิดเหตุและหลักการสันนิษฐานในคำบอกเล่า
ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยทั้งห้าแม้เรียงกระทงลงโทษแล้วก็คงให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งห้าและหากจะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นการกระทำทารุณโหดร้ายต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา289(5)ก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจจะวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลล่างเป็นอย่างอื่นให้ลงโทษหนักไปกว่านี้ได้ดังนั้นการที่โจทก์ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำทารุณโหดร้ายจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะที่จำเลยทั้งห้ากระทำผิดพฤติการณ์ที่จ.และต. เบิกความถึงเหตุการณ์ก่อนหน้าจะเกิดเหตุว่าจำเลยที่1ถึงที่5มาร่วมดื่มสุราด้วยกันที่บ้านของพยานส่วนบ. เบิกความว่าวันเกิดเหตุเวลา15นาฬิกาจำเลยที่1ถึงที่4ไปหาพยานที่บ้านแล้วบอกให้พยานล้างรถให้เพราะในรถเปื้อนเลือดและอ. กับส. เบิกความว่าเย็นวันเกิดเหตุจำเลยที่2ขับรถกระบะที่ได้จากการปล้นพาจำเลยที่1ไปที่บ้านบอกว่าได้ฆ่าคนมา5คนขอให้อ. ช่วยขายรถคันดังกล่าวให้ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์หลังเกิดเหตุแล้วเป็นคำบอกเล่าของจำเลยที่อาจให้ยันจำเลยได้อยู่แล้วเพราะตามธรรมดาบุคคลทั่วๆไปย่อมจะไม่กล่าวความใดอันทำให้ตนเสียหายเมื่อมีการบอกเล่าเช่นนั้นก็ย่อมสันนิษฐานได้ว่าคำบอกเล่านั้นเป็นจริงแต่มิใช่เรื่องที่จำนนต่อหลักฐานดังที่โจทก์ฎีกาฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองลดโทษให้แก่จำเลยทั้งห้ามานั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีซื้อขายปุ๋ย, ลักษณะการเป็นพ่อค้า, และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์เป็นองค์การของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามมาตรา 6 (1) ถึง (8) ตามสัญญาซื้อปุ๋ย จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินค่าปุ๋ยให้โจทก์ในวันทำสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ส่วนที่เหลือชำระภายใน 12 เดือนโดยโจทก์คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือนของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระเท่านั้นซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำ โจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าตาม ป.พ.พ.มาตรา165 (1) เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะฟ้อง เพราะไม่ได้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระเพื่อหากำไร จึงนำอายุความ 2 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้แก่โจทก์ไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม
ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำการซื้อปุ๋ยแทน หนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10และที่ 17 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยไม่ผูกพันจำเลยที่ 1จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ซื้อปุ๋ยจากโจทก์เป็นเงิน 920,260 บาท ชำระค่าปุ๋ยในวันทำสัญญาแล้ว 46,020 บาท คงค้างชำระ 874,240 บาท โจทก์ได้คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน ของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระนับแต่เดือนกันยายน2523 ถึงเดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 73,873.28 บาท รวมเป็นราคาปุ๋ยค้างชำระ ณ เดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 948,113.28 บาท ในเดือนกันยายน 2524 จำเลยที่ 1 ได้ผ่อนชำระค่าปุ๋ยอีก 5,000 บาท จึงคงเหลือค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาท แม้ยอดค้างชำระดังกล่าวจะมีราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน รวมอยู่ด้วย ก็มิใช่ดอกเบี้ย ฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาทกรณีมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดนัดในกรณีนี้มิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม แต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตามมาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขาย, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ, หนังสือมอบอำนาจและผลผูกพันสัญญา
โจทก์เป็นองค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ.2517มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามมาตรา6(1)ถึง(8)ตามสัญญาซื้อปุ๋ยจำเลยที่1ต้องชำระเงินค่าปุ๋ยให้โจทก์ในวันทำสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละ5ส่วนที่เหลือชำระภายใน12เดือนโดยโจทก์คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ0.65ต่อเดือนของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระเท่านั้นซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำโจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะฟ้องเพราะไม่ได้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระเพื่อหากำไรจึงนำอายุความ2ปีตามบทกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้แก่โจทก์ไม่ได้ต้องใช้อายุความ10ปีตามมาตรา164เดิม ที่จำเลยที่7ที่8 ที่9ที่10และที่17ฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่1ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่2ทำการซื้อปุ๋ยแทนหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยจึงไม่ผูกพันจำเลยที่1จำเลยที่7ที่8ที่9ที่10และที่17ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์นั้นจำเลยที่7ที่8ที่9ที่10และที่17มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยไม่ผูกพันจำเลยที่1จำเลยที่7ที่8ที่9ที่10และที่17ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยที่1ซื้อปุ๋ยจากโจทก์เป็นเงิน920,260บาทชำระค่าปุ๋ยในวันทำสัญญาแล้ว46,020บาทคงค้างชำระ874,240บาทโจทก์ได้คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ0.65ต่อเดือนของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระนับแต่เดือนกันยายน2523ถึงเดือนกันยายน2524เป็นเงิน73,873.28บาทรวมเป็นราคาปุ๋ยค้างชำระณเดือนกันยายน2524เป็นเงิน948,113.28บาทในเดือนกันยายน2524จำเลยที่1ได้ผ่อนชำระค่าปุ๋ยอีก5,000บาทจึงคงเหลือค่าปุ๋ยค้างชำระ943,113.28แม้ยอดค้างชำระดังกล่าวจะมีราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ0.65ต่อเดือนรวมอยู่ด้วยก็มิใช่ดอกเบี้ยฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินค่าปุ๋ยค้าชำระ943,113.28บาทกรณีมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดนัดในกรณีนี้มิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งซึ่งมีอายุความ5ปีตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา166เดิมแต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตามมาตรา224วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9541/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมโดยอายุความจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยเปิดเผยและสงบ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
ว. ใช้ที่พิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะตลอดมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ว. จึงได้สิทธิภารจำยอมในที่พิพาทโดยอายุความ โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ว. ย่อมได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความในที่พิพาทด้วย ฎีกาของจำเลยที่ว่า ว. โอนขายที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่ส.เมื่อปี2524และว.ซื้อคืนมาในปี2528ว.ใช้ที่พิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะติดต่อกันไม่ถึง10 ปี จึงไม่ได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความ ข้อปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การไว้ ศาลชั้นต้นมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งมิได้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโฉนดที่ดินที่ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานที่ดินประมาทเลินเล่อและร่วมกระทำละเมิด โจทก์มีสิทธิเรียกทรัพย์คืน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 6โดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องสัญญาให้ที่ดินโจทก์จึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้โฉนดที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7จะเป็นโฉนดที่ดินปลอมแต่เมื่อโฉนดที่ดินฉบับหลวงระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทปลอมเป็นโจทก์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม จำเลยที่ 1ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4และที่ 5 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งได้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 4และที่ 5 แล้วก็ตามจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็มิได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 นั้นไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7ทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1โดยประมาทเลินเล่อและได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 7จึงต้องรับผิดต่อโจทก์แม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้วโจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกทรัพย์คืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาที่ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้ยกเหตุผลใหม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลล่าง
ฎีกาของจำเลยคงอ้างเหตุอย่างเดียวกับที่อุทธรณ์โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าเป็นการไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. หากไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยคงอ้างเหตุอย่างเดียวกับที่อุทธรณ์โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าเป็นการไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
of 15