คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประการ กาญจนศูนย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 343 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำทางเพศ: ไม่ถึงขั้นพยายามข่มขืน แต่เป็นการกระทำอนาจาร
จำเลยถอดกางเกงของจำเลยลงมาถึงหัวเข่าผู้เสียหายกึ่งนั่งกึ่งนอนหลังพิงประตูแล้วจำเลยเอามือจับตะโพกผู้เสียหายส่ายไปมาจนตนเองสำเร็จความใคร่แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะให้อวัยวะเพศของจำเลยจ่อที่ปากช่องคลอดของผู้เสียหายเพื่อกระทำชำเราเพราะการกระทำดังกล่าวอวัยวะเพศของจำเลยไม่มีโอกาสที่จะจ่อปากช่องคลอดของผู้เสียหายได้การกระทำของจำเลยมีเจตนาเพียงเพื่อสำเร็จความใคร่เท่านั้นหามีเจตนากระทำชำเราไม่จำเลยไม่มีความผิดฐานพยายามกระทำชำเราแต่มีความผิดฐานกระทำอนาจาร.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำทางเพศ: พยายามข่มขืน vs. กระทำอนาจาร พิจารณาจากลักษณะการกระทำและผลที่เกิดขึ้น
จำเลยถอดกางเกงของจำเลยลงมาถึงหัวเข่าผู้เสียหายกึ่งนั่งกึ่งนอนหลังพิงประตูแล้วจำเลยเอามือจับตะโพกผู้เสียหายส่ายไปมาจนตนเองสำเร็จความใคร่แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะให้อวัยวะเพศของจำเลยจ่อที่ปากช่องคลอดของผู้เสียหายเพื่อกระทำชำเราเพราะการกระทำดังกล่าวอวัยวะเพศของจำเลยไม่มีโอกาสที่จะจ่อปากช่องคลอดของผู้เสียหายได้การกระทำของจำเลยมีเจตนาเพียงเพื่อสำเร็จความใคร่เท่านั้นหามีเจตนากระทำชำเราไม่จำเลยไม่มีความผิดฐานพยายามกระทำชำเราแต่มีความผิดฐานกระทำอนาจาร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช่าซื้อ: ฟ้องเรียกราคาทรัพย์สิน ไม่ใช่ค่าเช่าค้างชำระ ใช้ อายุความ 10 ปี
สัญญาเช่าซื้อข้อ5กำหนดว่าในกรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใดผู้เช่าซื้อต้องรับผิดแต่ฝ่ายเดียวชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบการที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องขอให้จำเลยที่1ผู้เช่าซื้อชำระค่ารถยนต์ที่ค้างตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่1ชำระราคาทรัพย์สิ้นที่เช่าซื้อจนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญาหาใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่366/2521) ในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164มิใช่อายุความ2ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อกรณีรถหาย: ใช้ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 ไม่ใช่ 2 ปี
สัญญาเช่าซื้อข้อ5กำหนดว่าในกรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใดผู้เช่าซื้อต้องรับผิดแต่ฝ่ายเดียวชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบการที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องขอให้จำเลยที่1ผู้เช่าซื้อชำระค่ารถยนต์ที่ค้างตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่1ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญาหาใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่366/2521) ในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามป.พ.พ.มาตรา164มิใช่อายุความ2ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อรถยนต์สูญหาย: ใช้ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 164 ไม่ใช่ 2 ปี
สัญญาเช่าซื้อข้อ 5 กำหนดว่า ในกรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใด ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดแต่ฝ่ายเดียวชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบ การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อชำระค่ารถยนต์ที่ค้างตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาทรัพย์สิ้นที่เช่าซื้อจนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา หาใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 366/2521)
ในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164 มิใช่อายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ – ความเสียหาย – การพิสูจน์ความเสียหายต่อเทศบาล – หลักฐานฟังไม่ได้
จำเลยที่1เป็นพนักงานโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการฆ่าสัตว์ให้ถูกต้องและเป็นไปตามใบควบคุมอาชญาบัตรไม่ควบคุมตรวจนับการฆ่าสุกรเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายคือเทศบาลนั้นทางนำสืบพยานโจทก์ได้ความว่าเทศบาลไม่ได้รับความเสียหายประชาชนเป็นผู้ที่อาจได้รับความเสียหายจากการแพร่โรคจากสุกรที่ฆ่าโดยมิได้ตรวจโรคก่อนซึ่งเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องการกระทำของจำเลยที่1จึงไม่เป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาล ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่1มิได้เป็นผู้สั่งฆ่าหรือจัดการฆ่าจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่2ฆ่าสุกรตามฟ้องโจทก์มิได้อุทธรณ์ข้อหาตามความผิดนี้ย่อมยุติโจทก์ฎีกาไม่ได้ว่าจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2ฆ่าสุกร.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ – ความผิดอาญา – การพิสูจน์ความเสียหาย – พยานหลักฐาน – การรับฟังคำรับสารภาพ
จำเลยที่1เป็นพนักงานโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการฆ่าสัตว์ให้ถูกต้องและเป็นไปตามใบควบคุมอาชญาบัตรไม่ควบคุมตรวจนับการฆ่าสุกรเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายคือเทศบาลนั้นทางนำสืบพยานโจทก์ได้ความว่าเทศบาลไม่ได้รับความเสียหายประชาชนเป็นผู้ที่อาจได้รับความเสียหายจากการแพร่โรคจากสุกรที่ฆ่าโดยมิได้ตรวจโรคก่อนซึ่งเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องการกระทำของจำเลยที่1จึงไม่เป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาล ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่1มิได้เป็นผู้สั่งฆ่าหรือจัดการฆ่าจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่2ฆ่าสุกรตามฟ้องโจทก์มิได้อุทธรณ์ข้อหาตามความผิดนี้ย่อมยุติโจทก์ฎีกาไม่ได้ว่าจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2ฆ่าสุกร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ: สิทธิของผู้ครอบครองดีกว่าผู้สละสิทธิ และขอบเขตการห้ามเกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) โจทก์เป็นผู้ครอบครองจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลย ส่วนที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องนั้น ไม่อาจห้ามจำเลยเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะจะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้จะห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิได้เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ได้ใช้แล้ว สิทธิในที่ดินยังไม่กลับคืนเป็นของเดิม
การอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามป.พ.พ.มาตรา1304(2)แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและต่อมาประชาชนไม่ได้ใช้ที่ดินนั้นต่อไปก็หาทำให้ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสิ้นสภาพและกลับมาเป็นของผู้อุทิศอีกไม่ เมื่อจำเลยสละการครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วและโจทก์ครอบครองที่พิพาทอยู่โจทก์จึงมีสิทธิ์ในที่พิพาทดีกว่าจำเลยแต่โจทก์ไม่อาจห้ามมิให้จำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทเสียทั้งหมดได้เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้จะห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุที่ประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินแปลงนี้เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ: การใช้ประโยชน์และการจำกัดสิทธิของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)โจทก์เป็นผู้ครอบครองจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยส่วนที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องนั้นไม่อาจห้ามจำเลยเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะจะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้จะห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิได้เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น.
of 35