พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,256 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นผ่านตัวแทน: สัญญา, อายุความ, และการโอนหุ้นพิเศษ
จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นนายหน้าและตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นเป็นกรณีพิเศษ มิใช่การซื้อขายหุ้นตามปกติจึงไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ทำการซื้อหุ้นตามคำสั่งของจำเลยจากสมาชิกผู้ขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยไม่มีชื่อผู้รับโอน เป็นการโอนลอยแล้ว เมื่อบริษัทเจ้าของหุ้นประกาศปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น โจทก์จดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น ก็เพื่อสิทธิในการขอรับเงินปันผล มิฉะนั้น บริษัทเจ้าของหุ้นจะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม และโจทก์จะใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นก็ไม่ได้ เพราะจำเลยยังไม่ได้ชำระค่าหุ้นที่โจทก์ออกทดรองไป การกระทำของโจทก์เป็นการรักษาผลประโยชน์ของจำเลย มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ กระทำได้เฉพาะสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น จำเลยซึ่งมิได้เป็นสมาชิกจะลงชื่อเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายในสัญญาดังกล่าวไม่ได้
โจทก์ซึ่งเป็นตัวแทน ฟ้องเรียกเงินทดรองจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 กฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาให้ใช้สิทธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164.(ที่มา-เนติฯ)
เมื่อโจทก์ทำการซื้อหุ้นตามคำสั่งของจำเลยจากสมาชิกผู้ขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยไม่มีชื่อผู้รับโอน เป็นการโอนลอยแล้ว เมื่อบริษัทเจ้าของหุ้นประกาศปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น โจทก์จดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น ก็เพื่อสิทธิในการขอรับเงินปันผล มิฉะนั้น บริษัทเจ้าของหุ้นจะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม และโจทก์จะใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นก็ไม่ได้ เพราะจำเลยยังไม่ได้ชำระค่าหุ้นที่โจทก์ออกทดรองไป การกระทำของโจทก์เป็นการรักษาผลประโยชน์ของจำเลย มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ กระทำได้เฉพาะสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น จำเลยซึ่งมิได้เป็นสมาชิกจะลงชื่อเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายในสัญญาดังกล่าวไม่ได้
โจทก์ซึ่งเป็นตัวแทน ฟ้องเรียกเงินทดรองจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 กฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาให้ใช้สิทธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164.(ที่มา-เนติฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาจักรเย็บผ้าชุดสำเร็จรูปไม่ใช่อะไหล่ แต่เป็นส่วนประกอบจักรเย็บผ้า
โจทก์ผลิตขาจักรเย็บผ้าที่ใช้เท้าถีบเป็นชุดซึ่งประกอบด้วยแผงข้าง 2 แผง วงล้อสำหรับใส่สายพาน ที่วางเท้าสำหรับถีบและที่กำบังสายพานและขายให้ตามคำสั่งซื้อของพ่อค้าที่สั่งหัวจักรมาจากต่างประเทศเท่านั้น แล้วพ่อค้าที่ซื้อขาจักรเย็บผ้าจากโจทก์ได้นำไปประกอบกับหัวจักรที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศให้เป็นจักรเย็บที่ใช้การได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แยกขาจักรเย็บผ้าที่โจทก์ผลิตออกขายเป็นชิ้น ๆ ดังนั้น ขาจักรเย็บผ้าที่ใช้เท้าถีบที่โจทก์ผลิตเป็นชุดดังกล่าวจึงไม่อยู่ในลักษณะสิ่งของที่มีไว้ ตระเตรีมไว้เพื่อใช้แทนสิ่งของที่ชำรุดเสียหายหรือเมื่อเวลาจำเป็น จึงมิใช่อะไหล่ของจักรเย็บผ้าใช้เท้าถีบ ไม่เข้าลักษณะเป็นสินค้าตามหมวด 8(5) ของบัญชี 1ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่44) พ.ศ.2517 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการค้ำประกัน และขอบเขตความรับผิดของจำเลย
หนังสือสัญญาที่ ร. กับจำเลยทำไว้ให้กับโจทก์ว่า หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่โจทก์เข้าค้ำประกันในการที่ร.จะปฏิบัติตามสัญญาขนส่งไม้สักที่ร. ทำไว้กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ร. กับจำเลยจะร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสิ้นนั้น ไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตามป.พ.พ. มาตรา680 แต่เป็นสัญญาธรรมดาซึ่งต้องบังคับตามข้อตกลงในสัญญา จะนำบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับมิได้อายุความฟ้องร้องจึงต้องนำอายุความทั่วไปมาใช้บังคับตามป.พ.พ. มาตรา 164 คือ 10 ปี โดยอายุความฟ้องร้องเริ่มนับแต่วันที่โจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ไป
การที่ ร. ผิดสัญญากับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้การที่โจทก์ไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวจนโจทก์ถูกองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฟ้องในฐานะผู้ค้ำประกันและถูกศาลพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่โจทก์เสียไปดังกล่าวไม่ใช่ค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการที่ ร. ผิดสัญญากับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชดใช้เงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่ ร. ผิดสัญญากับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้การที่โจทก์ไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวจนโจทก์ถูกองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฟ้องในฐานะผู้ค้ำประกันและถูกศาลพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่โจทก์เสียไปดังกล่าวไม่ใช่ค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการที่ ร. ผิดสัญญากับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชดใช้เงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จิตบกพร่องกับการลดโทษอาญา: กรณีฆ่าและวางเพลิงโดยไม่มีสาเหตุ
การที่จำเลยฆ่าพี่ชายและหลานสาวของจำเลย กับทุบตู้กระจกแล้วจุดไฟเผาเสื้อผ้าและเผาบ้านของผู้เสียหายหลายราย โดยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนนั้น เป็นการกระทำโดยจำเลยมีจิตบกพร่องหรือฟั่นเฟือน แต่การที่จำเลยไม่ทำร้ายบิดาทั้งๆ ที่บิดาเข้ากอดปล้ำจำเลยและใช้พลั่วกันจำเลยไม่ให้ทำร้ายพี่ชายก็ดี การที่จำเลยโบกมือไล่ ไม่ให้เข้าไปช่วยดับไฟที่บ้านผู้เสียหายก็ดีหรือการที่จำเลยจุดไฟเผาบ้านผู้เสียหายคนหนึ่งแล้วเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในไร่อ้อย และยอมออกมามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งยอมรับสารภาพการกระทำของตนก็ดีพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยแสดงว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือยังบังคับตัวเองได้บ้างกรณีต้องตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา65 วรรคสอง ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิดและการรับผิดในสัญญาซื้อขายลดเช็ค กรณีจำเลยล้มละลาย
โจทก์ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้อง ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งต่อไปย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 25 แต่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดีก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แม้จำเลยจะขอให้จำหน่ายคดี และโจทก์ไม่ค้านก็ตาม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่2 เป็นตัวแทนเชิดศาลก็ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดได้เพราะความรับผิดของตัวแทนกับตัวแทนเชิดมีลักษณะอย่างเดียวกัน ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การที่จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1ยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และประทับตราจำเลยที่ 1 ในสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 5 ได้เชิดจำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่2 เป็นตัวแทนเชิดศาลก็ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดได้เพราะความรับผิดของตัวแทนกับตัวแทนเชิดมีลักษณะอย่างเดียวกัน ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การที่จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1ยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และประทับตราจำเลยที่ 1 ในสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 5 ได้เชิดจำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาซื้อลดเช็คและการเชิดตัวแทน: ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ค้ำประกัน
เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 5 ในสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ปฏิเสธว่ามิใช่ลายมือชื่อของตน กับในการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อและคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 5 รับว่าเป็นลายมือชื่อของตนจริงคล้ายคลึงกันและสีหมึกก็เป็นสีเดียวกัน ประกอบกับจำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาขายลดเช็คกับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันก็เป็นสามีภริยากัน จึงน่าเชื่อว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 5 ในสัญญาค้ำประกัน เป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ 5 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 5 แล้วเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดี หรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 5 ต่อไป โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนเชิด ศาลก็ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเชิด ได้ เพราะความรับผิดของตัวแทนกับตัวแทนเชิด มีลักษณะอย่างเดียวกัน ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การที่จำเลยที่ 5 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และประทับตราห้างจำเลยที่ 1 ด้วยทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 5หุ้นส่วนผู้จัดการได้เชิด จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2เชิด ตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด-ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด: การขยายความรับผิดจากตัวแทนไปยังห้างหุ้นส่วนและผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้อง ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งต่อไปย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 25 แต่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดีก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แม้จำเลยจะขอให้จำหน่ายคดี และโจทก์ไม่ค้านก็ตาม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเชิดศาลก็ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดได้เพราะความรับผิดของตัวแทนกับตัวแทนเชิดมีลักษณะอย่างเดียวกัน ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การที่จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และประทับตราจำเลยที่ 1 ในสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 5 ได้เชิดจำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเชิดศาลก็ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดได้เพราะความรับผิดของตัวแทนกับตัวแทนเชิดมีลักษณะอย่างเดียวกัน ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การที่จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และประทับตราจำเลยที่ 1 ในสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 5 ได้เชิดจำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์: คำสั่งศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นเป็นที่สุดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูล จึงพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์อ้างว่าเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย แต่เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย จึงมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์: คำสั่งศาลชั้นต้นที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูล จึงพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์อ้างว่าเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย แต่เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย จึงมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิวรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกประเด็นข้อพิพาทใหม่ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา จำเลยต้องยกข้อต่อสู้ในคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของเดิม ซึ่งจำเลยปลูกบ้านบนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิเจ้าของเดิม เมื่อจำเลยเห็นว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยไม่สุจริตและไม่ได้เสียค่าตอบแทนจำเลยจะต้องกล่าวไว้ในคำให้การเพื่อตั้งประเด็นพิพาทไว้จึงจะชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองแม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งโดยยกเรื่องซื้อที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนขึ้นมาด้วย ก็เป็นเพียงยืนยันคำฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทจากเจ้าของเดิมโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หาเป็นผลให้เกิดประเด็นขึ้นมาใหม่ไม่ ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยไม่มีประเด็นข้อนี้จำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จำเลยจึงจะโต้แย้งว่าควรมีประเด็นข้อนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)