พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,256 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการวางประกันค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับโจทก์ต่างชาติ
โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล ศาลมีอำนาจสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 เมื่อปรากฏว่าคดีโจทก์มีทุนทรัพย์ถึง 5 ล้านบาทเศษ เงินประกันที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้โจทก์วางเพียง 5,000 บาท จึงอาจไม่เป็นการเพียงพอ ศาลฎีกาให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จำนวน 10,000บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่งผลให้ต้องมีการพิจารณาคดีใหม่
กรณีจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนและไม่มีเหตุผลให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น ศาลจะต้องสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 แล้วจึงจะทำการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบตามข้ออ้างและข้อต่อสู้ ให้นัดสืบพยานโจทก์โดยไม่ชี้ลงไปว่าเป็นเรื่องขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาได้แม้จะไม่ได้โต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไว้ และศาลฎีกาย่อมให้มีการพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาและการปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลต้องสั่งขาดนัดก่อนชี้ขาดคดี
กรณีจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนและไม่มีเหตุผลให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น ศาลจะต้องสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 แล้วจึงจะทำการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบตามข้ออ้างและข้อต่อสู้ ให้นัดสืบพยานโจทก์โดยไม่ชี้ลงไปว่าเป็นเรื่องขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาได้แม้จะไม่ได้โต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไว้ และศาลฎีกาย่อมให้มีการพิจารณาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกร้องค่ารถยนต์เช่าซื้อ: ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหากศาลอุทธรณ์แก้ไขเพียงเล็กน้อย
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นว่าโจทก์ฟ้องเรียกราคารถยนต์คันพิพาท มิใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทที่ค้างชำระ เพียงแต่พิพากษาแก้เฉพาะดอกเบี้ยก่อนฟ้อง ย่อมเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทที่ค้างชำระ เมื่อมิได้ฟ้องเรียกร้องภายใน 2 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165(6) แม้ข้ออ้างในฎีกาของจำเลยที่ 1 จะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย การเถียงข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทที่ค้างชำระ ซึ่งเป็นที่ยุติและต้องห้ามฎีกาแล้ว เพื่อสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกร้องราคารถยนต์เช่าซื้อ: ศาลห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกับศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นว่าโจทก์ฟ้องเรียกราคารถยนต์คันพิพาท มิใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทที่ค้างชำระ เพียงแต่พิพากษาแก้เฉพาะดอกเบี้ยก่อนฟ้อง ย่อมเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทที่ค้างชำระ เมื่อมิได้ฟ้องเรียกร้องภายใน 2 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165 (6) แม้ข้ออ้างในฎีกาของจำเลยที่ 1 จะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย การเถียงข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทที่ค้างชำระ ซึ่งเป็นที่ยุติและต้องห้ามฎีกาแล้ว เพื่อสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุผล 'ทนายเพิ่งได้รับมอบอำนาจ' ไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งอ้างว่า ในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทนายโจทก์เพิ่งได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ ให้อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์แต่ทนายโจทก์ยังไม่ทราบรายละเอียด และข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้เมื่อการยื่นอุทธรณ์ดังกล่าว เป็นเพียงคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องในกรณีที่โจทก์ขอให้ไต่สวนมูลฟ้องใหม่ ยังมิได้เป็นการวินิจฉัยถึงเนื้อหาของคดี รูปคดีจึงมิได้มีความสลับซับซ้อนเป็นพิเศษถึงกับจะเป็นเหตุให้ ทนายโจทก์ศึกษารายละเอียดและข้อเท็จจริงไม่ทัน ทนายโจทก์ ก็ยอมรับมาในฎีกาว่าระยะเวลาที่จะทำอุทธรณ์เหลือเวลาอีก ไม่ถึง 7 วัน แสดงว่าก่อนครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ทนายโจทก์ยังมีเวลาเพียงพอ ที่จะดำเนินการได้ ข้ออ้างของโจทก์ ตามคำร้องยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะขยาย ระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การอ้างทนายเพิ่งได้รับมอบหมายและเวลาไม่พอไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งอ้างว่าในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ทนายโจทก์เพิ่งได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์แต่ทนายโจทก์ยังไม่ทราบรายละเอียดและข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้เมื่อการยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นเพียงคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องในกรณีที่โจทก์ขอให้ไต่สวนมูลฟ้องใหม่ยังมิได้เป็นการวินิจฉัยถึงเนื้อหาของคดีรูปคดีจึงมิได้มีความสลับซับซ้อนเป็นพิเศษถึงกับจะเป็นเหตุให้ทนายโจทก์ศึกษารายละเอียดและข้อเท็จจริงไม่ทันทนายโจทก์ก็ยอมรับมาในฎีกาว่าระยะเวลาที่จะทำอุทธรณ์เหลือเวลาอีกไม่ถึง7วันแสดงว่าก่อนครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ทนายโจทก์ยังมีเวลาเพียงพอที่จะดำเนินการได้ข้ออ้างของโจทก์ตามคำร้องยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การอ้างทนายเพิ่งได้รับมอบอำนาจไม่อาจใช้ขยายเวลาได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งอ้างว่า ในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทนายโจทก์เพิ่งได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์แต่ทนายโจทก์ยังไม่ทราบรายละเอียดและข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้ เมื่อการยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นเพียงคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องในกรณีที่โจทก์ขอให้ไต่สวนมูลฟ้องใหม่ ยังมิได้เป็นการวินิจฉัยถึงเนื้อหาของคดี รูปคดีจึงมิได้มีความสลับซับซ้อนเป็นพิเศษ ถึงกับจะเป็นเหตุให้ทนายโจทก์ศึกษารายละเอียดและข้อเท็จจริงไม่ทัน ทนายโจทก์ก็ยอมรับมาในฎีกาว่าระยะเวลาที่จะทำอุทธรณ์เหลือเวลาอีกไม่ถึง 7 วัน แสดงว่าก่อนครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ทนายโจทก์ยังมีเวลาเพียงพอที่จะดำเนินการได้ ข้ออ้างของโจทก์ตามคำร้องยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสัญญากู้ยืมเงิน และการฟ้องร้องบังคับตามสัญญากู้ยืม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้เงินต่อมาจำเลยได้นำเงินที่ได้จากการขายหุ้น เงินปันผล และเงินสดมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนนับถึงวันที่ 11 กันยายน 2523 จำเลยชำระเงินต้นให้โจทก์ 831,333 บาท 67 สตางค์ กับดอกเบี้ยอีก 583,642 บาท 99 สตางค์ ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระเงินต้นส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยตามเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งได้ระบุยอดเงินต้นที่ค้างตรงตามฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 พอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนข้อที่ว่ายอดเงินที่จำเลยชำระคืนบางส่วนเป็นเงินเท่าใด เป็นเงินอะไร และมีการชำระเงินเมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไป หาจำต้องบรรยายในคำฟ้องไม่ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้อง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่า จำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้ เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย จึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ฯ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 3,500,000 บาทเศษ จำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมาย จึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น 2,760,896.67 บาทกับดอกเบี้ยอีก 864,221.48 บาท ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระ เฉพาะเงินต้น อันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระ ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาทแทนโจทก์ และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 6,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้อง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่า จำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้ เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย จึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ฯ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 3,500,000 บาทเศษ จำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมาย จึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น 2,760,896.67 บาทกับดอกเบี้ยอีก 864,221.48 บาท ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระ เฉพาะเงินต้น อันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระ ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาทแทนโจทก์ และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 6,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสัญญากู้ยืมเงิน และความสมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้เงินต่อมาจำเลยได้นำเงินที่ได้จากการขายหุ้น เงินปันผล และเงินสดมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนนับถึงวันที่ 11 กันยายน 2523 จำเลยชำระเงินต้นให้โจทก์ 831,333 บาท 67 สตางค์ กับดอกเบี้ยอีก 583,642บาท 99 สตางค์ ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระเงินต้นส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยตามเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งได้ระบุยอดเงินต้นที่ค้างตรงตามฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 พอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนข้อที่ว่ายอดเงินที่จำเลยชำระคืนบางส่วนเป็นเงินเท่าใด เป็นเงินอะไร และมีการชำระเงินเมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไป หาจำต้องบรรยายในคำฟ้องไม่ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้อง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่าจำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้ เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย จึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 3,500,000 บาทเศษ จำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมายจึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น 2,760,896.67 บาทกับดอกเบี้ยอีก 864,221.48 บาท ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระเฉพาะเงินต้น อันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระ ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาทแทนโจทก์ และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 6,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้อง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่าจำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้ เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย จึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 3,500,000 บาทเศษ จำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมายจึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น 2,760,896.67 บาทกับดอกเบี้ยอีก 864,221.48 บาท ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระเฉพาะเงินต้น อันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระ ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาทแทนโจทก์ และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 6,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว