พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4523/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนอง: ยึดทรัพย์เพิ่มเมื่อทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ & ขยายเวลาบังคับคดี
แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้ต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองก่อน หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นได้ก็ตาม แต่ทรัพย์จำนองมีราคาประเมินไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ประกอบกับเหตุที่การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองยังไม่เสร็จสิ้นนั้น มิใช่เกิดจากความผิดของโจทก์ ดังนั้น การยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยไว้ก่อน แต่ห้ามนำออกขายทอดตลาดจนกว่าจะมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองและได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนจึงค่อยนำที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ซึ่งไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดี และน่าจะเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย หาทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่ โจทก์จึงมีสิทธินำยึดที่ดินดังกล่าวของจำเลยเพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย เช็คไม่เป็นเหตุให้บังคับได้ จำเลยไม่ต้องรับโทษ
เช็คพิพาททั้งสามฉบับมีดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี รวมกับต้นเงินไว้ด้วย ซึ่งกฎหมายให้เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 (1) จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับไม่ได้ เช็คพิพาททั้งสามฉบับจึงไม่ใช่การชำระหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ตรงตามความเป็นจริงที่ปรากฎจากทางนำสืบของโจทก์ในการไต่สวนมูลฟ้อง จึงไม่อาจรับฟังคำรับสารภาพของจำเลยประกอบกับคำฟ้องของโจทก์ลงโทษจำเลย อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ให้อำนาจศาลในการพิจารณาคดีว่า ถ้าศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ให้ศาลยกฟ้องปล่อยจำเลยไป ซึ่งการพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้จะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฟอกเงินของเจ้าพนักงาน กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และฐานส่วนตัว โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน
จำเลยเป็นเจ้าอาวาสวัด ล. ซึ่งตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 บัญญัติให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความใน ป.อ. เมื่อจำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ล. ร่วมกับ น. เบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดินโดยทุจริต และร่วมกระทำความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ราชการกระทำความผิด อันเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามความในมาตรา 5 (1) (2) และมาตรา 9 ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 จำเลยจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ทั้งนี้ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชำระหนี้ด้วยเช็ค - เช็คค้ำประกัน - ความผิด พ.ร.บ.เช็ค - การพิสูจน์เจตนา
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าสินค้าต่อโจทก์และไม่ชำระหนี้ให้ ต่อมาตกลงผ่อนชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นในวันที่ 28 กันยายน 2561 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อโจทก์ทวงถาม จำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คให้ โดยจำเลยที่ 2 รับว่าเป็นเช็คที่รวมทั้งหนี้ค่าสินค้าที่ค้างและดอกเบี้ยด้วย ซึ่งเท่ากับมีเจตนาจะชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็คดังกล่าวนั้นเอง แต่ต่อมากลับให้โจทก์นำเช็คดังกล่าวกลับไปคืน แล้วออกเช็คพิพาทให้แทน โดยทำบันทึกขึ้นเองฝ่ายเดียวว่าเป็นเช็คค้ำประกันหนี้ ไม่มีข้อตกลงกำหนดเวลาที่โจทก์จะได้รับชำระหนี้ไว้เลย ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะตกลงด้วยเช่นนั้น เมื่อเช็คเดิมออกให้เพื่อชำระหนี้ แล้วมาออกเช็คพิพาทให้แทน ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่ออกให้เพื่อชำระหนี้เช่นเดียวกัน เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่ออกให้เพื่อชำระหนี้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมาย และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน: การเชื่อมโยงพยานหลักฐานกับประเด็นแห่งคดีและการวินิจฉัยเหตุผลที่ชัดเจน
การที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานใดย่อมจะต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานนั้นเกี่ยวกับประเด็นในคดีหรือไม่ หากพยานหลักฐานใดไม่เกี่ยวกับประเด็นหรือนอกประเด็น แม้คู่ความจะนำสืบกล่าวอ้างพยานหลักฐานนั้นต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้น
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดตามคำฟ้อง และอาจใช้สนับสนุนพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการทุจริตของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานขัดกับสำนวน เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด อันเป็นการร่วมกันกระทำทุจริตและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนของการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการล้างรายการเงินฝากในบัญชีตั้งพัก เพื่อโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองกับพวก โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 ได้รับโอนเงินของโจทก์เข้าบัญชีถึง 2 ครั้ง จำนวน 240,000 บาท และ 250,000 บาท แต่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยลอย ๆ เพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด มิได้วินิจฉัยถึงพยานเอกสารอื่นว่าไม่อาจรับฟังเชื่อมโยงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตเงินตามคำฟ้องเพราะเหตุใด นอกจากนั้น เงินที่โอนเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 รวมสองครั้งมิใช่เงินจำนวนเล็กน้อย จำเลยที่ 2 ย่อมต้องให้ความสำคัญและย่อมทราบว่าเงินดังกล่าวมีที่มาอย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยเพียงว่าเงินที่เข้าบัญชีจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ถอนให้จำเลยที่ 1 ไป จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ แต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงที่มาของการโอนเงินดังกล่าวอย่างไร เพื่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เช่นนี้ แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะยังไม่ถึงกับเป็นการวินิจฉัยขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดตามคำฟ้อง และอาจใช้สนับสนุนพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการทุจริตของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานขัดกับสำนวน เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด อันเป็นการร่วมกันกระทำทุจริตและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนของการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการล้างรายการเงินฝากในบัญชีตั้งพัก เพื่อโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองกับพวก โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 ได้รับโอนเงินของโจทก์เข้าบัญชีถึง 2 ครั้ง จำนวน 240,000 บาท และ 250,000 บาท แต่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยลอย ๆ เพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด มิได้วินิจฉัยถึงพยานเอกสารอื่นว่าไม่อาจรับฟังเชื่อมโยงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตเงินตามคำฟ้องเพราะเหตุใด นอกจากนั้น เงินที่โอนเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 รวมสองครั้งมิใช่เงินจำนวนเล็กน้อย จำเลยที่ 2 ย่อมต้องให้ความสำคัญและย่อมทราบว่าเงินดังกล่าวมีที่มาอย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยเพียงว่าเงินที่เข้าบัญชีจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ถอนให้จำเลยที่ 1 ไป จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ แต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงที่มาของการโอนเงินดังกล่าวอย่างไร เพื่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เช่นนี้ แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะยังไม่ถึงกับเป็นการวินิจฉัยขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ที่ยังไม่เกิด ไม่ครบองค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย อันเป็นองค์ประกอบในการกระทำความผิด แต่จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ อ. ไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ อ. ทำการก่อสร้างบ้านในเฟสที่ 2 แล้ว อ. นำเช็คสองฉบับดังกล่าวมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าวัสดุก่อสร้างที่ อ. ซื้อไปจากโจทก์ โดยหนี้ค่าก่อสร้างยังไม่เกิดขึ้นขณะที่มีการออกเช็ค เมื่อต่อมาจำเลยได้เลิกสัญญาการก่อสร้างบ้านในเฟสที่ 2 โดยไม่มีการก่อสร้างบ้านในเฟสที่ 2 ย่อมไม่มีมูลหนี้ตามเช็คทั้งสองฉบับ จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับโดยมิใช่เป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่จำเลยถึงแก่ความตาย ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานใหม่
การพิพากษาคดีในส่วนแพ่งที่ให้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้น เมื่อศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีส่วนอาญาของจำเลยจากสารบบความ เนื่องจากจำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) แล้ว ศาลฎีกาจะพิพากษาคดีในส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยต่อไปอีกไม่ได้ จึงถือว่าคดีในส่วนอาญายังไม่ถึงที่สุดและจะนำข้อเท็จจริงในคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดมารับฟังในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นย่อมไม่ได้ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 คดีส่วนแพ่งจึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่จากพยานหลักฐานในสำนวน
จำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โดยมี จ. เข้ามาเป็นคู่ความแทน ก็เพียงเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแทนจำเลยเท่านั้น ศาลจึงต้องพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยแก่ผู้ร้อง และชั้นบังคับคดีก็บังคับเอาจากกองมรดกของจำเลย
จำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โดยมี จ. เข้ามาเป็นคู่ความแทน ก็เพียงเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแทนจำเลยเท่านั้น ศาลจึงต้องพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยแก่ผู้ร้อง และชั้นบังคับคดีก็บังคับเอาจากกองมรดกของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่าเป็นเจ้าของ
พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 มาตรา 12 บัญญัติว่า "บรรดาคดีที่ได้มีการสั่งตรวจสอบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัติใช้บังคับ ให้คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน คณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานอัยการ และศาล ดำเนินการตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด" ดังนั้น กรณีที่มีคำสั่งตรวจสอบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 และค้างการพิจารณาอยู่ไม่ว่าในชั้นใด ก็ต้องดำเนินการต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อคดีนี้มีการสั่งตรวจสอบทรัพย์สินก่อนประมวลกฎหมายยาเสพติดใช้บังคับ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเสพติด พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6156/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจเจ้าของร่วมในอาคารชุดเพื่อดำเนินการจัดประชุม และการประชุมที่เป็นผลจากการมอบอำนาจนั้นชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 42/2 (3) ไม่ได้บัญญัติห้ามเจ้าของร่วมในอาคารชุดมอบอำนาจให้ผู้อื่นหรือเจ้าของร่วมคนอื่นกระทำการแทนตนเอง อีกทั้งข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ม. ก็ไม่มีข้อกำหนดห้ามเช่นเดียวกัน การที่เจ้าของร่วมในคดีนี้มอบอำนาจให้ผู้คัดค้านไปดำเนินการแทนเกี่ยวกับการทำหนังสือขอให้คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดจัดประชุมใหญ่วิสามัญ และการตั้งตัวแทนเพื่อการออกหนังสือนัดประชุมภายหลังจากที่คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดไม่ดำเนินการให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญตามคำขอของเจ้าของร่วมซึ่งมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของคะแนนเสียงทั้งหมด โดยการดำเนินการดังกล่าวมิใช่เป็นการเฉพาะตัวในกิจการที่สำคัญที่เจ้าของร่วมจะต้องดำเนินการด้วยตนเอง เจ้าของร่วมจึงมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้คัดค้านเป็นผู้รับมอบอำนาจไปดำเนินการแทนตนเองได้ บทบัญญัติมาตรา 1173 แห่ง ป.พ.พ. ไม่อาจนำมาบังคับใช้กับกรณีในคดีนี้ได้