พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาที่พิมพ์ผิดพลาดเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าชดเชยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ที่ 58 ยื่นฟ้องโดยอ้างว่ามีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามบัญชีรายละเอียด เอกสารท้ายคำฟ้อง รวม 24,900 บาท ในคำขอท้ายคำฟ้องก็ระบุจำนวนเงิน 24,900 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาได้บังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนนี้ตรงกับต้นร่างคำพิพากษาแต่เมื่อจัดพิมพ์คำพิพากษาแล้วปรากฏว่าได้พิมพ์จำนวนเงินที่ให้จำเลยชำระแก่โจทก์ที่ 58 เป็นเงิน 14,900 บาท จึงเป็นกรณีการพิมพ์จำนวนค่าชดเชยผิดพลาด เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาครั้งแรกปกติย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะแก้ไขให้ถูกต้อง เพราะได้ล่วงเลยขั้นตอนตามกฎหมายที่ศาลแรงงานกลางจะพึงแก้ไขได้แล้ว แต่ศาลฎีกาไม่มีโอกาสได้ทราบถึงความผิดพลาดในครั้งนั้น จึงมิได้แก้ไขให้ถูกต้องไปในคราวเดียวกันกรณีการพิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นนี้ในภายหลังให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาที่พิมพ์ผิดพลาดในส่วนของจำนวนเงินค่าชดเชย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143
โจทก์ที่58ยื่นฟ้องโดยอ้างว่ามีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามบัญชีรายละเอียดเอกสารท้ายคำฟ้องรวม24,900บาทในคำขอท้ายคำฟ้องก็ระบุจำนวนเงิน24,900บาทเมื่อศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาได้บังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนนี้ตรงกับต้นร่างคำพิพากษาแต่เมื่อจัดพิมพ์คำพิพากษาแล้วปรากฏว่าได้พิมพ์จำนวนเงินที่ให้จำเลยชำระแก่โจทก์ที่58เป็นเงิน14,900บาทจึงเป็นกรณีการพิมพ์จำนวนค่าชดเชยผิดพลาดเมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาครั้งแรกปกติย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะแก้ไขให้ถูกต้องเพราะได้ล่วงเลยขั้นตอนตามกฎหมายที่ศาลแรงงานกลางจะพึงแก้ไขได้แล้วแต่ศาลฎีกาไม่มีโอกาสได้ทราบถึงความผิดพลาดในครั้งนั้นจึงมิได้แก้ไขให้ถูกต้องไปในคราวเดียวกันกรณีการพิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นนี้ในภายหลังให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนการจ้างงานระหว่างหน่วยงาน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติหน้าที่กับการประปานครหลวงตามความประสงค์ของโจทก์อันเนื่องมาจากจำเลยโอนกิจการการประปาบางบัวทองของจำเลยให้การประปานครหลวงนั้นเป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนการจ้างไม่ใช่การเลิกจ้าง แม้การประปานครหลวงจะไม่นับอายุงานต่อเนื่อง
การโอนการประปาบางบัวทองซึ่งเป็นกิจการของจำเลยให้กับการประปานครหลวงเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี การโอนดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างจำเลยกับการประปานครหลวงว่าพนักงานที่โอนไปจะได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่มีอยู่เช่นเดิม และให้มีอายุการปฏิบัติงานติดต่อกัน การที่โจทก์แสดงความจำนงขอโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวง และจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงนั้น พฤติการณ์เป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างจากการประปาส่วนภูมิภาคเป็นการประปานครหลวง ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แม้ต่อมาภายหลังการประปานครหลวงจะไม่นับอายุการปฏิบัติงานต่อเนื่องให้โจทก์ก็ไม่อาจทำให้การโอนการจ้างดังกล่าวกลับมีผลเป็นการเลิกจ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โอนการจ้างไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง แม้สิทธิประโยชน์ไม่ต่อเนื่อง
การโอนการประปาบางบัวทองซึ่งเป็นกิจการของจำเลยให้กับการประปานครหลวงเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีการโอนดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างจำเลยกับการประปานครหลวงว่าพนักงานที่โอนไปจะได้รับสิทธิต่างๆที่มีอยู่เช่นเดิมและให้มีอายุการปฏิบัติงานติดต่อกันการที่โจทก์แสดงความจำนงขอโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงและจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงนั้นพฤติการณ์เป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างจากการประปาส่วนภูมิภาคเป็นการประปานครหลวงถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46แม้ต่อมาภายหลังการประปานครหลวงจะไม่นับอายุการปฏิบัติงานต่อเนื่องให้โจทก์ก็ไม่อาจทำให้การโอนการจ้างดังกล่าวกลับมีผลเป็นการเลิกจ้างไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อเกิดความเสียหายในไทย และข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
แม้ผู้ขายสินค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้จ้างจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งซึ่งมีสัญชาติเดนมาร์กให้ขนส่งสินค้าทางทะเลจากประเทศสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทย แต่เมื่อของที่ขนส่งทางทะเลได้มาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วพบว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตกของสูญหายไปบางส่วนมูลคดีนี้จึงเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย หามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยมาตรา13แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481ไม่ ป.พ.พ.มาตรา609วรรคสองบัญญัติว่ารับขนของทางทะเลให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้นแต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี การที่จำเลยได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา4(5)แห่งกฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าทางทะเลของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามป.พ.พ.มาตรา625นั่นเองเมื่อข้อความดังกล่าวระบุไว้ด้านหลังของใบตราส่งโดยไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วยจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งผู้รับตราส่งและโจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: ข้อตกลงที่ต้องชัดแจ้ง
กรณีรับขนส่งทางทะเลปรากฏว่าผู้ขายสัญชาติอเมริกันได้ส่งสินค้าประเภทอะไหล่รถแทรกเตอร์จำนวน2ตู้คอนเทนเนอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกามาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ผู้ซื้อที่กรุงเทพมหานครโดยบริษัทจำเลยสัญชาติเดนมาร์คซึ่งประกอบการพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นผู้ขนส่งจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าผู้รับขนจะไม่มีความรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเกินไปกว่า500เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อหีบห่อหรือหน่วยแล้วผู้ขายได้มอบใบตราส่งดังกล่าวให้แก่ธนาคารและธนาคารได้สลักหลังส่งมอบให้แก่ผู้ซื้ออีกชั้นหนึ่งผู้ซื้อได้เอาสินค้าดังกล่าวประกันภัยไว้กับโจทก์เมื่อเรือจำเลยมาถึงประเทศไทยผู้ซื้อไปรับสินค้าปรากฏว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตกสินค้าที่บรรจุมาส่วนหนึ่งสูญหายโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองกรณีนี้ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับตามกฎหมายไทยหามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481ไม่โดยให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ใบรับใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆทำนองนั้นซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้นถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใดความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งการที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่า500เหรียญสหรัฐอเมริกาก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดนั่นเองเมื่อไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วยจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่งโจทก์จึงหาผูกพันให้ต้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียง500เหรียญสหรัฐอเมริกาไม่แต่มีสิทธิเรียกตามความเสียหายที่แท้จริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: ข้อตกลงต้องชัดแจ้งและผู้ส่งต้องยินยอม
กรณีรับขนส่งทางทะเลปรากฏว่าผู้ขายสัญชาติอเมริกันได้ส่งสินค้าประเภทอะไหล่รถแทรกเตอร์จำนวน 2 ตู้คอนเทนเนอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกามาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ผู้ซื้อที่กรุงเทพมหานครโดยบริษัทจำเลยสัญชาติเดนมาร์คซึ่งประกอบการพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นผู้ขนส่ง จำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าผู้รับขนจะไม่มีความรับผิด สำหรับความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้น หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเกินไปกว่า 500 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อหีบห่อหรือหน่วย แล้วผู้ขายได้มอบใบตราส่งดังกล่าวให้แก่ธนาคารและธนาคารได้สลักหลังส่งมอบให้แก่ผู้ซื้ออีกชั้นหนึ่ง ผู้ซื้อได้เอาสินค้าดังกล่าวประกันภัยไว้กับโจทก์ เมื่อเรือจำเลยมาถึงประเทศไทย ผู้ซื้อไปรับสินค้าปรากฏว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตก สินค้าที่บรรจุมาส่วนหนึ่งสูญหาย โจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง กรณีนี้ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 ไม่ โดยให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้นถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใด ความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่า 500 เหรียญสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดนั่นเอง เมื่อไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วย จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง โจทก์จึงหาผูกพันให้ต้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียง 500 เหรียญสหรัฐอเมริกาไม่แต่มีสิทธิเรียกตามความเสียหายที่แท้จริง
ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้นถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใด ความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่า 500 เหรียญสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดนั่นเอง เมื่อไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วย จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง โจทก์จึงหาผูกพันให้ต้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียง 500 เหรียญสหรัฐอเมริกาไม่แต่มีสิทธิเรียกตามความเสียหายที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386-3387/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพ, ค่าจ้าง, เงินบำเหน็จ และการหักเงินประกันตัวเพื่อชำระหนี้
การหย่อนสมรรถภาพในการทำงานไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นประการใดประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 ข้อ 3.4 กำหนดว่า 'ค่าจ้าง' หมายความว่า เงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วย แต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการ หรือประโยชน์อย่างอื่น' ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น' ตามคำจำกัดความข้างต้น และตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่า ค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพ จึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้
ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัว พ.ศ.2525 เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงาน เป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงานเป็นสภาพการจ้าง และเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้ จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้
ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 ข้อ 3.4 กำหนดว่า 'ค่าจ้าง' หมายความว่า เงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วย แต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการ หรือประโยชน์อย่างอื่น' ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น' ตามคำจำกัดความข้างต้น และตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่า ค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพ จึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้
ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัว พ.ศ.2525 เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงาน เป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงานเป็นสภาพการจ้าง และเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้ จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386-3387/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, เงินบำเหน็จ, เงินประกันตัว และสภาพการจ้างในคดีแรงงาน
การหย่อนสมรรถภาพในการทำงานไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นประการใดประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2521ข้อ3.4กำหนดว่า'ค่าจ้าง'หมายความว่าเงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วยแต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลาโบนัสเบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการหรือประโยชน์อย่างอื่น'ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างจึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น'ตามคำจำกัดความข้างต้นและตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพจึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้ ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัวพ.ศ.2525เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงานเป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานเป็นสภาพการจ้างและเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้.