พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพทางการทำงานจากอาการป่วยเรื้อรัง มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งพนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทาง หลังจากโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยได้ 2 เดือน โจทก์ได้ลาป่วยทุกเดือนติดต่อกัน 7 เดือน โดยลาป่วยเดือนละ 1 วันถึง 8 วัน แสดงว่าสุขภาพของโจทก์ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถตรากตรำในหน้าที่พนักงานเก็บค่าโดยสารอันเป็นงานหนักไว้ กรณีถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน ถือเป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (3)และไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การรับฟังพยานหลักฐาน และค่าชดเชยในคดีแรงงาน
จำเลยนำส.พยานจำเลยเข้าสืบยังไม่จบปากแล้วแถลงไม่ติดใจสืบพยานปากนี้อีกต่อไปแต่ศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังคำเบิกความของส.โดยตรงเพราะยังมีพยานเอกสารและพยานบุคคลอีกหลายปากที่ศาลแรงงานกลางนำมาวินิจฉัยโดยไม่ว่าจะฟังคำเบิกความของส.หรือไม่ก็ไม่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางยอมรับคำเบิกความของส.มาวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย. การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายคำนวณราคาต้นทุนสินค้าแล้วขาดทุนทุกครั้งเป็นเพียงความสามารถที่จะทำให้เกิดผลในการงานเท่านั้นมิใช่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายส่วนในเรื่องประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนั้นศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กระทำโดยประมาทกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย. กรณีที่โจทก์ไม่ปฏิบัติงานตามระเบียบที่เคยปฏิบัติโดยไม่ยอมลงชื่อนำเงินไปฝากสถาบันการเงินที่จำเลยเคยฝากเป็นประจำดำเนินการประมูลงานไม่ได้ข้อเสนอของโจทก์ไม่เป็นผลดีแก่จำเลยนั้นพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องความคิดเห็นในการทำงานซึ่งอาจถูกหรือผิดได้ผลหรือไม่ได้ผลมิใช่เป็นเรื่องของการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การรับฟังพยาน และเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยนำ ส. พยานจำเลยเข้าสืบยังไม่จบปากแล้วแถลงไม่ติดใจสืบพยานปากนี้อีกต่อไป แต่ศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังคำเบิกความของส.โดยตรง เพราะยังมีพยานเอกสารและพยานบุคคลอีกหลายปากที่ศาลแรงงานกลางนำมาวินิจฉัย โดยไม่ว่าจะฟังคำเบิกความของ ส. หรือไม่ ก็ไม่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางยอมรับคำเบิกความของ ส. มาวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้าน จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายคำนวณราคาต้นทุนสินค้าแล้วขาดทุนทุกครั้ง เป็นเพียงความสามารถที่จะทำให้เกิดผลในการงานเท่านั้นมิใช่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ส่วนในเรื่องประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กระทำโดยประมาท กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่โจทก์ไม่ปฏิบัติงานตามระเบียบที่เคยปฏิบัติโดยไม่ยอมลงชื่อนำเงินไปฝากสถาบันการเงินที่จำเลยเคยฝากเป็นประจำ ดำเนินการประมูลงานไม่ได้ ข้อเสนอของโจทก์ไม่เป็นผลดีแก่จำเลยนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องความคิดเห็นในการทำงานซึ่งอาจถูกหรือผิด ได้ผลหรือไม่ได้ผล มิใช่เป็นเรื่องของการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายคำนวณราคาต้นทุนสินค้าแล้วขาดทุนทุกครั้ง เป็นเพียงความสามารถที่จะทำให้เกิดผลในการงานเท่านั้นมิใช่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ส่วนในเรื่องประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กระทำโดยประมาท กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่โจทก์ไม่ปฏิบัติงานตามระเบียบที่เคยปฏิบัติโดยไม่ยอมลงชื่อนำเงินไปฝากสถาบันการเงินที่จำเลยเคยฝากเป็นประจำ ดำเนินการประมูลงานไม่ได้ ข้อเสนอของโจทก์ไม่เป็นผลดีแก่จำเลยนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องความคิดเห็นในการทำงานซึ่งอาจถูกหรือผิด ได้ผลหรือไม่ได้ผล มิใช่เป็นเรื่องของการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรง: มึนเมาในที่ทำงาน, ก้าวร้าว, ละทิ้งหน้าที่
โจทก์มึนเมาสุราในเวลาทำงาน พูดจาก้าวร้าวท้าทาย ส.หัวหน้าแผนกธุรการแล้วละทิ้งหน้าที่ออกจากโรงงานไป เป็นการก่อให้เกิดสภาพไม่มีระเบียบวินัย ทำลายความสงบเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน ทำลายความสามัคคีก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท เสียหายต่อการปกครองบังคับบัญชา และเสียหายแก่การงานของจำเลยที่โจทก์ละทิ้งไป ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรงจากการมึนเมาและประพฤติตนไม่เหมาะสม
โจทก์มึนเมาสุราในเวลาทำงานพูดจาก้าวร้าวท้าทายส.หัวหน้าแผนกธุรการแล้วละทิ้งหน้าที่ออกจากโรงงานไปเป็นการก่อให้เกิดสภาพไม่มีระเบียบวินัยทำลายความสงบเรียบร้อยของสถานที่ทำงานทำลายความสามัคคีก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทเสียหายต่อการปกครองบังคับบัญชาและเสียหายแก่การงานของจำเลยที่โจทก์ละทิ้งไปถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากหมิ่นประมาทนายจ้างด้วยถ้อยคำรุนแรง ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เขียนข้อความนำไปปิดประกาศที่บอร์ดของสหภาพแรงงานเป็นข้อความวิจารณ์ด้วยถ้อยคำรุนแรงกล่าวหาผู้บริหารโรงแรมกลั่นแกล้งพนักงานสหภาพแรงงานเป็นทาสฝรั่ง แม่บ้านของโรงแรมประพฤติชั่ว จิตทราม เข้าลักษณะหมิ่นประมาทจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานหมิ่นประมาทนายจ้าง การกระทำที่เป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เขียนข้อความนำไปปิดประกาศที่บอร์ดของสหภาพแรงงานเป็นข้อความวิจารณ์ด้วยถ้อยคำรุนแรงกล่าวหาผู้บริหารโรงแรมกลั่นแกล้งพนักงานสหภาพแรงงานเป็นทาสฝรั่งแม่บ้านของโรงแรมประพฤติชั่วจิตทรามเข้าลักษณะหมิ่นประมาทจำเลยการกระทำของโจทก์เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีป้ายเกินกำหนดระยะเวลา และหนังสือแจ้งผลการหารือไม่ใช่การแจ้งการประเมิน
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงทำการประเมินใหม่แล้วแจ้งไปยังโจทก์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายลงวันที่ 1 มีนาคม 2526 โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 เดือนเดียวกันแต่มิได้อุทธรณ์ กลับโต้แย้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีหนังสือหารือผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ตอบมายังจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 คำนวณภาษีป้ายถูกต้องแล้ว ต่อมาวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบผลการหารือจำเลยที่ 3 กับให้โจทก์นำค่าภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มไปชำระภายใน 7 วันนับแต่วันรับหนังสือ ครั้นวันที่ 1 มิถุนายน 2526 โจทก์จึงอุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 3 ดังนี้ หนังสือลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไว้แล้วตามหนังสือของจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2526 ไปชำระแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น หาใช่หนังสือแจ้งการประเมินไม่ อุทธรณ์ของโจทก์จึงยื่นเกินกว่า 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
เมื่อหนังสือฉบับลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 มิใช่การแจ้งการประเมิน ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ทั้งกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินก็มิใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาปรับหาได้ไม่
เมื่อหนังสือฉบับลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 มิใช่การแจ้งการประเมิน ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ทั้งกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินก็มิใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาปรับหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ภาษีป้ายเกินกำหนด – หนังสือแจ้งผลหารือไม่ใช่การแจ้งการประเมิน – อายุความอุทธรณ์เริ่มนับจากหนังสือแจ้งการประเมิน
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายประจำปีพ.ศ.2526ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1โดยคำนวณว่าต้องเสียภาษีป้าย5,070บาทแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงทำการประเมินเป็นค่าภาษีทั้งสิ้น31,720บาทแล้วแจ้งไปยังโจทก์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายลงวันที่1มีนาคม2526โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่3มีนาคม2526โจทก์มิได้อุทธรณ์แต่ได้โต้แย้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่1มีหนังสือหารือผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3จำเลยที่3เห็นว่าจำเลยที่1คำนวณถูกต้องแล้วต่อมาวันที่24พฤษภาคม2526จำเลยที่1มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบผลการหารือจำเลยที่3และให้โจทก์นำค่าภาษีป้าย31,720บาทพร้อมเงินเพิ่ม317.20บาทไปชำระภายใน7วันนับแต่วันรับหนังสือครั้นวันที่1มิถุนายน2526โจทก์จึงอุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3ดังนี้เป็นการยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายเกินกำหนดเวลาตามมาตรา30แห่งพ.ร.บ.ภาษีป้ายพ.ศ.2510หนังสือฉบับหลังมิใช่หนังสือแจ้งการประเมินไม่อาจถือว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา173ทั้งกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินก็มิใช่อายุความจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาปรับหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีป้ายต้องยื่นภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การแจ้งให้ชำระภาษีไม่ใช่การแจ้งการประเมิน
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงทำการประเมินใหม่แล้วแจ้งไปยังโจทก์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายลงวันที่1มีนาคม2526โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่3เดือนเดียวกันแต่มิได้อุทธรณ์กลับโต้แย้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่1มีหนังสือหารือผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3จำเลยที่3ตอบมายังจำเลยที่1ว่าจำเลยที่1คำนวณภาษีป้ายถูกต้องแล้วต่อมาวันที่24พฤษภาคม2526จำเลยที่1มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบผลการหารือจำเลยที่3กับให้โจทก์นำค่าภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มไปชำระภายใน7วันนับแต่วันรับหนังสือครั้นวันที่1มิถุนายน2526โจทก์จึงอุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3ดังนี้หนังสือลงวันที่24พฤษภาคม2526เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไว้แล้วตามหนังสือของจำเลยที่1ลงวันที่1มีนาคม2526ไปชำระแก่จำเลยที่1เท่านั้นหาใช่หนังสือแจ้งการประเมินไม่อุทธรณ์ของโจทก์จึงยื่นเกินกว่า30วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินการที่จำเลยที่1มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว เมื่อหนังสือฉบับลงวันที่24พฤษภาคม2526มิใช่การแจ้งการประเมินย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173ทั้งกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินก็มิใช่อายุความจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาปรับหาได้ไม่.