พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4180/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากและสิทธิการครอบครองที่ดินหลังครบกำหนดไถ่ทรัพย์ ผู้รับซื้อฝากมีสิทธิขับไล่ผู้ขายฝากได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกอยู่บนที่ดินซึ่งโจทก์รับซื้อฝากไว้จากจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยขออาศัยอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวการขายฝากนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากย่อมตกได้แก่ผู้รับซื้อฝากคือโจทก์ ตั้งแต่วันจดทะเบียนการขายฝาก เพียงแต่จำเลยผู้ขายฝากมีสิทธิที่จะไถ่ทรัพย์คืนได้ภายในกำหนดสัญญาเท่านั้น ในขณะที่โจทก์ฟ้องโจทก์ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่ามีสิทธิอย่างใดที่จะอยู่ในที่ดินของโจทก์ ทั้งในสัญญาขายฝากก็มิได้ระบุให้สิทธิแก่จำเลยไว้ เมื่อโจทก์ไม่ต้องการให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไปและได้บอกกล่าวแล้วจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ และที่จำเลยอ้างว่าตึกแถวตามเลขที่ที่ระบุในสัญญาขายฝากเป็นคนละเลขที่กับตึกแถวที่ตกลงขายฝากกันก็มิใช่ประเด็นที่จะต้องพิจารณาในคดีนี้ เพราะถึงอย่างไรจำเลยก็ต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง ทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยแม้โจทก์จะอ้างว่าอาจให้เช่าได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 5,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่อยู่ในทำเลการค้า กำหนดค่าเสียหายให้เพียงเดือนละ 2,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์จึงถือได้ว่าทรัพย์พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเรียกค่าเสียหายจากค่าเช่า/ขายทรัพย์
คดีเดิมโจทก์ได้ฟ้องจำเลยขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 14 โฉนด พร้อมกับห้องแถว 14 ห้องและให้โอนที่ดินพร้อมกับห้องแถวดังกล่าวเป็นของโจทก์ โดยจำเลยได้ปลอมใบมอบอำนาจว่าโจทก์ที่ 1 ยกที่ดินและห้องแถวให้จำเลยโดยเสน่หาแล้ว จำเลยได้นำใบมอบอำนาจปลอมดังกล่าวไปทำการโอนที่ดินและห้องแถวเป็นของจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาแล้วโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้กล่าวอ้างว่าห้องแถว 6 ห้องในจำนวน14 ห้องที่โจทก์ฟ้องดังกล่าวจำเลยได้นำออกให้คนอื่นเช่าเก็บค่าเช่าเป็นผลประโยชน์ของจำเลย ขอให้จำเลยนำค่าเช่าไปวางศาลหรือธนาคารของรัฐและถ้าหากมีการเช่าห้องแถวจำนวน 6 ห้องในอนาคตก็ให้จำเลยคืนเงินค่าเช่าในอนาคตให้โจทก์ ระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดโดยให้จำเลยนำเงินค่าเช่าในอนาคตไปวางศาลหรือธนาคารของรัฐและถ้าหากมีการขายห้องแถว 6 ห้องดังกล่าวก็ให้จำเลยคืนเงินที่ขายได้ให้โจทก์ โดยระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดให้นำไปวางศาลหรือธนาคารของรัฐนั้น เห็นว่าเงินค่าเช่าและค่าขายทรัพย์พิพาทได้ในอนาคตที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยนำมาวางศาลในคดีนี้ก็คือค่าเสียหายและราคาทรัพย์อันเป็นผลเนื่องมาจากการที่จำเลยโอนที่ดินและห้องแถวพิพาทในคดีเดิมนั่นเอง ซึ่งค่าเสียหายและค่าขายทรัพย์ดังกล่าวตามที่ฟ้องในคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยโอนที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของตน สิทธิการฟ้องคดีนี้เกิดจากมูลกรณีเดียวกันกับข้ออ้างของโจทก์ในคดีเดิม จึงเป็นเรื่องเดียวกันโจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการชำระค่าเช่าและค่าเปลี่ยนชื่อผู้เช่าช่วง การบอกเลิกสัญญาเช่าจึงไม่ชอบ
ตามสัญญาเช่าไม่ได้ระบุว่าการชำระค่าเช่าให้ปฏิบัติต่อกันอย่างไร แต่การที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันว่าให้ผู้ให้เช่าเป็นฝ่ายไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าและปฏิบัติต่อกันเช่นนี้ตลอดมา จึงฟังได้ว่าผู้ให้เช่ามีหน้าที่ไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่า เมื่อผู้ให้เช่าไม่ไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่า จะถือว่าผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าอันเป็นเหตุให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1735/2517) ตามบันทึกต่อท้ายสัญญาเช่ามีใจความว่า ผู้เช่ามีสิทธิจะให้ผู้อื่นเช่าช่วงต่อไปได้แต่จะต้องเสียค่าเปลี่ยนชื่อให้ผู้เช่าครั้งละ 4,000 บาท คำว่า 'เปลี่ยนชื่อ' ในสัญญาข้อนี้ จึงย่อมหมายถึงการไปจดทะเบียนการเช่าเปลี่ยนชื่อผู้เช่าจากผู้เช่าเป็นชื่อผู้เช่าช่วง ในกรณีผู้เช่าให้เช่าช่วงโดยไม่มีการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าเป็นชื่อผู้เช่าช่วงตามที่จดทะเบียนการเช่าไว้ ผู้เช่าก็ไม่ต้องเสียค่าเปลี่ยนชื่อให้แก่ผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าเช่าและการเช่าช่วง: หน้าที่ผู้ให้เช่าไปเก็บค่าเช่า และการเสียค่าเปลี่ยนชื่อเฉพาะกรณีจดทะเบียน
ตามสัญญาเช่าไม่ได้ระบุว่าการชำระค่าเช่าให้ปฏิบัติต่อกันอย่างไรแต่การที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันว่าให้ผู้ให้เช่าเป็นฝ่ายไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าและปฏิบัติต่อกันเช่นนี้ตลอดมา จึงฟังได้ว่าผู้ให้เช่ามีหน้าที่ไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่า เมื่อผู้ให้เช่าไม่ไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่า จะถือว่าผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าอันเป็นเหตุให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1735/2517)
ตามบันทึกต่อท้ายสัญญาเช่ามีใจความว่า ผู้เช่ามีสิทธิจะให้ผู้อื่นเช่าช่วงต่อไปได้แต่จะต้องเสียค่าเปลี่ยนชื่อให้ผู้เช่าครั้งละ 4,000 บาท คำว่า 'เปลี่ยนชื่อ' ในสัญญาข้อนี้ จึงย่อมหมายถึงการไปจดทะเบียนการเช่าเปลี่ยนชื่อผู้เช่าจากผู้เช่าเป็นชื่อผู้เช่าช่วงในกรณีผู้เช่าให้เช่าช่วงโดยไม่มีการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าเป็นชื่อผู้เช่าช่วงตามที่จดทะเบียนการเช่าไว้ ผู้เช่าก็ไม่ต้องเสียค่าเปลี่ยนชื่อให้แก่ผู้ให้เช่า
ตามบันทึกต่อท้ายสัญญาเช่ามีใจความว่า ผู้เช่ามีสิทธิจะให้ผู้อื่นเช่าช่วงต่อไปได้แต่จะต้องเสียค่าเปลี่ยนชื่อให้ผู้เช่าครั้งละ 4,000 บาท คำว่า 'เปลี่ยนชื่อ' ในสัญญาข้อนี้ จึงย่อมหมายถึงการไปจดทะเบียนการเช่าเปลี่ยนชื่อผู้เช่าจากผู้เช่าเป็นชื่อผู้เช่าช่วงในกรณีผู้เช่าให้เช่าช่วงโดยไม่มีการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าเป็นชื่อผู้เช่าช่วงตามที่จดทะเบียนการเช่าไว้ ผู้เช่าก็ไม่ต้องเสียค่าเปลี่ยนชื่อให้แก่ผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา สิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ไม่ได้จดทะเบียน
สัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแต่มีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 5 ปี หาใช่เวลาเช่าไม่ปรากฏ ในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ซึ่งสัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ มิพักต้องบอกกล่าวก่อน จะนำมาตรา 566 มาปรับแก่คดีไม่ได้และการเช่ามีกำหนดกว่า 3 ปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538 ก็มิได้หมายความให้ เวลาส่วนที่เกินกว่า 3 ปี กลับเป็นการเช่าชนิดไม่มีกำหนดเวลาไป แต่อย่างใดไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา เมื่อครบกำหนดไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
สัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแต่มีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 5 ปี หาใช่เวลาเช่าไม่ปรากฏ ในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ซึ่งสัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้มิพักต้องบอกกล่าวก่อน จะนำมาตรา 566 มาปรับแก่คดีไม่ได้และการเช่ามีกำหนดกว่า 3 ปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538ก็มิได้หมายความให้ เวลาส่วนที่เกินกว่า 3 ปีกลับเป็นการเช่าชนิดไม่มีกำหนดเวลาไปแต่อย่างใดไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ ไม่เข้าข่ายชิงทรัพย์ เหตุไม่ได้มีเจตนาเอาทรัพย์ตั้งแต่แรก
จำเลยโกรธผู้เสียหายที่เดินชนจำเลยแล้วไม่ขอโทษ จำเลยจึงพาพวกอีกคนหนึ่งมารุมชกต่อย เตะและใช้ไม้ตีผู้เสียหายจนล้มลง บังเอิญนาฬิกาข้อมือของผู้เสียหายหลุดตกและ ผู้เสียหายเก็บนาฬิกาข้อมือ นั้นกลับคืนมาได้ แต่จำเลยใช้ไม้ตีผู้เสียหายอีกแล้วถือโอกาสแย่งเอา นาฬิกาข้อมือของผู้เสียหายไปหลังจากนั้นจำเลยยังใช้ไม้ตีซ้ำ จนผู้เสียหาย แกล้งทำเป็นสลบจำเลยกับพวกจึงวิ่งหนีไปดังนี้ถือได้ว่าการชกต่อยเตะตี ทำร้ายติดต่อกันเนื่องมาจากสาเหตุเดิมคือโกรธที่เดินชนหาใช่ทำร้าย โดยมีเจตนาจะเอาทรัพย์มาแต่แรกไม่ และการที่จำเลยแย่งเอา นาฬิกาข้อมือของผู้เสียหายไปในลักษณะดังกล่าวก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐาน ทำร้ายร่างกายและฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 กระทงเดียว ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 กระทงหนึ่ง และฐานลักทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่า ข้อหา ฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192 ที่แก้ไขใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 กระทงเดียว ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 กระทงหนึ่ง และฐานลักทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่า ข้อหา ฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192 ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำความผิด: ทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ ไม่ใช่ชิงทรัพย์
จำเลยโกรธผู้เสียหายที่เดินชนจำเลยแล้วไม่ขอโทษ จำเลยจึงพาพวกอีกคนหนึ่งมารุมชกต่อย เตะ และใช้ไม้ตีผู้เสียหายจนล้มลง บังเอิญนาฬิกาข้อมือของผู้เสียหายหลุดตกและผู้เสียหายเก็บนาฬิกาข้อมือนั้นกลับคืนมาได้ แต่จำเลยใช้ไม้ตีผู้เสียหายอีกแล้วถือโอกาสแย่งเอานาฬิกาข้อมือของผู้เสียหายไปหลังจากนั้นจำเลยยังใช้ไม้ตีซ้ำ จนผู้เสียหายแกล้งทำเป็นสลบ จำเลยกับพวกจึงวิ่งหนีไปดังนี้ ถือได้ว่าการชกต่อยเตะตีทำร้ายติดต่อกันเนื่องมาจากสาเหตุเดิมคือโกรธที่เดินชนหาใช่ทำร้ายโดยมีเจตนาจะเอาทรัพย์มาแต่แรกไม่ และการที่จำเลยแย่งเอานาฬิกาข้อมือของผู้เสียหายไปในลักษณะดังกล่าว ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐาน ทำร้ายร่างกายและฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 กระทงเดียว ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 กระทงหนึ่ง และฐานลักทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่า ข้อหาฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ที่แก้ไขใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 กระทงเดียว ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 กระทงหนึ่ง และฐานลักทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่า ข้อหาฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรที่ถูกต้อง และหน้าที่ในการสำแดงรายการสินค้า
การเสียภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้าของโจทก์ต้องเป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503บัญชีพิกัดอัตราอากรขาเข้า ท้ายพระราชกำหนดดังกล่าวที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วกำหนดสินค้ารถบรรทุก ชนิดพิคอับไว้ในประเภทที่87.02ค.(2) ให้ต้องเสียอากรขาเข้า ร้อยละ 80 เมื่อโจทก์นำรถบรรทุกชนิดพิคอับเข้ามาจึงต้องเสีย ค่าภาษีตามประเภทและอัตราที่กฎหมายกำหนดมิใช่เสียค่าภาษี ตามประกาศของอธิบดีกรมศุลกากร
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าโดยสำแดงประเภทของและเกณฑ์ปริมาณที่ต้องใช้ในการเก็บอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่จำแนกและกำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรหากแสดงไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้องมิให้ถือว่าบริบูรณ์จำเลยมีอำนาจเรียกเก็บส่วนที่ขาด ให้ครบเต็มจำนวนได้ตามกฎหมายจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าโดยสำแดงประเภทของและเกณฑ์ปริมาณที่ต้องใช้ในการเก็บอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่จำแนกและกำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรหากแสดงไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้องมิให้ถือว่าบริบูรณ์จำเลยมีอำนาจเรียกเก็บส่วนที่ขาด ให้ครบเต็มจำนวนได้ตามกฎหมายจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีอากรขาเข้าต้องเป็นไปตามพิกัดอัตราศุลกากรที่แก้ไขแล้ว ผู้สำแดงรายการไม่ถูกต้องมีความรับผิดชอบ
การเสียภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้าของโจทก์ต้องเป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 บัญชีพิกัดอัตราอากรขาเข้าท้ายพระราชกำหนดดังกล่าวที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วกำหนดสินค้ารถบรรทุกชนิดพิคอับไว้ในประเภทที่ 87.02 ค.(2) ให้ต้องเสียอากรขาเข้าร้อยละ 80 เมื่อโจทก์นำรถบรรทุกชนิดพิคอับเข้ามาจึงต้องเสียค่าภาษีตามประเภทและอัตราที่กฎหมายกำหนด มิใช่เสียค่าภาษีตามประกาศของอธิบดีกรมศุลกากร
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าโดยสำแดงประเภทของและเกณฑ์ปริมาณที่ต้องใช้ในการเก็บอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่จำแนกและกำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร หากแสดงไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้องมิให้ถือว่าบริบูรณ์ จำเลยมีอำนาจเรียกเก็บส่วนที่ขาดให้ครบเต็มจำนวนได้ตามกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าโดยสำแดงประเภทของและเกณฑ์ปริมาณที่ต้องใช้ในการเก็บอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่จำแนกและกำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร หากแสดงไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้องมิให้ถือว่าบริบูรณ์ จำเลยมีอำนาจเรียกเก็บส่วนที่ขาดให้ครบเต็มจำนวนได้ตามกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์