พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,313 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยมิชอบ และสิทธิในการยื่นคำขอเสียภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529
ในการจ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว. แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตาม ป. รัษฎากรมาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 5 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่ง พ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359 ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1นำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ จ. 1 ได้จึงไม่มีผลเป็นการตัดสิทธิโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว.
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงาน แต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตาม ป. รัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ.
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ก่อน.
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงาน แต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตาม ป. รัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ.
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย: การส่งหนังสือแจ้งประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการยื่นคำขอเสียภาษีตามมาตรา 30
โจทก์จ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โดยไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายจำเลยจึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว.แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยนำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ อ.1 ได้ จึงไม่ชอบ
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงานแต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้นทุกประการ
พิพากษายืน.
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงานแต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้นทุกประการ
พิพากษายืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานประกอบการถาวรตามสนธิสัญญาภาษีซ้อน การมีอำนาจเจรจาทำสัญญาเป็นปัจจัยสำคัญ
โจทก์มิได้มีอำนาจทั่วไปในการเจรจาและตกลงทำสัญญาต่าง ๆแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสันจำกัดซึ่งเป็นวิสาหกิจของประเทศสวีเดนตั้งอยู่ในประเทศสวีเดนเป็นปกติวิสัย โจทก์จึงไม่เป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัดตามความตกลงว่าด้วยอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน โจทก์จึงไม่มีภาระที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานประกอบการถาวร - การมีอำนาจเจรจาและทำสัญญา - ความตกลงภาษีซ้อน
โจทก์มิได้มีอำนาจทั่วไปในการเจรจาและตกลงทำสัญญาต่าง ๆ แทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด บริษัทต่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสวีเดนเป็นปกติวิสัย โจทก์จึงไม่เป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัท แอลเอ็มอีริคสัน จำกัด ตามความตกลงว่าด้วยอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้น การเก็บภาษีซ้อน โจทก์จึงไม่มีภาระที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379-2380/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาที่ถูกต้อง และขอบเขตความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน การส่งหมายแจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาจึงต้อง แจ้งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 4 การที่ศาลชั้นต้นให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 4 ไม่ทราบวันนัดศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งที่ให้ถือ ว่าจำเลยที่ 4 ได้ ทราบคำพิพากษานั้นเสียได้ โดย ให้ถือ ว่าจำเลยที่ 4 ยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาและให้ถือ ว่าได้ ฟังคำพิพากษาในวันนัดพร้อมเพื่อพิจารณาคำร้องขอให้แจ้งวันนัดและพิพากษาใหม่ของจำเลยที่ 4 ได้
ผู้ตายโดยสารมาในรถยนต์ ของจำเลยที่ 3 ซึ่ง เดิน ด้วย กำลังเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับรถยนต์ ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายมิได้เกิดจากยานพาหนะที่เดิน ด้วยกำลังเครื่องจักรกลของจำเลยที่ 3 แต่ ฝ่ายเดียว จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 อันว่าด้วยหน้าที่นำสืบมาใช้ บังคับไม่ได้
ผู้ตายโดยสารมาในรถยนต์ ของจำเลยที่ 3 ซึ่ง เดิน ด้วย กำลังเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับรถยนต์ ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายมิได้เกิดจากยานพาหนะที่เดิน ด้วยกำลังเครื่องจักรกลของจำเลยที่ 3 แต่ ฝ่ายเดียว จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 อันว่าด้วยหน้าที่นำสืบมาใช้ บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379-2380/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย และความรับผิดของนายจ้าง/ผู้รับประกันภัยในคดีละเมิด
จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน การส่งหมายแจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาจึงต้องแจ้งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 4 การที่ศาลชั้นต้นให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 4 ไม่ทราบวันนัด ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งที่ให้ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ทราบคำพิพากษานั้นเสียได้ โดยให้ถือว่าจำเลยที่ 4 ยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาและให้ถือว่าได้ฟังคำพิพากษาในวันนัดพร้อมเพื่อพิจารณา คำร้องขอให้แจ้งวันนัดและพิพากษาใหม่ของจำเลยที่ 4 ได้.
ผู้ตายโดยสารมาในรถยนต์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายมิได้เกิดจากยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลของจำเลยที่ 3 แต่ฝ่ายเดียว จึงนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437 อันว่าด้วยหน้าที่นำสืบมาใช้บังคับไม่ได้.
ผู้ตายโดยสารมาในรถยนต์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายมิได้เกิดจากยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลของจำเลยที่ 3 แต่ฝ่ายเดียว จึงนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437 อันว่าด้วยหน้าที่นำสืบมาใช้บังคับไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379-2380/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดพิจารณาคดีและการรับผิดในความเสียหายจากยานพาหนะ
จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน การส่งหมายแจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาจึงต้อง แจ้งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 4 การที่ศาลชั้นต้นให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 4 ไม่ทราบวันนัดศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งที่ให้ถือ ว่าจำเลยที่ 4 ได้ ทราบคำพิพากษานั้นเสียได้ โดย ให้ถือ ว่าจำเลยที่ 4 ยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาและให้ถือ ว่าได้ ฟังคำพิพากษาในวันนัดพร้อมเพื่อพิจารณาคำร้องขอให้แจ้งวันนัดและพิพากษาใหม่ของจำเลยที่ 4 ได้ ผู้ตายโดยสารมาในรถยนต์ ของจำเลยที่ 3 ซึ่ง เดิน ด้วย กำลังเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับรถยนต์ ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายมิได้เกิดจากยานพาหนะที่เดิน ด้วยกำลังเครื่องจักรกลของจำเลยที่ 3 แต่ ฝ่ายเดียว จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 อันว่าด้วยหน้าที่นำสืบมาใช้ บังคับไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อหากำไรถือเป็นธุรกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องเสียภาษีการค้า แม้จะมีหนี้สิน
เมื่อปี พ.ศ. 2492 โจทก์ซื้อที่ดิน 1 แปลงเนื้อที่ 11 ไร่ราคา 22,320 บาท ต่อมาปี พ.ศ. 2520 โจทก์แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 102 แปลงและให้ห้าง ส. ลงทุนทำถนน สร้างตึกแถว ติดตั้งไฟฟ้าและน้ำประปาลงบนที่ดินที่แบ่งแยก จากนั้นโจทก์และห้าง ส.ก็ขายที่ดินและตึกแถวโดยโจทก์จดทะเบียนขายเฉพาะที่ดิน ห้าง ส.ทำสัญญาขายเฉพาะตึกแถว โจทก์ขายที่ดินในราคาตารางวาละ 5,000 บาทได้เงินมาแล้ว 9 ล้านบาทเศษ ได้กำไรถึงประมาณ 1,000 บาท เห็นได้ว่าโจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องเสียภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรเข้าข่ายต้องเสียภาษีการค้า แม้จะอ้างว่ามีหนี้สิน
เมื่อปี พ.ศ. 2492 โจทก์ซื้อที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 11 ไร่ ราคา 22,320 บาท ต่อมาปี พ.ศ. 2520 โจทก์แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 102 แปลง และให้ห้าง ส. ลงทุนทำถนนสร้างตึกแถวติดตั้งไฟฟ้าและน้ำประปาลงบนที่ดินที่แบ่งแยก จากนั้นโจทก์และห้าง ส. ก็ขายที่ดินและตึกแถวโดยโจทก์จดทะเบียนขายเฉพาะที่ดินห้าง ส. ทำสัญญาขายเฉพาะตึกแถว โจทก์ขายที่ดินในราคาตารางวาละ 5,000 บาท ได้เงินมาแล้ว 9 ล้านบาทเศษ ได้กำไรถึงประมาณ 1,000 เท่า เห็นได้ว่าโจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรและหน้าที่เสียภาษี
เมื่อปี พ.ศ. 2492 โจทก์ซื้อ ที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 11 ไร่ราคา 22,320 บาท ต่อ มาปี พ.ศ. 2520 โจทก์แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 102 แปลงและให้ห้าง ส. ลงทุนทำถนน สร้างตึกแถวติดตั้ง ไฟฟ้าและน้ำประปาลงบนที่ดินที่แบ่งแยก จากนั้นโจทก์และห้าง ส. ก็ขายที่ดินและตึกแถวโดย โจทก์จดทะเบียนขายเฉพาะ ที่ดินห้าง ส. ทำสัญญาขายเฉพาะ ตึกแถว โจทก์ขายที่ดินในราคาตารางวาละ5,000 บาท ได้ เงินมาแล้ว 9 ล้านบาทเศษ ได้ กำไรถึง ประมาณ1,000 เท่า เห็นได้ว่าโจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ ต้อง เสียภาษีการค้า.