พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,313 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีและการนับระยะเวลาอุทธรณ์: ผลของการปิดประกาศแจ้งนัดและการที่โจทก์ทราบคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบหน้าศาล เมื่อถึงวันนัดโจทก์ไม่มาศาล จะถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาซึ่งศาลชั้นต้นได้อ่านในวันดังกล่าวแล้วไม่ได้ เพราะกำหนดเวลายังมิได้ล่วงพ้นไปสิบห้าวันนับแต่วันที่ปิดประกาศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ต้องถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาในวันที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดคำพิพากษา และโจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์และการพิพากษาทางภาระจำยอมโดยอายุความ
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 12 เมษายน 2527 โจทก์ลงชื่อทราบคำสั่งแล้ว ครั้นถึงวันนัดโจทก์ไม่มาศาล ศาลสั่งให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปเป็นวันที่ 24 เมษายน 2527 โดยให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบหน้าศาล ดังนี้ เมื่อกำหนดเวลามิได้ล่วงพ้นไปสิบห้าวันนับแต่วันปิดประกาศตามที่ระบุไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 การอ่านคำพิพากษาในวันที่ 24 เมษายน 2527 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายจะถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาแล้วไม่ได้
โจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดคำพิพากษาวันที่ 15 มิถุนายน 2527 และไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่าได้มีการอ่านคำพิพากษาก่อนวันดังกล่าว จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาในวันที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดคำพิพากษา ดังนี้ การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันนั้นจึงชอบแล้ว
ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าออกถนนสาธารณะผ่านที่ดินของจำเลยโดยพลการ โดยมิได้ขออนุญาตหรือได้รับอนุญาตจากจำเลย จึงเป็นการใช้เพื่อตน เมื่อได้ใช้ทางพิพาทมาเกิน 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดคำพิพากษาวันที่ 15 มิถุนายน 2527 และไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่าได้มีการอ่านคำพิพากษาก่อนวันดังกล่าว จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาในวันที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดคำพิพากษา ดังนี้ การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันนั้นจึงชอบแล้ว
ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าออกถนนสาธารณะผ่านที่ดินของจำเลยโดยพลการ โดยมิได้ขออนุญาตหรือได้รับอนุญาตจากจำเลย จึงเป็นการใช้เพื่อตน เมื่อได้ใช้ทางพิพาทมาเกิน 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเมื่อหนี้ค่าหุ้นที่จำเลยต้องรับผิดรวมกันเกินกว่าหนี้ภาษีที่โจทก์มีสิทธิได้รับ
บริษัท ส. ซึ่งถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างค้างชำระค่าภาษีกากรแก่โจทก์รวม 334,537.34 บาท เฉพาะเงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ถึง จำเลยที่ 6 และที่ 8 ค้างชำระค่าหุ้นของบริษัท ส. รวมเป็นเงิน 374,250 บาท ซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินค่าภาษีที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทั้งหมด แม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากหนี้เงินค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 หรือไม่ก็ตาม เมื่อเงินต้นที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์รวมกันเกินกว่าจำนวนหนี้ทั้งหมดที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับ ดังนี้ ไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิเรียกดอกเบี้ยเมื่อหนี้ค่าหุ้นที่จำเลยต้องรับผิดชอบรวมกันเกินจำนวนหนี้ภาษีที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง
บริษัท ส. ซึ่งถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างค้างชำระค่าภาษีกากรแก่โจทก์รวม 334,537.34 บาท เฉพาะเงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ถึง จำเลยที่ 6 และที่ 8 ค้างชำระค่าหุ้นของบริษัท ส. รวมเป็นเงิน 374,250 บาท ซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินค่าภาษีที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทั้งหมด แม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากหนี้เงินค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 หรือไม่ก็ตาม เมื่อเงินต้นที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์รวมกันเกินกว่าจำนวนหนี้ทั้งหมดที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับ ดังนี้ ไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดตามคำสั่ง คปถ.ฉบับที่ 42: ข่าวต้องกระทบต่อประชาชนทั่วไป ไม่ใช่แค่กลุ่มเฉพาะ
ข่าวมีลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตกใจ หรือวิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัว ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 ข้อ 2(6) นั้น หมายถึงข่าวคราวที่มีลักษณะอาจทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความตื่นตกใจวิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัว หาใช่ข่าวที่เพียงอาจทำให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือคนใดคนหนึ่งเกิดความตื่นตกใจหรือวิตกกังวลหรือหวาดกลัวไม่ การที่จำเลยพิมพ์และโฆษณาข้อความโดยพิมพ์พาดหัวหนังสือพิมพ์ประจำวันของจำเลยว่า "ห่วงหลุด เสียเงินหมื่น เลือดไหลไม่หยุดเจ็บปวด ทรมาน" ภายในเนื้อข่าวเป็นเรื่องราวของนาง ว. ซึ่งได้รับการใส่ห่วงยางเพื่อคุมกำเนิดจากโรงพยาบาล อ. เมื่อกลับมาบ้านแล้วรู้สึกเจ็บปวด เลือดไหลอยู่ 4 วัน ครั้นเลือดหยุดก็ยังมีอาการปวดอยู่ นาง ว. ต้องไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลอื่น และต้องเสียค่ารักษาพยาบาลถึง 14,000 บาท ข้อความตามข่าวมิใช่ความเท็จ หรือมีการบิดเบือนข้อเท็จจริง ทั้งมีลักษณะเป็นข่าวอยู่ในวงเฉพาะสตรีที่มีสามีแล้ว และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์เท่านั้นซึ่งหาใช่ข่าวที่อาจทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความตื่นตกใจ วิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัวไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 ข้อ 2(6).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่าวใส่ห่วงหลุดไม่เข้าข่ายยุยงตื่นตกใจ แค่เป็นข่าวเฉพาะกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์
ข่าวมีลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตกใจหรือวิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัว ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 ข้อ 2(6) นั้นหมายถึงข่าวคราวที่มีลักษณะอาจทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความตื่นตกใจวิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัว หาใช่ข่าวที่เพียงอาจทำให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือคนใดคนหนึ่งเกิดความตื่นตกใจหรือวิตกกังวลหรือหวาดกลัวไม่
การที่จำเลยได้พิมพ์และโฆษณาข้อความโดยพิมพ์พาดหัวหนังสือพิมพ์ประจำวันของจำเลยว่า "ห่วงหลุด เสียเงินหมื่นเลือดไหลไม่หยุด เจ็บปวดทรมาน" ภายในเนื้อข่าวเป็นเรื่องราวของนาง ว. เรื่องได้รับการใส่ห่วงยางเพื่อคุมกำเนิดจากโรงพยาบาลอ. เมื่อกลับมาบ้านแล้วรู้สึกเจ็บปวด เลือดไหลอยู่ 4 วัน ครั้นเลือดหยุดก็ยังมีอาการปวดอยู่ นาง ว. ต้องไปผ่าตัดโรงพยาบาลอื่น และต้องเสียค่ารักษาพยาบาลถึง14,000 บาท ดังนี้เป็นข่าวอยู่ในวงเฉพาะของสตรีที่มีสามีแล้ว และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ เท่านั้น ซึ่งหาใช่ข่าวที่อาจทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความตื่นตกใจ วิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัวไม่ จึงไม่เป็นความผิดตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 ข้อ 2(6).
การที่จำเลยได้พิมพ์และโฆษณาข้อความโดยพิมพ์พาดหัวหนังสือพิมพ์ประจำวันของจำเลยว่า "ห่วงหลุด เสียเงินหมื่นเลือดไหลไม่หยุด เจ็บปวดทรมาน" ภายในเนื้อข่าวเป็นเรื่องราวของนาง ว. เรื่องได้รับการใส่ห่วงยางเพื่อคุมกำเนิดจากโรงพยาบาลอ. เมื่อกลับมาบ้านแล้วรู้สึกเจ็บปวด เลือดไหลอยู่ 4 วัน ครั้นเลือดหยุดก็ยังมีอาการปวดอยู่ นาง ว. ต้องไปผ่าตัดโรงพยาบาลอื่น และต้องเสียค่ารักษาพยาบาลถึง14,000 บาท ดังนี้เป็นข่าวอยู่ในวงเฉพาะของสตรีที่มีสามีแล้ว และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ เท่านั้น ซึ่งหาใช่ข่าวที่อาจทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความตื่นตกใจ วิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัวไม่ จึงไม่เป็นความผิดตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 ข้อ 2(6).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดอาญา: การกระทำร่วมกันเป็นกรรมเดียวกัน
จำเลยทั้งสองร่วมกันนำเฮโรอีนจำนวนเดียว กันออกนอกประเทศแต่ แบ่งแยกหน้าที่กันซุกซ่อน โดย จำเลยที่ 1 ซุกซ่อน ติดตัว ไป 3 ก้อนจำเลยที่ 2 ซุกซ่อน ติดตัว ไป 9 ก้อน จำเลยทั้งสองนั่งรถแท็กซี่คันเดียวกันไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพเพื่อเดินทางออกนอกประเทศโดย เครื่องบินลำเดียวกัน และถูก จับในเวลาไล่เลี่ยกัน ขณะอยู่ห่างกัน 40 เมตร ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันกระทำผิดในกรรมเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 2 เคยถูก โจทก์ฟ้องและมีคำพิพากษาถึงที่สุดในกรรมนี้ไปแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ศาลชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เฉพาะตัว จำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดอาญาเดียวกัน
จำเลยทั้งสองร่วมกันนำเฮโรอีนจำนวนเดียว กันออกนอกประเทศแต่ แบ่งแยกหน้าที่กันซุกซ่อน โดย จำเลยที่ ๑ ซุกซ่อน ติดตัว ไป ๓ ก้อนจำเลยที่ ๒ ซุกซ่อน ติดตัว ไป ๙ ก้อน จำเลยทั้งสองนั่งรถแท็กซี่คันเดียวกันไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพเพื่อเดินทางออกนอกประเทศโดย เครื่องบินลำเดียวกัน และถูก จับในเวลาไล่เลี่ยกัน ขณะอยู่ห่างกัน ๔๐ เมตร ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันกระทำผิดในกรรมเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ ๒ เคยถูก โจทก์ฟ้องและมีคำพิพากษาถึงที่สุดในกรรมนี้ไปแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ ๒อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๓๙(๔) ศาลชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เฉพาะตัว จำเลยที่ ๒.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดร่วมกัน: การกระทำความผิดกรรมเดียวกัน แม้แบ่งหน้าที่ซุกซ่อนยาเสพติด
จำเลยทั้งสองร่วมกันนำเฮโรอีนออกนอกประเทศ โดยจำเลยที่ 1พกติดตัวไป 3 ก้อน จำเลยที่ 2 พกติดตัวไป 9 ก้อน จำเลยทั้งสองนั่งรถแท็กซี่คันเดียวกันไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพเพื่อเดินทางออกนอกประเทศโดยเครื่องบินลำเดียวกัน ทั้งสองคนถูกจับในเวลาไล่เลี่ยกันขณะอยู่ห่างกัน 40 เมตร ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันกระทำผิดในกรรมเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 2 เคยถูกโจทก์ฟ้องและมีคำพิพากษาถึงที่สุดในกรรมนี้ไปแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)ศาลชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เฉพาะตัวจำเลยที่ 2.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีร่วมกระทำผิด: การพิพากษาถึงที่สุดในคดีหนึ่งย่อมห้ามมิให้ฟ้องคดีซ้ำในความผิดเดียวกัน
จำเลยทั้งสองร่วมกันนำเฮโรอีนจำนวนหนึ่งออกนอกประเทศ โดยแบ่งแยกกันซุกซ่อนตามร่างกายของจำเลยทั้งสองแล้วนั่งรถแท๊กซี่คันเดียวกันไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพเพื่อเดินทางออกนอกประเทศโดยเครื่องบินลำเดียวกัน ถูกจับที่ท่าอากาศยานในเวลาไล่เลี่ยกันขณะอยู่ห่างกัน 40 เมตร ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันกระทำผิดในกรรมเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 2 เคยถูกฟ้องและมีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 อีกเป็นฟ้องซ้ำศาลชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เฉพาะตัวจำเลยที่ 2