คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เปล่งวิทยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานโจทก์มีเหตุให้สงสัยไม่น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดชิงทรัพย์ จึงยกฟ้อง
พยานโจทก์มีเหตุที่สงสัยไม่น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองจะเป็นคนร้ายชิงทรัพย์ เป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ตามศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานโจทก์น่าสงสัย ไม่น่าเชื่อถือ คดีชิงทรัพย์ ยกฟ้อง
พยานโจทก์มีเหตุที่สงสัยไม่น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองจะเป็นคนร้ายชิงทรัพย์ เป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ตามศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเงินค่าใช้สอยล่วงหน้า: การเบิกจ่ายโดยไม่มีเงื่อนไขผูกพัน ไม่ถือเป็นการยักยอก
จำเลยเป็นผู้จัดการฝ่ายส่งออกของโจทก์ได้เบิกเงินค่าใช้สอยล่วงหน้าเป็นค่าเดินทางไปติดต่อธุรกิจต่างประเทศจากโจทก์รวม56ครั้งเงินที่เบิกไปนี้จำเลยมีสิทธิครอบครองใช้จ่ายได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขออนุมัติจากโจทก์ทั้งโจทก์มิได้กำหนดการจ่ายไว้เป็นที่แน่นอนสุดแล้วแต่จำเลยจะเห็นสมควรใช้จ่ายอย่างใดแล้วนำหลักฐานมาหักหนี้ในทางบัญชีกับโจทก์ในภายหลังกรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ได้รับไปจากโจทก์หาใช่จำเลยครอบครองเงินดังกล่าวไว้แทนโจทก์ไม่ดังนั้นแม้ต่อมาจำเลยออกจากบริษัทโจทก์และส่งหลักฐานการใช้จ่ายเบิกเงินล่วงหน้าได้เพียงบางส่วนเงินที่เหลือไม่มีหลักฐานมาแสดงก็ตามโจทก์ก็ชอบที่จะเรียกร้องทางแพ่งเอาแก่จำเลยกรณีไม่มีมูลความผิดทางอาญาฐานยักยอก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเงินค่าใช้สอยและการหักหนี้: เมื่อจำเลยมีสิทธิใช้จ่ายเองและนำหลักฐานมาหักหนี้ได้
เงินค่าใช้สอยที่จำเลยเบิกไปจากโจทก์จำเลยมีสิทธิครอบครองใช้จ่ายได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขออนุมัติจากโจทก์ทั้งโจทก์มิได้กำหนดการจ่ายไว้เป็นที่แน่นอนสุดแล้วแต่จำเลยจะเห็นสมควรใช้จ่ายอย่างใดแล้วนำหลักฐานมาหักหนี้ในทางบัญชีกับโจทก์ในภายหลังกรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ได้รับไปจากโจทก์หาใช่จำเลยครอบครองเงินดังกล่าวไว้แทนโจทก์หากจำเลยไม่มีหลักฐานมาหักหนี้หรือมีเงินเหลือแล้วไม่ส่งคืนโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องทางแพ่งเอาแก่จำเลยกรณีไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานยักยอก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายเงินค่าใช้สอยและกรรมสิทธิ์ในเงิน กรณีไม่มีข้อกำหนดการใช้จ่ายชัดเจน ไม่ถือเป็นยักยอก
เงินค่าใช้สอยที่จำเลยเบิกไปจากโจทก์ จำเลยมีสิทธิครอบครองใช้จ่ายได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขออนุมัติจากโจทก์ ทั้งโจทก์มิได้กำหนดการจ่ายไว้เป็นที่แน่นอน สุดแล้วแต่จำเลยจะเห็นสมควรใช้จ่ายอย่างใด แล้วนำหลักฐานมาหักหนี้ในทางบัญชีกับโจทก์ในภายหลัง กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ได้รับไปจากโจทก์ หาใช่จำเลยครอบครองเงินดังกล่าวไว้แทนโจทก์ หากจำเลยไม่มีหลักฐานมาหักหนี้หรือมีเงินเหลือแล้วไม่ส่งคืน โจทก์ชอบที่จะเรียกร้องทางแพ่งเอาแก่จำเลย กรณีไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท และข้อยกเว้นการใช้เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว ยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1(ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่6) พ.ศ.2518 มาตรา 6ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่า ค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับข้อพิพาท ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และข้อยกเว้นการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว ยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1 (ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 6 ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่าค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การชดใช้ค่าเสียหายโดยผู้เอาประกันภัยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้รับประกันภัย และข้อยกเว้นการรับผิด
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่2กับจำเลยที่1ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียวยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยอีกจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้วจุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่1(ผู้รับช่วงสิทธิ)เรียกร้องไม่เกิน50,000บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่6)พ.ศ.2518มาตรา6ข้อที่จำเลยที่2ที่3ฎีกาว่าค่าเสียหายของโจทก์ที่1จำนวน23,495บาทไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่2ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำ/ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีสัญญาจ้างเหมา กรณีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน แม้คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อน จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย ในข้อหาว่า โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ที่โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลน ตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาด ของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 จึงมีประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ และจะต้องใช้ค่าเสียหาย แก่จำเลยที่ 1เท่าใด ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญา กับโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชนต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดิน ของเอกชนดังกล่าวแล้ว จึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์ ดังนี้ มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา จ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษา รุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการ ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้น จะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1 ต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีสัญญาจ้างเหมา การฟ้องคดีเดิมซ้ำต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีก่อนจำเลยที่1เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลยในข้อหาว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่โจทก์จ้างจำเลยที่1ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์และโจทก์ได้สั่งให้จำเลยที่1ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลนตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาดของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่1จึงมีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่และจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่1เท่าใดศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่1เพราะจำเลยที่1ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญากับโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่1และจำเลยที่2เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชนต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดินของเอกชนดังกล่าวแล้วจึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไปแต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังนี้มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษารุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามมาตรา148เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกายังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแม้ศาลชั้นต้นจะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม จำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่1จึงมีผลถึงจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ด้วย.
of 33