คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางภาษีของบุคคลในคณะบุคคลและการยึดทรัพย์เพื่อชำระภาษีค้างชำระ
ตามมาตรา 6 ประกอบมาตรา 56 วรรคสอง และมาตรา 56 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากรฯ ผู้จัดการคณะบุคคลมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีและครึ่งปีในชื่อของคณะบุคคล เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบและประเมินภาษีไปยังผู้จัดการคณะบุคคลได้ไม่จำต้องออกหมายเรียกตรวจและประเมินไปยังบุคคลในคณะบุคคลอีกเมื่อผู้จัดการคณะบุคคลได้รับหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในชื่อของคณะบุคคลแล้ว ก็ถือเป็นการประเมินโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลในคณะบุคคลจะมิได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่ทำให้การประเมินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากรฯ ถ้าคณะบุคคลมีภาษีค้างชำระ บุคคลในคณะบุคคลทุกคนต้องร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย ฉะนั้น เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง จำเลยจึงอาศัยมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากรฯ ยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของบุคคลในคณะบุคคลได้ เมื่อโจทก์เป็นบุคคลในคณะบุคคลซึ่งค้างชำระภาษีอากร จำเลยจึงมีอำนาจ ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของคณะบุคคลทางภาษี: การแก้ไขคำฟ้องและการเป็นบุคคลตามกฎหมาย
การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาข้ออ้างที่มีต่อจำเลยอันกล่าวไว้ในคำฟ้อง ที่เสนอต่อศาลแต่แรกโดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ แต่คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุ ไว้แน่ชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 เข้ามาในภายหลัง จึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลแต่อย่างใด
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีจะต้องเป็นบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ซึ่งคำว่า "บุคคล" ตาม ป.พ.พ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โจทก์เป็นเพียงคณะบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ป.รัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ทั้งยังไม่ปรากฏว่าเป็นการฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่ใช่ทั้งบุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การซื้อขายหุ้น, การรับเช็คของขวัญ, และการหาผลประโยชน์จากตั๋วสัญญาใช้เงิน การประเมินและพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา49แห่งประมวลรัษฎากรเพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้นแม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา49แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา19,20,23,24แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน15,000,000บาทให้ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่นแล้วด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่างๆต่อมาด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48บาทซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน1,301,946.48บาทน่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินและโจทก์ก็อ้างว่าด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา50ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษีณที่จ่ายไว้เมื่อด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีกตามประมวลรัษฎากรมาตรา6,42(14)และ56วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี2533จำนวน46ฉบับรวมเป็นเงิน83,102,500บาทนั้นโจทก์นำสืบว่าบริษัทส. จำกัดมอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดินโดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้แม้บริษัทส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง85,000,000บาทเศษดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัทส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับโดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา40(8)ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษีเงินได้: เช็คของขวัญ, เงินซื้อหุ้น, และเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงิน การพิจารณาแหล่งที่มาและภาระภาษี
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้น แม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา 19,20,23,24 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน 15,000,000 บาท ให้ ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่น แล้ว ด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่าง ๆ ต่อมา ด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48 บาท ซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน 1,301,946.48 บาท น่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน และโจทก์ก็อ้างว่า ด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เมื่อ ด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีก ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 6,42(14) และ 56 วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี 2533 จำนวน 46 ฉบับรวมเป็นเงิน 83,102,500 บาท นั้น โจทก์นำสืบว่าบริษัท ส. จำกัด มอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดิน โดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้ แม้บริษัท ส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง 85,000,000 บาทเศษ ดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัท ส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับ โดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: สัญญาซื้อขาย vs. จ้างทำของ และสิทธิในการอุทธรณ์การประเมินภาษี
โจทก์จำหน่ายรองเท้าโดยผลิตเองบ้าง สั่งซื้อรองเท้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศบ้าง และสั่งทำจากร้านต่างๆ ในประเทศบ้างนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับร้านผู้ทำรองเท้าสำหรับรองเท้าที่ทำในประเทศจะเข้าลักษณะสัญญาประเภทใด ก็ย่อมต้องดูเจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกัน เมื่อได้ความว่าโจทก์กับร้านผู้ทำรองเท้าตกลงกันเป็นเรื่องซื้อขายและปรากฏด้วยว่าผู้ทำรองเท้าเหล่านั้นได้ยื่นรายรับแสดงการชำระภาษีการค้า ในฐานะผู้ผลิตต่อกรมสรรพากร และชำระค่าภาษีไปแล้วจึงสนับสนุนให้เห็นเจตนาของโจทก์กับร้านเหล่านั้นว่ามุ่งที่จะก่อนิติสัมพันธ์กันในทางซื้อขาย มิใช่เรื่องเจตนาจ้างทำของ ส่วนที่มีข้อตกลงให้ร้านผู้ทำรองเท้าต้องทำรองเท้าตามชนิดขนาด ลักษณะ แบบ และวัสดุที่โจทก์กำหนดจะผลิตออกจำหน่ายแก่ผู้อื่นไม่ได้ ร้านผู้ทำรองเท้าต้องประทับตราเครื่องหมายการค้าของโจทก์บนรองเท้า และหีบห่อและต้องยินยอมให้โจทก์เข้าไปตรวจการผลิตรองเท้าก็เป็นเงื่อนไขที่คู่สัญญาซื้อขายอาจตกลงกำหนดเป็นข้อบังคับกันได้ ตามพาณิชโยบายของทั้งสองฝ่ายหาทำให้เจตนาของคู่สัญญาแปรเปลี่ยนไปไม่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อรองเท้าดังกล่าวไม่ใช่ผู้ผลิตโจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตรองเท้านั้น
การที่กรมสรรพากรประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์และโจทก์ได้ชำระไปตามการประเมินนั้น ไม่ใช่เรื่องกรมสรรพากรได้ทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ กรณีไม่ต้องห้ามฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 และเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ถูกต้องถ้าหากกรมสรรพากรไม่มีสิทธิเรียกเก็บตามกฎหมายก็ต้องคืนให้โจทก์โดยเฉพาะคดีนี้กรมสรรพากรเคยยอมคืนเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนให้โจทก์แล้วโดยยอมให้หักเอาจากเงินค่าภาษี ที่โจทก์ต้องชำระแก่กรมสรรพากร ดังนี้กรมสรรพากรจะอ้างว่าได้ครอบครองเงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระไปอย่างเป็นเจ้าของมาเกินกว่า 5 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์นั้น ย่อมรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบนำเข้าที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร
แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตามแต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512) และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะ ก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้า
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลย ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่ากรณีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระเกินเนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามกฎหมาย
แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตามแต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512) และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่างๆ เพื่อขายโดยเฉพาะ ก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่างๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้า
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลยดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่าภาษีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากค่าบริการนายหน้า: อายุความและขอบเขตการประเมิน
โจทก์เป็นผู้ดำเนินการวิ่งเต้นให้เจ้าของที่ดินยอมให้บริษัท ว. เข้าทำการปรับปรุงที่ดินอันเป็นแหล่งเสื่อมโทรม จนเป็นผลให้เจ้าของที่ดินทำสัญญาดังกล่าวกับบริษัท ว. และทำให้โจทก์ได้รับเงินค่าตอบแทนจากบริษัท ว. การกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นนายหน้าตัวแทนจัดการงานให้ เป็นการประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 บัญชีอัตราภาษีการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน โจทก์จึงต้องจดทะเบียนการค้าและเสียภาษีการค้า ทั้งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40(2) จากจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับมาจากบริษัท ว.
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนเท่านั้น ส่วนสิทธิเรียกร้องให้ชำระภาษีเงินได้และเงินเพิ่มมีอายุความ 10 ปี โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ผู้เสียภาษีต้องยื่นรายการและชำระค่าภาษีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 ภาษีเงินได้สำหรับปีพ.ศ. 2509 โจทก์จะต้องยื่นรายการภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2510 เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 10 ปี จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คณะบุคคลไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่คณะบุคคลกรุงเทพฯ กรีฑา จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคล มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้ภาษีการค้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตลวดเหล็กและลวดหนาม: การตีความคำว่า 'ผลิต' ตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 บัญญัติความหมายของคำว่า 'ผลิต' ไว้ว่า หมายถึง 'ทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบแปรรูป แปรสภาพสินค้าหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใดและ 'ผู้ผลิต' หมายถึง 'ผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต' โจทก์ทำสินค้าโดยซื้อลวดเหล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีคนเอาไปใช้อย่างอื่นนอกจากแปรรูปให้เป็นขนาดเล็กนำมาผ่านกรรมวิธีต่างๆ 4 ขั้นตอน คือล้างและรีดเป็นเส้นลวดให้มีขนาดเล็กลงแล้วนำไปอบความร้อนให้มีสภาพอ่อนตัวลงและชุบสังกะสีทำเป็นลวดสังกะสีและตะปู หรือเข้าเครื่องฟั่นเครื่องตัดทำเป็นลวดหนามออกจำหน่าย ดังนี้ การทำสินค้าลวดเหล็กของโจทก์ตั้งแต่กรรมวิธีที่ 1 ถึงกรรมวิธีที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการแปรสภาพสินค้าจากลวดเหล็กขนาดใหญ่เป็นลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูจึงเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 และเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าที่โจทก์ทำการผลิต โจทก์จึงเป็นผู้ผลิตตามมาตรา 77 ด้วย
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด1(ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2509 มาตรา 4(1)(3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้างแม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตามหรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไปแล้วก็ตามก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ละคนและแต่ละกรณีไปเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่