พบผลลัพธ์ทั้งหมด 819 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095-5099/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ, ค่าจ้าง, ค่าตำแหน่ง, ค่าครองชีพ, ระยะเวลาทำงาน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยตกลงจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานของจำเลยที่ทำงานเกิน5ปีหรือเกิน10ปีขึ้นไปเท่ากับ50วันหรือ300วันของค่าแรงอัตราสุดท้ายในขณะลาออกแต่ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมิได้กำหนดนิยามคำว่า"ค่าจ้าง"และ"ค่าแรง"ไว้ดังนั้นค่าแรงก็คือค่าจ้างที่เอามาเฉลี่ยคิดให้เป็นวันหรือชั่วโมงและต้องนำเงินทั้งหมดที่ถือว่าเป็นค่าจ้างมาเป็นฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษส่วนเงินค่าตำแหน่งและค่าครองชีพเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของการทำงานเงินทั้ง2ประเภทถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยจึงต้องนำมาเป็นฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษด้วยส่วนเงินค่าที่พักเป็นเงินช่วยเหลือลูกจ้างที่ไม่มีที่พักเป็นของตนเองลูกจ้างที่มีที่พักแล้วไม่มีสิทธิได้รับจึงเป็นเพียงเงินสวัสดิการหาใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติไม่จึงไม่ใช่ค่าจ้างไม่อาจนำมาเป็นฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษได้และตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยไม่มีข้อยกเว้นมิให้นับระยะเวลาการทดลองงานรวมเข้ากับระยะเวลาทำงานหลังจากได้รับการบรรจุหากไม่ต้องการให้นับระยะเวลาทดลองงานรวมเข้าด้วยจำเลยน่าจะระบุไว้ให้ชัดแจ้งเมื่อไม่ระบุจึงถือว่าระยะเวลาทดลองงานเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาทำงานที่ต้องนำมารวมคำนวณเงินตอบแทนพิเศษด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121-3461/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและสิทธิลูกจ้าง: การหยุดงานตามคำสั่งนายจ้าง ค่าชดเชย และความรับผิดของกรรมการ
ก่อนเลิกจ้างจำเลยที่1มีคำสั่งให้โจทก์ทั้งหมดไม่ต้องมาทำงานโดยจะจ่ายค่าจ้างให้โจทก์กึ่งหนึ่งแต่โจทก์ไม่พอใจจึงไปร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงานฯต่อมาจำเลยที่1มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์การที่โจทก์ทั้งหมดหยุดงานจึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่1ไม่ใช่เป็นการนัดหยุดงานเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2นิยามคำว่านายจ้างว่ากรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลจำเลยที่2และที่3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่1จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งหมดแต่กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1167เมื่อจำเลยที่2และที่3เลิกจ้างโจทก์โดยกระทำในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799-1800/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างและตัวแทนตามกฎหมายแรงงาน: การกระทำของตัวแทนผูกพันตัวการ
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา5ให้คำนิยามของคำว่านายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ว่านายจ้างหมายความว่าผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้ทำการแทนในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลหมายความว่าผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลนั้นและหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนเมื่อจำเลยที่2เป็นผู้อำนวยการสำนักงานและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสองด้วยตามบทกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากจำเลยที่1ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ทั้งสองมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่2เป็นผู้ทำการแทนตามกฎหมายประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77บัญญัติว่า"ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคลและระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอกโดยอนุโลม"และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนมาตรา820บัญญัติว่า"ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน"ซึ่งมีความหมายว่ากิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำแทนตัวการจำเลยที่1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ทั้งสองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติเกษียณอายุ ต้องเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ การบันทึก 'เพื่อพิจารณาอนุมัติ' ไม่ถือเป็นการอนุมัติ
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดได้คือกรรมการผู้จัดการดังนั้นที่ผู้จัดการโรงงานของจำเลยบันทึกลงในคำขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดของโจทก์ว่าเพื่อพิจารณาอนุมัติจึงเป็นการบันทึกเสนอให้กรรมการผู้จัดการพิจารณาเท่านั้นหาใช่เป็นการอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: ผลผูกพันนายจ้างต่อการเลิกจ้างโดยตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจ
ว. เป็นผู้รับโจทก์เข้าทำงานในบริษัทจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาจ้างโจทก์แทนจำเลยซึ่งตามหนังสือจ้างงานดังกล่าวระบุว่าว. มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายธุรการบุคคลของบริษัทจำเลยและเมื่อมีกรณีที่โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ว.ก็เป็นผู้เรียกโจทก์ไปตำหนิเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยได้เชิดว.ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ว. เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการจ้างหรือเลิกจ้างโจทก์ได้ดังนั้นการที่ว. บอกเลิกจ้างโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่าว.เป็นตัวแทนของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: เริ่มทำงานแล้ว แม้ยังไม่ถึงที่หมาย ก็ถือว่าประสบอันตรายได้
ลูกจ้างออกเดินทางจากบ้านพักของลูกจ้างเพื่อไปเก็บเงินจากลูกค้าตามคำสั่งของนายจ้างและประสบอุบัติเหตุขณะเดินทางแสดงอยู่ในตัวว่าลักษณะการทำงานของลูกจ้างในวันเกิดเหตุลูกจ้างไม่ต้องเข้าไปยังที่ทำงานของลูกจ้างและกระทำกิจอื่นแต่ลูกจ้างออกจากบ้านพักตรงไปบ้านลูกค้าเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายย่อมชี้ให้เห็นว่าลูกจ้างได้เริ่มลงมือทำงานแล้วแต่ยังไม่ถึงที่หมายกรณีไม่จำต้องปฏิบัติหน้าที่ถึงขนาดที่ลูกจ้างจะต้องเดินทางไปถึงที่หมายและเริ่มลงมือเก็บเงินจากลูกค้าจริงๆถือว่าลูกจ้างได้ประสบอันตรายโดยถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแล้วภริยาของลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองแรงงาน: การประสบอันตรายจากการเดินทางไปทำงาน แม้ยังไม่ถึงที่หมาย ถือเป็นการทำงานแล้ว
ผู้ตายออกเดินทางจากบ้านพักเพื่อไปเก็บเงินจากลูกค้าตามคำสั่งของนายจ้างและประสบอุบัติเหตุขณะเดินทางแสดงว่าผู้ตายเริ่มลงมือทำงานแล้วแต่ยังไม่ถึงที่หมายถือว่าผู้ตายได้ประสบอันตรายโดยถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแล้วไม่จำต้องปฏิบัติหน้าที่ถึงขนาดที่ผู้ตายต้องเดินทางไปถึงที่หมายและเริ่มลงมือเก็บเงินจากลูกค้าจริงๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214-2218/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เวลาพักของลูกจ้าง: การนับชั่วโมงพักงานที่นายจ้างอนุญาตให้กลับบ้านก่อนเวลาเลิกงาน
นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติ7.15-17.50นาฬิกาโดยกำหนดเวลาพัก12.00-12.40นาฬิกาและ17.30-17.50นาฬิกาเมื่อลูกจ้างเลิกงานเวลา17.50นาฬิกาเวลาระหว่าง17.30-17.50นาฬิกาจึงยังเป็นเวลาทำงานอยู่นายจ้างให้ลูกจ้างไม่ต้องทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวโดยยินยอมให้กลับบ้านได้ก่อนเวลาเลิกงานช่วงเวลา17.30-17.50นาฬิการวม20นาทีถือได้ว่าเป็นเวลาที่นายจ้างจัดให้พักแล้วเมื่อรวมกับเวลาพักระหว่าง12.00-12.40นาฬิกาอีก40นาทีจึงครบ1ชั่วโมงชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2,6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214-2218/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เวลาพักระหว่างทำงาน: การยินยอมให้ลูกจ้างกลับบ้านก่อนเวลาเลิกงานถือเป็นเวลาพักได้
ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับลูกจ้างตามเอกสารหมายล.1ตกลงให้เลิกงานเวลา17.50นาฬิกาฉะนั้นเวลา17.30-17.50นาฬิกาจึงเป็นเวลาทำงานอยู่จำเลยให้ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงานในเวลาดังกล่าวและยินยอมให้กลับบ้านไปก่อนตั้งแต่เวลา17.30นาฬิกาถือได้ว่าช่วงเวลา17.30-17.50นาฬิกาจำนวน20นาทีเป็นเวลาที่จำเลยจัดให้พักแล้วเมื่อรวมกับเวลาพักตั้งแต่เวลา12.00-12.40นาฬิกาอีก40นาทีเป็นหนึ่งชั่วโมงจึงชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2และข้อ6ซึ่งกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักในระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ1ชั่วโมงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สหกรณ์แสวงหากำไร: การบังคับใช้ประกาศคุ้มครองแรงงาน แม้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสหกรณ์
จำเลยเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2511มาตรา105และตามมาตรา104จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าแก่กิจการสหกรณ์ทุกประเภททั้งราชอาณาจักรซึ่งมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกันก็ตามแต่ตามมาตรา106(5)จำเลยยังมีอำนาจซื้อจัดหาจำหน่ายถือกรรมสิทธิ์ครอบครองหรือทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา107(5)และในทางปฏิบัติจำเลยมีงบรายได้และค่าใช้จ่ายโดยรายได้สูงกว่ารายจ่ายจะตกเป็นทุนในการดำเนินงานต่อไปเช่นนี้แสดงว่าการดำเนินกิจการของจำเลยมีลักษณะแสวงหาประโยชน์จากกิจการเหล่านั้นโดยมิใช่เป็นกิจการให้เปล่ากิจการของจำเลยจึงเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน 2515