พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืน: การปรับบทมาตรา 340 ตรี
จำเลยปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนการที่ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี โดยมิได้ปรับบทลงโทษตาม มาตรา 340 ด้วย เป็นการไม่ถูกต้องเพราะมาตรา 340 ตรี เป็นเพียงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำผิดตาม มาตรา 340 ต้องรับโทษหนักขึ้นเท่านั้นหาได้เป็นความผิดต่างหากอีกบทหนึ่งไม่ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษความผิดปล้นทรัพย์: มาตรา 340 ตรี เป็นเหตุเพิ่มโทษ ไม่ใช่ความผิดต่างหาก
จำเลยปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน การที่ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี โดยมิได้ปรับบทลงโทษตาม มาตรา 340 ด้วย เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 340 ตรี เป็นเพียงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำผิดตาม มาตรา 340 ต้องรับโทษหนักขึ้นเท่านั้น หาได้เป็นความผิดต่างหากอีกบทหนึ่งไม่ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวปล้นทรัพย์หลายหลัง-การใช้'วัตถุระเบิด'คือการลงมือทำให้เกิดระเบิด ไม่ใช่แค่ขู่
จำเลยปล้นทรัพย์ 3 บ้านติดต่อกันอยู่ใกล้กัน 10วาเศษ3 หลัง ได้ทรัพย์จากบ้านแรกแล้วคุมตัวผู้เสียหายเจ้าของบ้านไปบ้านที่ 2 ยังไม่ค้นหาทรัพย์คุมตัวผู้เสียหายจากบ้านที่ 2 ไปค้นหาทรัพย์ บ้านที่ 3 ก่อน แล้วจึงย้อนกลับมาค้นหาทรัพย์ในบ้านที่ 2 ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องก็บรรยายรวมกันมาเป็นคราวเดียวกันว่า ปล้นผู้เสียหาย4คนได้ทรัพย์สินไปรวมราคา 22,480 บาท ไม่ได้แยกว่าทรัพย์สินอะไรเป็นของผู้เสียหายคนใดการกระทำผิด ของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำว่าใช้วัตถุระเบิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340วรรคสี่ หมายถึงลงมือใช้เพื่อให้เกิดการระเบิด เช่นอาวุธปืนก็ต้องลงมือยิง เพียงใช้ขู่ให้เกิดความกลัว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ตามมาตรานี้
คำว่าใช้วัตถุระเบิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340วรรคสี่ หมายถึงลงมือใช้เพื่อให้เกิดการระเบิด เช่นอาวุธปืนก็ต้องลงมือยิง เพียงใช้ขู่ให้เกิดความกลัว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ตามมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปล้นทรัพย์หลายกรรม ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นกรรมเดียว และการใช้ 'วัตถุระเบิด' ตามกฎหมาย
จำเลยปล้นทรัพย์ 3 บ้านติดต่อกันอยู่ใกล้กัน 10 วาเศษ 3 หลัง ได้ทรัพย์จากบ้านแรกแล้วคุมตัวผู้เสียหายเจ้าของบ้านไปบ้านที่ 2 ยังไม่ค้นหาทรัพย์คุมตัวผู้เสียหายจากบ้านที่ 2 ไปค้นหาทรัพย์บ้านที่ 3 ก่อน แล้วจึงย้อนกลับมาค้นหาทรัพย์ในบ้านที่ 2 ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องก็บรรยายรวมกันมาเป็นคราวเดียวกันว่าปล้นผู้เสียหาย 4 คน ได้ทรัพย์สินไปรวมราคา 22,480 บาท ไม่ได้แยกว่าทรัพย์สินอะไรเป็นของผู้เสียหายคนใด การกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำว่าใช้วัตถุระเบิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ หมายถึงลงมือใช้เพื่อให้เกิดการระเบิด เช่นอาวุธปืนก็ต้องลงมือยิง เพียงใช้ขู่ให้เกิดความกลัว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ตามมาตรานี้
คำว่าใช้วัตถุระเบิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ หมายถึงลงมือใช้เพื่อให้เกิดการระเบิด เช่นอาวุธปืนก็ต้องลงมือยิง เพียงใช้ขู่ให้เกิดความกลัว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ตามมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยมีอาวุธปืน: การกระทำยังไม่ถึงขั้นขู่เข็ญเพื่อประทุษร้ายจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ผู้เสียหายได้ยินเสียงคนงัดประตูใต้ถุนบ้านจึงเปิดไฟฟ้าใต้ถุนบ้านแล้วมองดูทางช่องพื้นบ้าน เห็นจำเลยกับพวกถือปืนคนละกระบอกยืนอยู่แล้วไฟฟ้าดับลงโดยได้ยินเสียงตูม เข้าใจว่าคนร้ายตีหลอดไฟแตก ผู้เสียหายกลัวจึงกระโดดบ้านหนี ดังนี้ จำเลยกับพวกยังไม่ได้เข้ามาถึงตัวผู้เสียหายและยังไม่เห็นตัวผู้เสียหาย ยังไม่ได้ขู่เข็ญจะประทุษร้ายผู้เสียหายด้วยประการใดๆเลย แม้จะมีปืนมาด้วยก็ยังไม่ได้แสดงปืนนั้นให้ผู้เสียหายเห็น เป็นเรื่องผู้เสียหายแอบเห็นเอง การตีหลอดไฟฟ้าแตกก็คงประสงค์จะให้ไฟฟ้าดับไม่ให้ใครเห็นและจำได้เท่านั้น จะถือว่าเป็นการขู่เข็ญจะประทุษร้ายก็ยังไม่ได้ ตอนที่พวกของจำเลยขึ้นไปเอาทรัพย์บนบ้านผู้เสียหายก็ไม่ได้ถือปืนหรือขู่เข็ญจะทำร้ายใคร การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เท่านั้น มิใช่ความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยมีอาวุธ แต่ไม่มีการขู่เข็ญโดยตรง ศาลลดโทษจากปล้นทรัพย์เป็นลักทรัพย์
ผู้เสียหายได้ยินเสียงคนงัดประตูใต้ถุนบ้านจึงเปิดไฟฟ้าใต้ถุนบ้านแล้วมองดูทางช่องพื้นบ้าน เห็นจำเลยกับพวกถือปืนคนละกระบอกยืนอยู่แล้วไฟฟ้าดับลงโดยได้ยินเสียงตูมเข้าใจว่าคนร้ายตีหลอดไฟแตกผู้เสียหายกลัวจึงกระโดดบ้านหนี ดังนี้ จำเลยกับพวกยังไม่ได้เข้ามาถึงตัวผู้เสียหายและยังไม่เห็นตัวผู้เสียหาย ยังไม่ได้ขู่เข็ญจะประทุษร้ายผู้เสียหายด้วยประการใดๆเลย แม้จะมีปืนมาด้วยก็ยังไม่ได้แสดงปืนนั้นให้ผู้เสียหายเห็น เป็นเรื่องผู้เสียหายแอบเห็นเอง การตีหลอดไฟฟ้าแตกก็คงประสงค์จะให้ไฟฟ้าดับไม่ให้ใครเห็นและจำได้เท่านั้น จะถือว่าเป็นการขู่เข็ญจะประทุษร้ายก็ยังไม่ได้ ตอนที่พวกของจำเลยขึ้นไปเอาทรัพย์บนบ้านผู้เสียหายก็ไม่ได้ถือปืนหรือขู่เข็ญจะทำร้ายใคร การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เท่านั้น มิใช่ความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปล้นทรัพย์, เอาตัวไปเรียกค่าไถ่, และการลงโทษตามมาตรา 316 กรณีผู้เสียหายได้รับการปล่อยตัวก่อนศาลพิพากษา
เมื่อจำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายแล้ว ได้คุมตัวผู้เสียหายไปเพื่อเรียกเงินค่าไถ่ ต่อมาอีกประมาณ 3 ชั่วโมงจำเลยกับพวกได้ปล่อยตัวผู้เสียหาย เพราะทราบว่าตำรวจกำลังออกติดตาม แม้จำเลยกับพวกจะยังไม่ทันได้มาซึ่งเงินค่าไถ่ ก็เป็นความผิดฐานเอาตัวผู้เสียหายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่อันเป็นความผิดสำเร็จแล้วและเป็นความผิดคนละกระทงกันกับความผิดฐานปล้นทรัพย์แต่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ถือได้ว่าจำเลยกับพวกได้จัดให้ผู้เสียหายได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา ซึ่งกฎหมายให้ลงโทษน้อยกว่าที่กำหนดไว้แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งตามมาตรา 316 และการลดโทษตามมาตรานี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 5 ที่มิได้ฎีกาด้วย
มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนเท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกัน จะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน จำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้อาวุธปืนในขณะกระทำการปล้นทรัพย์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 340 ตรี จำเลยทั้งห้าคงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม มาตรา 340 วรรคสี่เท่านั้น และศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ 5 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วย มาตรา225
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 2 ปี ฐานพาอาวุธปืนจำคุก 1 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนเท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกัน จะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน จำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้อาวุธปืนในขณะกระทำการปล้นทรัพย์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 340 ตรี จำเลยทั้งห้าคงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม มาตรา 340 วรรคสี่เท่านั้น และศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ 5 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วย มาตรา225
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 2 ปี ฐานพาอาวุธปืนจำคุก 1 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3703/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน-พยายามฆ่า แม้ร่วมกันพยายามปล้นทรัพย์ ศาลพิพากษาลงโทษกระทงหลังแยกจากกันได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ส่วนโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่อีกด้วย ความผิดในข้อหาพยายามปล้นทรัพย์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาข้อหานี้ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยกับพวกทุกคนต่างมีอาวุธปืนติดตัวร่วมกันพยายามปล้นทรัพย์ ตำรวจพบจำเลยกับพวกกำลังกระทำความผิดจึงเข้าจับกุม พวกจำเลยยิงปืนใส่ตำรวจแล้วหลบเข้าที่กำบัง หลังจากยิงต่อสู้กันได้ประมาณ 5 นาที พวกจำเลยหลบหนีไปได้คงเหลือจำเลยซึ่งถูกยิงบาดเจ็บพฤติการณ์ของจำเลยกับพวกที่ใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ตำรวจดังกล่าวแม้จะไม่ปรากฏว่าใครยิงบ้างก็ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันยิงเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาโดยการขัดขวางมิให้ตำรวจจับกุมจำเลยกับพวกในข้อหาพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งนอกเหนือจากความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ เพราะเป็นความผิดต่างฐานกันและมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละส่วนแยกจากกันได้
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับโดยแก้ไขมาตรา 91 ให้เป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 91 เดิม ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะ กระทำผิด จึงต้องใช้มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่บังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี ประกอบด้วยมาตรา80 กระทงหนึ่ง จำคุก 15 ปี 6 เดือน และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140,289 ประกอบด้วยมาตรา 80 อีกกระทงหนึ่ง เมื่อลงโทษตามมาตรา 289ประกอบด้วย มาตรา 80 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่ต้องนำโทษตามความผิดกระทงแรกมารวมเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
จำเลยกับพวกทุกคนต่างมีอาวุธปืนติดตัวร่วมกันพยายามปล้นทรัพย์ ตำรวจพบจำเลยกับพวกกำลังกระทำความผิดจึงเข้าจับกุม พวกจำเลยยิงปืนใส่ตำรวจแล้วหลบเข้าที่กำบัง หลังจากยิงต่อสู้กันได้ประมาณ 5 นาที พวกจำเลยหลบหนีไปได้คงเหลือจำเลยซึ่งถูกยิงบาดเจ็บพฤติการณ์ของจำเลยกับพวกที่ใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ตำรวจดังกล่าวแม้จะไม่ปรากฏว่าใครยิงบ้างก็ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันยิงเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาโดยการขัดขวางมิให้ตำรวจจับกุมจำเลยกับพวกในข้อหาพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งนอกเหนือจากความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ เพราะเป็นความผิดต่างฐานกันและมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละส่วนแยกจากกันได้
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับโดยแก้ไขมาตรา 91 ให้เป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 91 เดิม ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะ กระทำผิด จึงต้องใช้มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่บังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี ประกอบด้วยมาตรา80 กระทงหนึ่ง จำคุก 15 ปี 6 เดือน และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140,289 ประกอบด้วยมาตรา 80 อีกกระทงหนึ่ง เมื่อลงโทษตามมาตรา 289ประกอบด้วย มาตรา 80 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่ต้องนำโทษตามความผิดกระทงแรกมารวมเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบยานพาหนะในความผิดชิงทรัพย์ พิจารณาว่าใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ที่บัญญัติให้ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่งนั้น ถ้าปรากฏว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะพาทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิดหลบหนีไป หรือใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมหลังจากได้กระทำผิด เป็นเพียงบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษหนักขึ้นเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลพึงสั่งริบตามมาตรา 33(1) นั้น ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดเป็นเรื่อง ๆ ไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำผิดหรือไม่
จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะพาสร้อยคอทองคำหลบหนีไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ภายหลังจากจำเลยได้ทำการชิงทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการกระทำผิดชิงสร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย รถจักรยานยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 33 (1)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2615/2518)
จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะพาสร้อยคอทองคำหลบหนีไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ภายหลังจากจำเลยได้ทำการชิงทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการกระทำผิดชิงสร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย รถจักรยานยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 33 (1)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2615/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบยานพาหนะในความผิดชิงทรัพย์: ต้องพิจารณาว่าใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงหรือไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ที่บัญญัติให้ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่งนั้น ถ้าปรากฏว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะพาทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิดหลบหนีไป หรือใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมหลังจากได้กระทำผิดเป็นเพียงบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษหนักขึ้นเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลพึงสั่งริบตามมาตรา 33(1) นั้นต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดเป็นเรื่องๆไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำผิดหรือไม่
จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะพาสร้อยคอทองคำหลบหนีไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ภายหลังจากจำเลยได้ทำการชิงทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการกระทำผิดชิงสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายรถจักรยานยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 33(1)(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2615/2518)
จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะพาสร้อยคอทองคำหลบหนีไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ภายหลังจากจำเลยได้ทำการชิงทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการกระทำผิดชิงสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายรถจักรยานยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 33(1)(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2615/2518)