คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างช่วงและผู้รับจ้างในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้าง
จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจ้างกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้จัดหาลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่ 2 จะสั่งให้ปฏิบัติจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นผู้รับเหมาชั้นต้นตามความ ในข้อ 7 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 ในอันที่จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่จำเลยที่ 1 จ้าง มาแต่ประการใด สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงมีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อใดโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างได้เงื่อนไขของสัญญานี้อาศัยเหตุการณ์ตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีไม่แน่นอนจึงจะถือว่าสัญญาจ้างโจทก์เป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าว่าบริษัทผู้รับจ้างรายใหม่ได้เข้ามาดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะได้โอนพนักงานและกิจการให้บริษัทใหม่ดังนี้ เป็นการโอนการจ้าง มิใช่การเลิกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ผู้จัดการสาขาธนาคารกับการได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของจำเลย การที่ โจทก์มีอำนาจออกคำเตือนพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นหนังสือและพนักงานที่ถูกคำเตือน 3 ครั้งจะไม่ได้ขึ้นเงินเดือนก็ตาม แต่เมื่อหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ เป็นเพียงมีผลให้ผู้ถูกคำเตือนอยู่ในเกณฑ์ที่จะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนจากผู้มีอำนาจในการนี้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีอำนาจทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษ และแม้โจทก์จะเป็นผู้เสนอขอเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ก็มิใช่เป็นผู้มีอำนาจที่จะเลื่อนชั้นเงินเดือน 2 ขั้น จึงถือไม่ได้อีกว่าโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการให้บำเหน็จ ส่วนกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนในการจ้างลูกจ้างนั้น โจทก์ต้องมีอำนาจทำการแทนนายจ้างโดยตรง มิใช่เป็นกรณีผ่านการพิจารณาโดยผู้มีอำนาจมาก่อน ซึ่งผู้มีอำนาจในการรับลูกจ้างเข้าทำงานนี้ได้แก่คณะกรรมการของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง ดังนั้น โจทก์มิใช่ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ทำการแทนนายจ้าง ตามข้อ 36(1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ และมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677-1678/2526) เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด การที่จำเลยมีระเบียบกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไม่มีผลบังคับ โจทก์เบิกค่าทำงานในวันหยุด จำเลยให้โจทก์คืนเงินโดยอ้างว่าเบิกไม่ถูกต้อง โจทก์จึงคืนเงินนั้นแก่จำเลย ดังนี้ กรณีมิใช่เป็นเรื่อง จงใจผิดนัดในการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดที่คืนไป จำเลยตอบปฏิเสธ ถือได้ว่า จำเลยผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้า ต่อปีตามข้อ 31 วรรคแรก นับแต่วันที่ จำเลยตอบปฏิเสธ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าพาหนะและที่พักสำหรับพนักงานที่ทำงานต่างจังหวัด ถือเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
โจทก์ได้รับเงินเดือนและได้รับค่าพาหนะค่าที่พักซึ่งโจทก์ต้องไปทำงานต่างจังหวัดทุกเดือนเดือนละ 25 วันอีกต่างหากเป็นการเหมาจ่ายโดยลักษณะงานเวลาทำงานปกติของโจทก์อยู่ในต่างจังหวัด ดังนี้ เงินค่าพาหนะค่าที่พักจึงเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานปกติในวันทำงานของโจทก์ และถือได้ว่าเป็นค่าจ้างโดยไม่คำนึงว่าจะเรียกเงินดังกล่าวอย่างไร(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 172/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน: การพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานและโรคประจำตัว
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ผู้ตายเป็นลูกจ้างได้ประสบอันตรายถึงแก่ความตายและเรียกเงินทดแทนแยกเป็นค่าทดแทนและค่าทำศพเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานแล้ว ส่วนจำนวนที่เรียกร้องจะถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลจะวินิจฉัยต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โรคหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายอันเป็น ผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงดังนี้ เมื่อผู้ตายเดินตรวจสต๊อกในโชว์รูมแล้วลื่นล้มศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตายโดยมีบาดแผลบริเวณแก้มขวาเพียงเล็กน้อย ประกอบทั้งการตรวจพิสูจน์ของแพทย์ว่าสาเหตุของ การตายเกิดจากหัวใจวาย และปรากฏว่าผู้ตายเป็นโรคหัวใจโตและลิ้นหัวใจรั่วอยู่ก่อนแล้ว โอกาสที่จะประสบอันตรายเพราะเกิดภาวะหัวใจวายโดยฉับพลันมีขึ้นเมื่อใดก็ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอยู่เวรป้องกันอัคคีภัยไม่ใช่การทำงานปกติ จึงไม่เข้าข่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด
'การทำงาน' ตามคำนิยามของค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน หมายถึงการทำงานตามปกติที่นายจ้างมอบหมายให้ลูกจ้างทำในกิจการของนายจ้าง เมื่อนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีคำสั่งให้ลูกจ้างอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ อันเป็นหน้าที่พิเศษนอกเหนือจากกิจการตามปกติของนายจ้าง ลูกจ้างที่ต้องอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยจึงไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพตามข้อตกลงสภาพการจ้าง: เงื่อนไขการจ่ายและขอบเขตการบังคับใช้
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายแก่ลูกจ้างเป็น รายเดือนจะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างก็ตาม แต่เมื่อการที่นายจ้างตกลงจะจ่ายเงินค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเกิดจาก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่ใช่จ่ายตามข้อผูกพัน หรือ สัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิม ดังนั้น การจ่ายเงินค่าครองชีพ จำต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความ อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหา อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็น ไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเมื่อมีข้อบังคับขององค์กรใช้บังคับแล้ว ถือเป็นสิทธิแยกจากระเบียบเดิม
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือภาคทัณฑ์ถือเป็นการตักเตือน หากลูกจ้างกระทำผิดซ้ำ นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และต้องคืนเงินประกันหากไม่มีความเสียหาย
หนังสือภาคทัณฑ์มีข้อความว่า "....ท่านได้ละทิ้งหน้าที่ดังนั้น จึงออกหนังสือนี้เพื่อเป็นการภาคทัณฑ์ท่านในความผิดดังกล่าว หากปรากฏว่าท่านฝ่าฝืนระเบียบอีก.....บริษัทจะเลิกจ้างท่านทันที" หนังสือนี้มีลักษณะเป็นการตักเตือนลูกจ้างในความผิดนั้นแล้ว เมื่อลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับโดยละทิ้งหน้าที่ซ้ำอีก นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เงินประกันที่นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างไว้ ตามสัญญาจ้างนายจ้างจะริบได้ต่อเมื่อลูกจ้างผิดสัญญาและทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อไม่ได้ความว่าการที่ลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างใดนายจ้างจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการถูกยิงขณะละทิ้งหน้าที่ ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เข้าข่ายประสบอันตรายจากการทำงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ซึ่งวินิจฉัยว่าลูกจ้างได้รับอันตรายถึงแก่ความตายมิใช่เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงอยู่ที่ว่าคณะกรรมการได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนหรือไม่ คำวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์ระบุว่าคณะกรรมการวินิจฉัยอย่างไร ลูกจ้างถูกยิงตายที่ใดและเมื่อใดซึ่ง จำเลยก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส่วนโจทก์จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่ ลูกจ้างถูกยิงตายเนื่องจากมูลกรณีใดและได้รับค่าจ้างเดือนละเท่าใด เป็นรายละเอียด หากจำเลยให้การโต้เถียงก็อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้ลูกจ้างจะถูกยิงตายในช่วงเวลาที่มีหน้าที่เป็นยามและสถานที่เกิดเหตุอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของลูกจ้างแต่การที่ลูกจ้างหลีกเลี่ยงหน้าที่ไปนั่งเสพสุราร่วมกับพวกและ จ. มิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ เป็นการละทิ้งหน้าที่ จะถือว่าระหว่างที่ลูกจ้างเสพสุราร่วม กับพวกเป็นการปฏิบัติหน้าที่เป็นยามควบคู่ไปด้วยหาได้ไม่ จึงไม่ใช่เป็น กรณีที่ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ อีกประการหนึ่ง คนร้ายที่ เข้ามาทำร้าย จ. มิใช่เข้ามาทำร้ายลูกจ้างหรือประสงค์ต่อทรัพย์สิน ของนายจ้าง มูลกรณีที่ลูกจ้างถูกยิงตายมิได้เกิดจากเหตุที่ทำงานให้ แก่นายจ้างหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง ถือไม่ได้ว่าลูกจ้าง ประสบอันตรายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อบรรจุเป็นพนักงานประจำ และเป็นดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไประยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำในธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
of 10