คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฎีกา: หน้าที่นำส่งสำเนาฎีกาและการเพิกเฉยถือเป็นการทิ้งฎีกา
จำเลยมีหน้าที่นำส่งหรือเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์ภายในเวลาอันสมควร การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีนับแต่วันที่ถือว่าทราบคำสั่งถึงวันที่ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมาศาลฎีกาเป็นเวลาถึง 24 วัน ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดีรอผลคดีสินสมรส: กรณีภริยาฟ้องเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินที่ทำไปแล้ว
ระหว่างบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ปรากฏข้อเท็จจริงว่าม.ภริยาจำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยอ้างว่าที่ดินตามสัญญาซื้อขาย และสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ม. ซึ่งคดีแพ่งดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีทั้งสองถึงที่สุดให้ ม. ชนะคดี และที่ดินดังกล่าวได้โอนไปเป็นของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว ม. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะได้รับความเสียหาย ดังนี้เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมไว้ได้ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดีชั่วคราว: คดีสินสมรสกระทบสิทธิบุคคลภายนอก
ระหว่างบังคับคคีตามคำพิพากษาตามยอม ปรากฏข้อเท็จจริงว่าม.ภริยาจำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยอ้างว่าที่ดินตามสัญญาซื้อขาย และสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ม. ซึ่งคดีแพ่งดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีทั้งสองถึงที่สุดให้ ม.ชนะคดี และที่ดินดังกล่าวได้โอนไปเป็นของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว ม.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะได้รับความเสียหาย ดังนี้เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมไว้ได้ โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดีรอผลคดีเพิกถอนสัญญาซื้อขายและประนีประนอมเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องสินสมรส
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภริยาจำเลย แต่จำเลยกลับทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลกับโจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากภริยาจำเลยก่อน ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระหว่างการบังคับคดีภริยาจำเลยฟ้องโจทก์และจำเลยให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ดังนี้ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจสั่งงดการบังคับคดีไว้ได้เพื่อรอฟังผลคดีที่ภริยาจำเลยฟ้องโจทก์และจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ก่อให้เกิดความรับผิดร่วมกัน
จำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขนส่งคนโดยสารมีหน้าที่จัดระเบียบการเดิน รถยนต์โดยสารขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 3 อนุญาตให้รถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 ร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3ในเส้นทางสาย 1014 จากปากซอยอุดมสุขถึงปลายซอยดังกล่าวจำเลยที่ 3 ได้ประโยชน์ตอบแทนคือค่าทำสัญญาปีละ 500 บาทเมื่อรถยนต์โดยสารขนาดเล็กได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 แล้ว จะมีการประทับตราจำเลยที่ 3 ไว้ที่ตัวรถนอกจากนั้นจำเลยที่ 3 ยังสงวนสิทธิในการหาประโยชน์จากการโฆษณาทั้งภายในและภายนอกตัวรถยนต์โดยสารขนาดเล็กที่เข้าร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 อีกทั้งลูกจ้างของจำเลยที่ 2ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบวินัย และคำสั่งของจำเลยที่ 3ทุกประการด้วย ถือได้ว่ากิจการเดินรถของรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุเป็นกิจการร่วมกันระหว่างจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3จำเลยที่ 2 จ้างจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจึงถือว่าจำเลยที่ 1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย เจ้าของรถที่เข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 สามารถนำรถออกนอกเส้นทาง ได้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ ใช้ในราชการ ใช้ในกิจการส่วนตัว และใช้ในเรื่องสาธารณประโยชน์ แต่ต้องขออนุญาตจาก จำเลยที่ 3 ก่อน หากฝ่าฝืนสัญญาข้อ 6 ก็ระบุไว้ว่าจำเลยที่ 3 มีสิทธิสั่งห้ามมิให้เจ้าของรถนำรถออกวิ่งรับผู้โดยสารในเส้นทางมีระยะเวลาตามที่จำเลยที่ 3 กำหนดหรือบอกเลิกสัญญาได้ แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 สามารถที่จะนำรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุไปใช้นอกเส้นทางที่กำหนดไว้ตามสัญญาได้ เพียงแต่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 3 ก่อนเท่านั้น แม้จะฝ่าฝืนสัญญาข้อนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกัน เพียงแต่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุออกนอกเส้นทาง แต่เมื่อจำเลยที่ 1ขับรถยนต์ดังกล่าวโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถยนต์ที่ผู้ตายขับและผู้ตายถึงแก่ความตายจึงถือได้ว่า จำเลยที่ 1กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1ขับรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุรับจ้างเหมาขนส่งนักศึกษารักษาดินแดนเป็นการรับจ้างทำของ นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 นั้น แม้จำเลยที่ 3 จะยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 นำรถไปใช้นอกเส้นทาง จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดโดยไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 3 ก็มิได้แก้อุทธรณ์และยกประเด็นนี้ขึ้นว่ากล่าวไว้ในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการจ้างงานและการร่วมทำสัญญาขนส่ง กรณีรถออกนอกเส้นทาง
จำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขนส่งคนโดยสารมีหน้าที่จัดระเบียบการเดินรถยนต์โดยสารขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 3 อนุญาตให้รถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 ร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางสาย 1014 จากปากซอยอุดมสุขถึงปลายซอยดังกล่าว จำเลยที่ 3 ได้ประโยชน์ตอบแทนคือค่าทำสัญญาปีละ 500 บาท เมื่อรถยนต์โดยสารขนาดเล็กได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 แล้ว จะมีการประทับตราจำเลยที่ 3 ไว้ที่ตัวรถ นอกจากนั้นจำเลยที่ 3 ยังสงวนสิทธิในการหาประโยชน์จากการโฆษณาทั้งภายในและภายนอกตัวรถยนต์โดยสารขนาดเล็กที่เข้าร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 อีกทั้งลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบวินัย และคำสั่งของจำเลยที่ 3 ทุกประการด้วย ถือได้ว่ากิจการเดินรถของรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุเป็นกิจการร่วมกันระหว่างจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 จ้างจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจึงถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย
เจ้าของรถที่เข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 สามารถนำรถออกนอกเส้นทางได้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ ใช้ในราชการ ใช้ในกิจการส่วนตัว และใช้ในเรื่องสาธารณประโยชน์ แต่ต้องขออนุญาตจากจำเลยที่ 3 ก่อน หากฝ่าฝืนสัญญาข้อ 6 ก็ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิสั่งห้ามมิให้เจ้าของรถนำรถออกวิ่งรับผู้โดยสารในเส้นทางมีระยะเวลาตามที่จำเลยที่ 3 กำหนด หรือบอกเลิกสัญญาได้ แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 สามารถที่จะนำรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุไปใช้นอกเส้นทางที่กำหนดไว้ตามสัญญาได้ เพียงแต่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 3 ก่อนเท่านั้น แม้จะฝ่าฝืนสัญญาข้อนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกัน เพียงแต่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุออกนอกเส้นทาง แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ดังกล่าวโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถยนต์ที่ผู้ตายขับและผู้ตายถึงแก่ความตายจึงถือได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1
ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุรับจ้างเหมาขนส่งนักศึกษารักษาดินแดนเป็นการรับจ้างทำของ นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 นั้น แม้จำเลยที่ 3 จะยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 นำรถไปใช้นอกเส้นทางจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดโดยไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 3 ก็มิได้แก้อุทธรณ์ และยกประเด็นนี้ขึ้นว่ากล่าวไว้ในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์และอำนาจฟ้องคดีลิขสิทธิ์: ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิให้ผู้อื่น
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัทด. ตกลงอนุญาตให้บริษัท ฟ. แต่ผู้เดียว เป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อปปี้ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัท ด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท ชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้น บริษัท ด. ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ ซึ่งบริษัท ด. อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้แก่บริษัท ก.และต่อมา บริษัท ก. ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัท ฟ. มีอยู่เท่านั้นเมื่อ บริษัท ฟ. เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัท ฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด. ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัท ก. และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัท ก. ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ ดังนั้น ที่บริษัท ก.ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลิขสิทธิ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับโอนสิทธิ
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัท ฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบบี้ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัท ด. เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัท ฟ. ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัท ด. ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ ซึ่งบริษัท ด. อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้แก่บริษัท ก. และต่อมาบริษัท ก. ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล๎มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัท ฟ. มีอยู่เท่านั้น เมื่อบริษัท ฟ. เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัท ฟ.ที่มีอยู่ แม้บริษัท ด. ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัท ก. และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัท ก. ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ ดังนั้น ที่บริษัท ก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทแต่อย่างใดเพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิลิขสิทธิ์ที่มิชอบ ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิแก่ผู้อื่น ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัทฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบปี้ ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัทด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัทด.ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ซึ่งบริษัทด.อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัทฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายสิทธิ์ในภาพยนตร์ นั้นให้แก่บริษัทก.และต่อมาบริษัทก.ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัทฟ.มีอยู่ เท่านั้น เมื่อบริษัทฟ.เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัทฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด.ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัทก.และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัทก.ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทด.กับบริษัทก.ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทก.กับโจทก์ร่วม ดังนั้น ที่บริษัทก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำบังคับศาลเพื่อรอการลงโทษ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขคำบังคับที่ผิดพลาดได้ตามหลักวิธีพิจารณาความอาญา
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เห็นได้ว่า ประสงค์จะรอการลงโทษให้จำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำบังคับของศาลอุทธรณ์ว่าให้รอการลงโทษจำเลย ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพราะความผิดหลง หรือเขียนคำบังคับผิดพลาดไป ซึ่งศาลอุทธรณ์ชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 มิได้มีข้อห้ามไว้ว่าถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดข้อไหนแก้ได้หรือไม่ประการใด จึงน่าจะทำได้ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เมื่อข้อความที่แก้ไขหรือขยายความมิได้กลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หากแต่แก้คำบังคับที่ผิดพลาดให้ถูกต้องจึงย่อมทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 190
of 61