คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 375

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก สิทธิเรียกร้องของวัดแก้วฟ้า และผลบังคับตามบันทึกข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ทั้งสิบห้ากับจำเลยทั้งสิบเอ็ดและผู้ร้อง มีข้อความระบุไว้ในสาระสำคัญว่า โจทก์ทั้งสิบห้าตกลงถอนฟ้องจำเลยทั้งสิบเอ็ด โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ร้องไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพื้นที่พิพาทและถวายเงิน 5,000,000 บาท เพื่อเป็นสาธารณกุศลและสาธารณประโยชน์แก่วัดแก้วฟ้าทันทีที่ผู้ร้องได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในโครงการซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของวัดแก้วฟ้า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมีโจทก์ทั้งสิบห้ากับจำเลยทั้งสิบเอ็ดและผู้ร้องเป็นคู่สัญญาระหว่างกัน โดยมีวัดแก้วฟ้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญา บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 ซึ่งวัดแก้วฟ้ามีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาโดยตรงได้ แม้ผู้ร้องกับฝ่ายโจทก์จะไม่มีมูลหนี้ต่อกันและกรณีมิใช่สัญญาให้ที่ผู้ร้องจะต้องส่งมอบเงินดังกล่าวแก่วัดแก้วฟ้าจึงไม่ตกอยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 523 ทั้ง ส. ตัวแทนวัดแก้วฟ้าแถลงต่อศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมว่า วัดแก้วฟ้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี หากจะให้วัดแก้วฟ้าชี้แนวเขตที่ดินเพื่อรับเงินดังกล่าว โดยยังไม่ทราบว่าจะนำเงินไปดำเนินการในกิจการใด ไม่สามารถกระทำได้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562 วัดแก้วฟ้ายื่นใบแจ้งความประสงค์ต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินดังกล่าวซึ่งผู้ร้องวางไว้ อันเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงซึ่งโจทก์ทั้งสิบห้ากับจำเลยทั้งสิบเอ็ดและผู้ร้อง ทำขึ้นระหว่างกัน สิทธิของวัดแก้วฟ้า ตามบันทึกข้อตกลงย่อมเกิดมีขึ้นสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องได้รับใบอนุญาตจัดสรรสำหรับที่ดินในโครงการที่กล่าวไว้ในบันทึกข้อตกลงซึ่งมีแนวเขตที่ดินที่ผู้ร้องประสงค์ให้วัดแก้วฟ้ามาชี้ระวังแนวเขตที่ดินด้วย เช่นนี้ ไม่ว่าผู้ร้องจะต้องรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 2626 และ 2627 ของผู้ร้องตามแนวตะเข็บที่ดินที่ติดกับลำรางสาธารณประโยชน์ซึ่งคั่นอยู่ระหว่างที่ดินของผู้ร้องกับวัดแก้วฟ้าออกไปเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 49728 หรือไม่ก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในโครงการซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของวัดแก้วฟ้า เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อันเป็นเงื่อนไขตามบันทึกข้อตกลงซึ่งระบุให้ผู้ร้องต้องถวายเงินแก่วัดแก้วฟ้า ผู้ร้องจึงต้องผูกพันและมีหน้าที่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ผู้ร้องหาอาจระงับสิทธิของวัดแก้วฟ้าโดยขอรับเงินที่วางไว้คืนไปจากศาลได้ไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375
โจทก์ทั้งสิบห้า จำเลยทั้งสิบเอ็ดและผู้ร้อง ทำบันทึกข้อตกลงกำหนดเงื่อนไขในการถอนฟ้องจำเลยทั้งสิบเอ็ด โดยให้ผู้ร้องไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพื้นที่พิพาทและถวายเงิน 5,000,000 บาท เพื่อเป็นสาธารณกุศลและสาธารณประโยชน์แก่วัดแก้วฟ้า ด้วยเจตนาให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นสืบเนื่องจากบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โจทก์ทั้งสิบห้าในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจใช้สิทธิอุทธรณ์เพื่อให้เกิดสภาพบังคับตามบันทึกข้อตกลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13875/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผูกพันรับผิดชอบหนี้จากการออกหนังสือค้ำประกัน ไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตามกฎหมาย
สัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ หากโจทก์ต้องชำระหนี้จากการที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อบริษัท อ. จำเลยที่ 1 จะรับผิดชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์นั้นเป็นสัญญาที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาผูกพันรับผิดต่อโจทก์โดยตรงจึงมิใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 แต่เป็นสัญญาธรรมดาซึ่งต้องบังคับตามข้อตกลงในสัญญาจะนำบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับมิได้ จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามข้อตกลงในคำขอนั้น เมื่อบริษัท อ. มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันทั้งสองฉบับอ้างว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันให้แก่บริษัท อ. และเมื่อโจทก์ชำระเงินจำนวน 10,000,000 บาท ให้แก่บริษัทดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินดังกล่าวไป จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในฐานะผู้จำนอง และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จำนำ ย่อมต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกัน สัญญาจำนอง และสัญญาจำนำด้วย
จำเลยทั้งห้าฎีกาว่า บริษัท อ. เป็นฝ่ายผิดสัญญากับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่มีความรับผิดต่อบริษัท อ. โดยจำเลยที่ 1 ทำหนังสือแจ้งให้โจทก์ระงับการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันแล้วนั้น เห็นว่า ข้อต่อสู้ดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท อ. ซึ่งตามคำขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกัน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 สละสิทธิที่จะโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้กับโจทก์ในการที่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้หรือโต้แย้งกับบริษัท อ. เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องไปว่ากล่าวเอากับบริษัท อ. เองต่างหาก จำเลยทั้งห้าจะอ้างเหตุดังกล่าวให้ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12616/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก & การระงับสิทธิ: สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมคงอยู่ แม้คู่สัญญาจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขภายหลัง
การตกลงกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 4 จ่ายเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 นอกจากเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง แล้ว ยังมีลักษณะเป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามมาตรา 374 ด้วย โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญาโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 4 ให้สั่งจ่ายเช็คค่างวดงานก่อสร้างแก่โจทก์โดยตรง อันเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อสิทธิของโจทก์ได้เกิดมีขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 คู่สัญญาย่อมไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์นั้นในภายหลังได้ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งระงับการโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างโดยให้จำเลยที่ 4 ส่งเงินค่าก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 โดยตรง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 375 ไม่มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ & สิทธิบุคคลภายนอก: สิทธิเรียกร้องเกิดเมื่อใด, อายุความ 10 ปี
บันทึกหลังทะเบียนการหย่า ที่ระบุว่าบ้านเลขที่ 11/1 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง พร้อมกับที่ดินปลูกสร้างบ้านยกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 บุตรทั้ง 3 คน นั้น เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ส. ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามได้และสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส. เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2531 นับถึงวันฟ้องวันที่ 9 เมษายน 2542 เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ที่ 1 จึงขาดอายุความ ส่วนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. เป็นกรณีสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกซึ่งสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอกดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาโดยให้โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญาให้ตนเมื่อต้นปี 2534 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ ส. โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญานับแต่เวลาที่แสดงเจตนาดังกล่าวซึ่งนับถึงวันฟ้องวันที่ 9 เมษยน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ขาดอายุความ ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในภายหลังได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375 ส. จึงไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ขอให้เพิกถอนการโอนให้โดยเสน่หาระหว่าง ส. กับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ & สิทธิบุคคลภายนอก: การโอนที่ดินเฉพาะส่วน & สิทธิเรียกร้อง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้นำคดีมาฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ ส. ถึงแก่ความตาย คดีของโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความ เป็นการฎีกาในทำนองว่าคดีของโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความในเรื่องมรดก ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ คงให้การต่อสู้ไว้เฉพาะอายุความในเรื่องสัญญา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บันทึกหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ที่ระบุว่าบ้านพร้อมกับที่ดินปลูกสร้างบ้านยกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 บุตรทั้ง 3 คน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ส. ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามได้และสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 193/30 มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ซึ่งสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอกดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาโดยให้โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญาให้ตนเมื่อต้นปี 2534 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ ส. โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญานับแต่เวลาที่แสดงเจตนาดังกล่าวซึ่งนับถึงวันฟ้องวันที่ 9 เมษายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกแล้ว ส. ไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในภายหลังได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375 ส. จึงไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้โดยเสน่หาระหว่าง ส. กับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7978/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมจำนองสินสมรสโดยไม่สุจริต และผลของการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส
จำเลยที่ 1 นำทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสไปจำนองแก่ธนาคารจำเลยที่ 2 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) แต่จำเลยที่ 2 กลับรับจำนองไว้ โดยอ้างว่า ว. ซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมแล้ว ย่อมถือได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำนิติกรรมจำนองโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินที่ให้จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทนั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแก่จำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 1469 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอหย่าและขอแบ่งสินสมรส และศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว อันเป็นการใช้สิทธิบอกล้างในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากัน ดังนั้น เมื่อโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ย่อมทำให้สัญญาดังกล่าวสิ้นความผูกพัน ทำให้ทรัพย์สินกลับเป็นสินสมรสดังเดิม และเมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง จึงต้องถือว่าขณะฟ้องคดีนี้ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้สิ้นผลแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสอยู่ขณะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 คู่สมรสต้องขอเพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยรถยนต์: การฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนและอำนาจฟ้องของคู่สัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทไว้กับจำเลย โดยกำหนดวงเงินเป็นจำนวนแน่นอน ต่อมาระหว่างอายุสัญญารถยนต์คันดังกล่าวได้สูญหายไปในขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ได้ร้องทุกข์และแจ้งให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยเสีย ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนข้อที่ว่าเป็นสัญญาประกันภัยประเภทใด กรมธรรม์เลขที่เท่าใด เริ่มคุ้มครองและสิ้นสุดเมื่อใด เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้แนบกรมธรรม์ประกันภัยมาด้วย แต่มีคู่ฉบับอยู่ที่จำเลยแล้ว จึงเป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ทำสัญญาเช่ารถยนต์จากบริษัท ภ. และได้นำรถยนต์ดังกล่าวไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยโดยให้บริษัท ภ. เป็นผู้รับประโยชน์ โดยโจทก์เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก มีผลให้บุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้ และเมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังไม่ได้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 374 และมาตรา 375 อย่างไรก็ดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโจทก์มิได้สิ้นสิทธิที่จะฟ้องจำเลย เมื่อระหว่างระยะเวลาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวได้สูญหายไปขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์และจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ในฐานะเป็นคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่า บริษัท ภ. ผู้รับประโยชน์ได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาแล้วหรือไม่ และโจทก์ต้องรับผิดต่อผู้รับประโยชน์อยู่อีกหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม และสิทธิร้องสอดไม่เป็นไปตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความซึ่งโจทก์และจำเลยได้ทำไว้ต่อหน้าศาลในคดีอาญา เรียกเงินจำนวน 500,000 บาทที่จำเลยจะต้องชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันที่ 15 มกราคม 2538 แต่จำเลยไม่ชำระให้ในเวลาที่กำหนด จำเลยฟ้องแย้งโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวในข้อหายักยอกทรัพย์ ทำให้จำเลยไม่สามารถขอคืนเงินค่าปรับนายประกันจากศาลที่สั่งปรับนายประกันเป็นเงินจำนวน 500,000 บาทได้ และความเสียหายส่วนนี้เมื่อนำมาหักกลบกับจำนวนเงินตามฟ้องแล้วจำเลยไม่ต้องชำระเงินให้แก่โจทก์อีก และการที่โจทก์ไม่ดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ร้องสอดต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ ไม่สามารถทำการงานเป็นหลักแหล่งได้จึงให้โจทก์ชำระค่าเสียหายส่วนนี้แก่จำเลยทั้งสอง นับแต่วันผิดสัญญาถึงวันฟ้องจำนวน360,000 บาท และนับถัดจากวันฟ้องอีกเดือนละ 15,000 บาท จนกว่าโจทก์จะดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์นั้น ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าปรับนายประกันนั้นเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข เพราะไม่แน่ว่าจำเลยทั้งสองจะขอคืนเงินค่าปรับที่ศาลสั่งปรับนายประกันได้หรือไม่ ทั้งการนำเงินที่ได้คืนจากค่าปรับเพื่อนำมาหักกลบกับเงินที่ต้องชำระให้โจทก์ตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความนั้น ก็มิได้มีอยู่ในข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้ต่อกันข้ออ้างของจำเลยทั้งสองจึงเป็นข้ออ้างที่ยกขึ้นมาใหม่ และในส่วนของค่าเสียหายที่ผู้ร้องสอดไม่ได้ทำงานก็เป็นความเสียหายของผู้ร้องสอด มิใช่ความเสียหายของจำเลยแต่อย่างใด ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ได้กระทำต่อหน้าศาล จึงเป็นเรื่องโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น หาได้เกี่ยวกับผู้ร้องสอดไม่ ผู้ร้องสอดจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะใช้สิทธิในการร้องสอดได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม และผู้ร้องสอดไม่มีส่วนได้เสียในคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความซึ่งโจทก์และจำเลยได้ทำไว้ต่อหน้าศาลในคดีอาญาเรียกเงินจำนวน500,000บาทที่จำเลยจะต้องชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันที่15มกราคม2538แต่จำเลยไม่ชำระให้ในเวลาที่กำหนดจำเลยฟ้องแย้งโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นจำเลยที่1ในคดีดังกล่าวในข้อหายักยอกทรัพย์ทำให้จำเลยไม่สามารถขอคืนเงินค่าปรับนายประกันจากศาลที่สั่งปรับนายประกันเป็นเงินจำนวน500,000บาทได้และความเสียหายส่วนนี้เมื่อนำมาหักกลบกับจำนวนเงินตามฟ้องแล้วจำเลยไม่ต้องชำระเงินให้แก่โจทก์อีกและการที่โจทก์ไม่ดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ร้องสอดต้องหลบๆซ่อนๆไม่สามารถทำการงานเป็นหลักแหล่งได้จึงให้โจทก์ชำระค่าเสียหายส่วนนี้แก่จำเลยทั้งสองนับแต่วันผิดสัญญาถึงวันฟ้องจำนวน360,000บาทและนับถัดจากวันฟ้องอีกเดือนละ15,000บาทจนกว่าโจทก์จะดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์นั้นฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในส่วนนี้เกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าปรับนายประกันนั้นเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขเพราะไม่แน่ว่าจำเลยทั้งสองจะขอคืนเงินค่าปรับที่ศาลสั่งปรับนายประกันได้หรือไม่ทั้งการนำเงินที่ได้คืนจากค่าปรับเพื่อนำมาหักกลบกับเงินที่ต้องชำระให้โจทก์ตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความนั้นก็มิได้มีอยู่ในข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้ต่อกันข้ออ้างของจำเลยทั้งสองจึงเป็นข้ออ้างที่ยกขึ้นและในส่วนของค่าเสียหายที่ผู้ร้องสอดไม่ได้ทำงานก็เป็นความเสียหายของผู้ร้องสอดมิใช่ความเสียหายของจำเลยแต่อย่างใดฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสามและมาตรา179วรรคท้าย โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ได้กระทำต่อหน้าศาลจึงเป็นเรื่องโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้นหาได้เกี่ยวกับผู้ร้องสอดไม่ผู้ร้องสอดจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะใช้สิทธิในการร้องสอดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาเช่าและการกำหนดค่าเสียหายจากการระงับสิทธิเช่าเดิม
จำเลยที่5โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมายล.8ซึ่งจำเลยที่5ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่1และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่ กรมธนารักษ์แจ้งมาและโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่5ไกล่เกลี่ยแม้จำเลยที่1ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5แล้วดังนั้นจำเลยที่1และที่5จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา375 แม้จะได้ความว่าจำเลยที่2และที่3เป็นบุตรของ ว.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ย่อมจะรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่1และจำเลยที่5อันจะถือได้ว่าจำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่5โดยไม่สุจริตก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่4จำเลยที่4ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่4รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตแต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่4ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมาซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่4ไม่สุจริตด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่4กับจำเลยที่5ได้ สัญญาระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่5เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่1และที่5แล้วการที่จำเลยที่1และที่5ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่1และที่5จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่1เท่านั้นจึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องสำหรับจำเลยที่2และที่3นั้นมิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองส่วนจำเลยที่4นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
of 7