คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประศาสน์ ธำรงกาญจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วมผู้ตาย: ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์แทน
ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้วตายลง แม้ผู้ร้องจะเป็นพี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายซึ่งเกิดจากบิดามารดาเดียวกัน และเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตายด้วยก็ตาม แต่ผู้ร้องมิใช่บุคคลตามป.วิ.อ. มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายโดยอนุโลมต่อไปได้ ดังนั้นผู้ร้องจึงหามีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ หรือคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, พยายามฆ่า, มีอาวุธปืนเถื่อน และพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคสาม กับความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามมาตรา 289(2) ประกอบมาตรา 80เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง และต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ทางสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง 72 ทวิ วรรคสอง เพราะการกระทำตามความผิดดังกล่าวมีการกระทำที่แยกจากกันเป็นแต่ละฐานความผิดได้ชัดเจน ไม่เกี่ยวเนื่องกัน ความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ทางสาธารณะเพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละอันแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, พยายามฆ่า, มีอาวุธปืน, พาอาวุธปืน
ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 140 วรรคสาม กับความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามมาตรา 289(2) ประกอบมาตรา 80 เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง และต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ทางสาธารณะตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา8 ทวิ วรรคหนึ่ง 72 วรรคสอง เพราะการกระทำที่แยกจากกันเป็นแต่ละฐานความผิดได้ชัดเจนไม่เกี่ยวเนื่องกัน ความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ทางสาธารณะ เพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละอันแตกต่างกัน และเป็นความผิดต่างฐานกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, พยายามฆ่า, มีอาวุธปืน, พาอาวุธปืน
ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคสาม กับความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (2) ประกอบมาตรา 80 เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 55 78 วรรคหนึ่ง และต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะ ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง เพราะการกระทำตามความผิดดังกล่าวมีการกระทำที่แยกจากกันเป็นแต่ละฐานความผิดได้ชัดเจน ไม่เกี่ยวเนื่องกัน
ความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะ เพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละอันแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถบรรทุก, หลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ, ไม่รอการลงโทษ, พฤติการณ์ร้ายแรง
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกขนาดหนักด้วย ความประมาทแซง ขึ้นหน้ารถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่ข้างหน้าล้ำ เข้าไปในเขตช่องทาง เดินรถด้าน ตรงข้าม ทั้งที่มีรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ กำลังแล่นสวนทางมา เป็น เหตุให้เกิดภัยพิบัติแก่ชีวิต ผู้โดยสารและทรัพย์สิน นอกจาก จะถือ เป็นพฤติการณ์แห่งการกระทำที่ร้ายแรงแล้ว การที่จำเลย กลับขับรถหลบ หนีไปโดย ไม่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บและ ไม่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุ ยังแสดงออก ซึ่ง การกระทำที่ไร้ มนุษยธรรม ด้วย ส่วนที่จำเลยได้ รีบติดต่อ นายจ้างให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นที่พอใจแก่ผู้เสียหายทุกคน ก็เป็นเพียงความประสงค์เพื่อยุติข้อพิพาททางแพ่งของฝ่ายนายจ้าง หาใช่เป็นการกระทำด้วยความสำนึกในความรับผิดชอบของจำเลยไม่ จึงไม่มีเหตุผลพอ ที่จะให้รอการลงโทษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม: การบรรยายลักษณะการรุกล้ำที่ดินไม่จำเป็นต้องระบุเนื้อที่ หากระบุสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยก่อสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทางด้าน ทิศตะวันออก ซึ่ง ติด กับที่ดินของจำเลย ขอให้จำเลยรื้อรั้วออกไปจากที่ดินโจทก์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้ แสดงโดย แจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนจำเลยจะบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์เท่าใด เป็นเพียงรายละเอียดซึ่ง โจทก์อาจนำสืบได้ ในชั้น พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายิงโดยตรงแม้พลาดเป้า ถือเป็นความพยายามฆ่าได้
จำเลยใช้ อาวุธปืนลูกซองยาวยิงผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายกำลังไขกุญแจบ้าน แต่ เป็นจังหวะ เดียว กันกับที่ผู้เสียหายถอย หลังออกมาเพื่อให้แสงสว่างส่องให้เห็นลูกกุญแจ กระสุนปืนจึงไม่ถูกผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีไปบ้านนาง ป. จำเลยจึงยิงปืนมาอีก 1 นัด และตาม ไปร้องตะโกน ด่า ท้าทายอยู่หน้าบ้านนาง ป.ย้ำ ให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าประสงค์จะยิงผู้เสียหายมิใช่เป็นการร้องขู่ และจากการตรวจ ที่ เกิด เหตุพบรู กระสุนปืนลูกซองที่ประตูบ้าน 9 รู ที่ฝาปูนซีเมนต์ข้างประตู 8 รู ที่เพดานชั้นล่างหน้าประตู 4 รู ที่ฝา กระดาน ชั้น ที่สองตรง ห้องนอนของผู้เสียหาย9 รู รู กระสุนปืนที่ชั้นล่างสูงจากพื้นระดับหน้าอกและทะลุเข้าในบ้านถูก ตู้กระจกซึ่ง อยู่ตรงกันข้ามแตก แม้อาวุธปืนที่จำเลยใช้ ยิงเป็นปืนลูกซองยาว แต่ โอกาสที่จะยิงพลาดก็ย่อมมีได้ เพราะจำเลยอาจยิงปืนไม่แม่น และไม่มีความชำนาญ ในการใช้ อาวุธปืน หาใช่เพราะจำเลยไม่มีเจตนายิงผู้เสียหายไม่ ประกอบกับเป็นจังหวะ เดียว กันกับที่ผู้เสียหายถอย หลังเพื่อให้เห็นลูกกุญแจที่จะไข มิใช่ว่าถ้า เป็นอาวุธปืนลูกซองแล้วจะต้อง ยิงถูก เสมอไป ข้อเท็จจริงดังกล่าวเชื่อได้ ว่าจำเลยได้ ใช้ อาวุธปืนยิงผู้เสียหายโดย มีเจตนาฆ่าจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกระทงความผิดหลายกรรมในคดีอาญา: ลดโทษแล้วจึงรวมกระทง
จำเลยกระทำผิดฐาน พยายามฆ่าผู้อื่นโดย ไตร่ตรอง ไว้ก่อนตามป.อ. มาตรา 289(4)80 ฐาน มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง และพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้าน และทางสาธารณะโดย ไม่ได้รับอนุญาตตามพ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 772 วรรคสาม 8 ทวิ วรรคแรก 72 ทวิ วรรคสองศาลวางโทษจำคุกตลอด ชีวิต 3 ปี 6 เดือน และ 9 เดือน ตาม ลำดับ จำเลยให้การรับสารภาพต่อ ศาลเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้กึ่งหนึ่งโทษจำคุกตลอด ชีวิต เปลี่ยนเป็นโทษจำคุก 50 ปี จึง เหลือ 25 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 5378 และโทษจำคุกฐาน มีอาวุธปืน ไว้ในความครอบครองและพาอาวุธปืน คงเหลือโทษจำคุก 9 เดือน และ 4 เดือน 15 วัน ตาม ลำดับ รวมกระทงความผิดทั้งหมดเป็นโทษ จำคุก 25 ปี 13 เดือน 15 วัน ดังนี้ แม้ จำเลยต้องโทษสำหรับกระทง ที่ศาลกำหนดโทษจำคุกตลอด ชีวิต แล้ว ก็สามารถนำโทษสำหรับความผิด กระทงอื่นมารวมเข้าอีก เพราะการปรับบทลงโทษจำคุกในคดีนี้ ยังจะต้อง ลดโทษจำคุกในความผิดแต่ ละกระทงเสียก่อนจึงจะนำโทษ จำคุกที่ลดแล้วมารวมกัน ทั้งกรณีมิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลยแต่ เป็น การเรียงกระทงลงโทษในการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรม ตาม ป.อ. มาตรา 91.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญาตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่ได้ยกขึ้นในศาลล่าง
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังนี้ เมื่อเป็นคดีความผิดตาม มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน จึงมีกำหนดอายุความฟ้องคดี1 ปี โจทก์ฟ้องจำเลยหลังเกิดเหตุเกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการสอบสวนของกองปราบปรามในคดีอาญาที่เกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักรชอบด้วยกฎหมาย
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยออกโดย อาศัยอำนาจตาม ความในมาตรา 6แห่ง พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.อ. และตาม บทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร และตาม ระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยกำหนดหน้าที่การงานในราชการกรมตำรวจ (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2519ข้อ 15(ก)7 กำหนดให้กองกำกับการ 7 ซึ่ง เป็นหน่วยงานสังกัดกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่สืบสวนคดีอาญาต่าง ๆ ตาม กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ฯลฯ ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น การสอบสวนคดีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ ซึ่ง มิได้ทำการสอบสวนโดย พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ความผิดได้ เกิดขึ้น แต่ เป็นการสอบสวนโดย เจ้าพนักงานตำรวจแผนก 3 กองกำกับการ 7 กองปราบปราม จึงถือ ว่าเป็นการสอบสวนโดยเจ้าพนักงานซึ่ง กฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน และเป็นการสอบสวนที่ ชอบด้วย กฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(6)120พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องคดีต่อ ศาลอาญา ซึ่ง มี อำนาจรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจได้.
of 26