พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทละเว้นนำเช็คของบริษัทเข้าบัญชี ทำให้บริษัทขาดประโยชน์ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ห้างหุ้นส่วนบริษัท
เช็คที่ลูกค้าจ่ายให้แก่บริษัท จำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองในฐานะกรรมการของบริษัทมีหน้าที่ต้องนำเช็คทั้งหมดเข้าบัญชีของบริษัทเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็ค แต่จำเลยไม่นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินและไม่นำเงินมาลงบัญชีเป็นรายได้ของบริษัทเพื่อลวงให้บริษัทและผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ คดีโจทก์จึงมีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดสมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของคู่สัญญาสำคัญกว่าข้อตกลงในสัญญา หากมีการผ่อนผันและรับชำระหนี้ต่อเนื่อง สัญญาเดิมยังคงมีผล
แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและผู้เช่าซื้อต้อง ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อโดยพลันก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่ต้นตลอดมา โดยมิได้ชำระตรงตามกำหนดแต่ละงวด ซึ่งโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อก็ผ่อนผัน ยอมรับค่าเช่าซื้อที่ชำระไม่ครบตามกำหนดนั้นตลอดมา แสดงว่า โจทก์ไม่ถือเอาข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ แต่โจทก์กลับยังถือว่า สัญญาเช่าซื้อมีผลต่อไป จึงได้ยอมรับค่าเช่าซื้อไว้ เมื่อคู่สัญญา มีเจตนาถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังมีผลต่อกัน และต่อมาก็มิได้มีการ บอกเลิกสัญญาแก่กันเช่นนี้ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียก ค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่าข้อตกลง หากมีการผ่อนผันและยอมรับชำระหนี้ต่อเนื่อง แม้มีข้อตกลงเลิกสัญญา
แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและผู้เช่าซื้อต้อง ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อโดยพลันก็ตาม แต่ ปรากฏว่าจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่ต้นตลอดมา โดย มิได้ชำระตรงตามกำหนดแต่ละงวด ซึ่งโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อก็ผ่อนผัน ยอมรับค่าเช่าซื้อที่ชำระไม่ตรงตามกำหนดนั้นตลอดมา แสดงว่าโจทก์ ไม่ถือเอาข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญแต่โจทก์กลับยังถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังมีผลต่อไปจึงได้ยอมรับค่าเช่าซื้อไว้ เมื่อคู่สัญญามี เจตนาถือว่าสัญญาเช่าซื้อ ยัง มีผลต่อกัน และต่อมาก็มิได้มีการบอกเลิก สัญญาแก่กันเช่นนี้โจทก์จึง ยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันหรือไม่ เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระ แต่ผู้ให้เช่าซื้อยังรับชำระต่อเนื่อง
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดใด ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและผู้เช่าซื้อต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อโดยพลัน แต่ทางปฏิบัติจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแต่ละงวดหลังจากครบกำหนดแล้ว โจทก์ก็ผ่อนผันยอมรับชำระตลอดมา โจทก์ก็อ้างในคำฟ้องว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 17 แต่หลังจากนั้นโจทก์ยังยินยอมรับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 อีกหลายครั้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ถือเอาข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ แต่ถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังมีผลต่อไป เมื่อคู่สัญญามีเจตนาถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังมีผลต่อกัน และต่อมามิได้มีการบอกเลิกสัญญาแก่กัน โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง คำฟ้องของโจทก์มิได้อ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แต่โจทก์อ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อจำเลยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 17 ที่โจทก์ฎีกาว่าการที่โจทก์ยึดรถคืนกลับมาถือได้ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 คู่สัญญาต้องกลับสู่ฐานะเดิม จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยเจตนาและเหตุผลในการกระทำ: บันดาลโทสะ vs. ปกปิดความผิด
ตอนแรกจำเลยที่ 1 ใช้ไม้ตี ก. เพราะถูก ก. ดุ ด่า และทำร้ายร่างกาย แต่หลังจาก ก. ดุด่าและทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1แล้ว ก. ได้เดินเข้าไปนั่งซ่อมโทรศัพท์อยู่ในห้อง จำเลยที่ 1เดินไปหาไม้ที่หลังบ้านมีช่วงเวลาที่จะคิดได้ว่าสมควรทำร้าย ก.หรือไม่ จำเลยที่ 1 หาไม่ได้แล้วเดินเข้าไปตี ก. ในขณะที่กำลังนั่งซ่อมโทรศัพท์อยู่ ก. ยังมีลมหายใจอยู่และส่งเสียงร้องจำเลยที่ 1 เกรงว่าเพื่อนบ้านจะได้ยินเสียงร้อง จึงใช้ผ้ารัดคอโดยแรงจนกระทั่งแน่นิ่งไปซึ่งเป็นการกระทำที่มีสาเหตุมาจากเกรงว่าเพื่อนบ้านจะได้ยินเสียงร้อง มิใช่เพราะสาเหตุถูกข่มเหงจึงมิใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 หลังจากจำเลยที่ 1 ฆ่า ก. แล้ว ขณะกำลังหาที่ซุกซ่อนศพและกลบเกลื่อนหลักฐานอยู่นั้น ส. บุตร ก. ได้เข้ามาเห็นสภาพภายในห้องที่เกิดเหตุซึ่งมีพิรุธผิดสังเกต จำเลยที่ 1เห็นเช่นนั้นก็ใช้ไม้ตี ส. เพื่อปกปิดความผิดฐานฆ่า ก.การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฆ่า ส. เพื่อปกปิดความผิดอื่นและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ตี ส.หลายทีเมื่อส. ยังไม่ตาย จึงใช้ผ้ารัดคออีกจนถึงแก่ความตาย เป็นวิธีธรรมดาในการฆ่าให้ถึงแก่ความตายไป มิใช่เป็นการฆ่าโดยทารุณโหดร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง/ค้ำประกันครอบคลุมหนี้ต่อเนื่อง การชำระหนี้เดิมไม่ถึงแก่การระงับสิทธิของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้รับเงินตามสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินไปแล้ว แต่ทางพิจารณากลับนำสืบว่าไม่มีการจ่ายเงินกัน แต่โจทก์โอนเงินเข้าบัญชีแทน ดังนี้ การนำสืบของโจทก์เป็นการนำสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการรับเงินของจำเลย ไม่เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงต่างฟ้อง ไม่ต้องห้ามการนำสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองมีว่า ผู้จำนองได้จำนองเป็นประกันหนี้ซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้อยู่แล้วและในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งในภายหน้า ในเรื่องการกู้ยืมเงิน การเบิกเงินเกินบัญชีและหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทุกประเภทที่เป็นหนี้แก่ผู้รับจำนองทั้งหมด รวมทั้งการขอรับเงินสินเชื่อประเภทหมุนเวียนอันเป็นประเพณีการให้สินเชื่อของผู้รับจำนอง ซึ่งผู้รับจำนองทราบดีอยู่แล้วด้วย รวมวงเงิน10,000,000 บาท ดังนี้ การจำนองย่อมมีผลเป็นการประกันหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นและเป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ไม่ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือหนี้ที่เกิดขึ้นในอนาคตในวงเงินไม่เกิน 10,000,000 บาท
สัญญาค้ำประกันมีข้อตกลงระบุถึงลักษณะของหนี้ที่ค้ำประกัน โดยไม่มีข้อตกลงว่าค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินคราวใดคราวหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อฟังว่าหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินที่จำเลยค้ำประกันยังไม่ได้มีการชำระ จำเลยไม่หลุดพ้นจากความรับผิด แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกการค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน และโจทกได้รับหนังสือบอกเลิกแล้วแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยบอกเลิก จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองมีว่า ผู้จำนองได้จำนองเป็นประกันหนี้ซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้อยู่แล้วและในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งในภายหน้า ในเรื่องการกู้ยืมเงิน การเบิกเงินเกินบัญชีและหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทุกประเภทที่เป็นหนี้แก่ผู้รับจำนองทั้งหมด รวมทั้งการขอรับเงินสินเชื่อประเภทหมุนเวียนอันเป็นประเพณีการให้สินเชื่อของผู้รับจำนอง ซึ่งผู้รับจำนองทราบดีอยู่แล้วด้วย รวมวงเงิน10,000,000 บาท ดังนี้ การจำนองย่อมมีผลเป็นการประกันหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นและเป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ไม่ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือหนี้ที่เกิดขึ้นในอนาคตในวงเงินไม่เกิน 10,000,000 บาท
สัญญาค้ำประกันมีข้อตกลงระบุถึงลักษณะของหนี้ที่ค้ำประกัน โดยไม่มีข้อตกลงว่าค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินคราวใดคราวหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อฟังว่าหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินที่จำเลยค้ำประกันยังไม่ได้มีการชำระ จำเลยไม่หลุดพ้นจากความรับผิด แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกการค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน และโจทกได้รับหนังสือบอกเลิกแล้วแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยบอกเลิก จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองและค้ำประกันครอบคลุมหนี้ต่อเนื่องจากการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้มีการบอกเลิกค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้รับเงินตามสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินไปแล้ว แต่ทางพิจารณากลับนำสืบว่าไม่มีการจ่ายเงินกัน แต่โจทก์โอนเงินเข้าบัญชีแทน ดังนี้ การนำสืบของโจทก์เป็นการนำสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการรับเงินของจำเลย ไม่เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงต่างฟ้อง ไม่ต้องห้ามการนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองมีว่า ผู้จำนองได้จำนองเป็นประกันหนี้ซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้อยู่แล้วและในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งในภายหน้า ในเรื่องการกู้ยืมเงิน การเบิกเงินเกินบัญชีและหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทุกประเภทที่เป็นหนี้แก่ผู้รับจำนองทั้งหมด รวมทั้งการขอรับเงินสินเชื่อประเภทหมุนเวียนอันเป็นประเพณีการให้สินเชื่อของผู้รับจำนอง ซึ่งผู้รับจำนองทราบดีอยู่แล้วด้วย รวมวงเงิน10,000,000 บาท ดังนี้ การจำนองย่อมมีผลเป็นการประกันหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นและเป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ไม่ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือหนี้ที่เกิดขึ้นในอนาคตในวงเงินไม่เกิน 10,000,000 บาท สัญญาค้ำประกันมีข้อตกลงระบุถึงลักษณะของหนี้ที่ค้ำประกันโดยไม่มีข้อตกลงว่าค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินคราวใดคราวหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อฟังว่าหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินที่จำเลยค้ำประกันยังไม่ได้มีการชำระ จำเลยไม่หลุดพ้นจากความรับผิด แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกการค้าประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน และโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกแล้วแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยบอกเลิก จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: หนังสือแจ้งความประสงค์เกษียณถือเป็นการเลิกจ้าง แม้ไม่ต่ออายุสัญญา
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่1 มกราคม 2531 แต่โจทก์ก็ยังกล่าวอ้างต่อไปว่าจำเลยเลิกจ้าง โจทก์เพราะเกษียณอายุ เช่นนี้ คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุหรือไม่ จำเลยมีหนังสือแจ้งต่อโจทก์ว่า โจทก์จะต้องเกษียณอายุในเดือนพฤศจิกายน 2529 และยังมีหนังสือแจ้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการเกษียณอายุว่า "ตามนโยบายของบริษัทท่านได้บรรลุถึงการเกษียณอายุในวันที่ 2พฤศจิกายน 2529..." เช่นนี้ ตามหนังสือดังกล่าวย่อมแปลความ ได้ว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุแล้วตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2529 เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่จ่ายค่าชดเชย จำเลย จึงต้องจ่ายค่าชดเชย ให้ แก่โจทก์ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุอยู่แล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำวินิจฉัย ของศาลแรงงานกลางว่า การที่จำเลยไม่ต่ออายุสัญญาจ้าง ให้โจทก์หลังจากครบกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน เป็นการเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยนั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งแยกโฉนดและการแสดงกรรมสิทธิ์จากการครอบครอง: จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องแบ่งแยกโฉนด แม้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครอง
การฟ้องบังคับจำเลยให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทและโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามป.พ.พ. มาตรา 1383 นั้น เป็นกรณีที่จำเลยไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องไปแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทและโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ดังนี้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแต่เมื่อโจทก์มีคำขอให้พิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทด้วยจึงควรวินิจฉัยข้อนี้ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือและผลของการขาดการฟ้องร้องเรียกคืนที่ดิน ทำให้สิทธิครอบครองตกเป็นของผู้ครอบครอง
จ. ภรรยาโจทก์เป็นหนี้เงินกู้จำเลยและไม่สามารถชำระหนี้ได้จึงมอบที่ดินตาม น.ส.3 ก. ของโจทก์ให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยต่อมาปี 2527 โจทก์กับ จ. ทวงถาม น.ส.3 ก. คืนจากจำเลยแต่จำเลยไม่คืนให้อ้างว่าที่ดินเป็นของจำเลยแล้ว และจำเลยเป็นผู้ทำกินในที่ดินพิพาทตลอดมา ถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลย