พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดสัญญาและการละเมิดจากการร้องเรียนต่อหน่วยงาน และการชำระค่าขึ้นศาลในคดีที่มีหลายข้อหา
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด ต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ซึ่งต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหาแต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกัน โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานผิดสัญญาข้อหาหนึ่ง และฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดอีกข้อหาหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหา 2 ข้อหาและแยกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้ง 2 ข้อหา โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลสงขลานครินทร์โดยโจทก์ได้ทำสัญญาซื้อและติดตั้งลิฟต์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ได้ส่งมอบลิฟต์และติดตั้งลิฟต์ให้แก่โจทก์เรียบร้อยแล้ว โจทก์ได้รับเงินจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในงานส่วนติดตั้งลิฟต์แล้วแต่ไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ร้องเรียนต่อมหาวิทยาลัยว่าโจทก์ไม่จ่ายเงินค่าลิฟต์และค่าติดตั้งลิฟต์ให้จำเลยที่ 1 มหาวิทยาลัยได้เรียกโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปไกล่เกลี่ยในที่สุดโจทก์ตกลงจ่ายค่าลิฟต์ให้จำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่จ่ายอีกการที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนโจทก์ต่อมหาวิทยาลัยเป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 จะกระทำได้โดยชอบหาเป็นการละเมิดโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีแพ่ง: การฟ้องหลายข้อหา (ผิดสัญญา/ละเมิด) และการร้องเรียนต่อบุคคลที่สาม
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาข้อหาหนึ่ง และฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดอีกข้อหาหนึ่งคำฟ้องของโจทก์จึง เป็นการเสนอข้อหา 2 ข้อหา และแยกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสีย ค่าขึ้นศาลทั้ง 2 ข้อหา โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยโจทก์ได้ทำสัญญาซื้อและติดตั้งลิฟต์ กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ ส่งมอบลิฟต์ และติดตั้งลิฟต์ ให้แก่โจทก์เรียบร้อยแล้ว โจทก์ได้รับ เงินจากมหาวิทยาลัยในงานส่วนติดตั้งลิฟต์ แล้ว แต่ไม่ยอมจ่ายเงิน ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ร้องเรียนต่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยได้เรียกโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปไกล่เกลี่ยในที่สุดโจทก์ตกลงจ่ายค่าลิฟต์ ให้จำเลยที่ 1 แต่ก็ ไม่จ่ายอีก เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนโจทก์ต่อมหาวิทยาลัย ดังกล่าว เป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 จะกระทำได้โดยชอบ หาเป็น การละเมิดโจทก์ไม่ พยานจำเลยที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานไปนั้น จะเบิกความถึงข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นคุณแก่จำเลยอยู่แล้ว การที่ ศาลชั้นต้นงดสืบพยานจำเลยไม่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นงดสืบพยานไม่ชอบ จึงไม่ เป็นสาระอันควรวินิจฉัยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายลิฟต์, เบี้ยปรับ, การร้องเรียน, และการเบิกความเท็จ ผลกระทบต่อความรับผิดทางแพ่ง
การที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบลิฟต์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาและโจทก์ได้รับเงินจากมหาวิทยาลัยผู้ว่าจ้างก่อสร้างอาคารในงานส่วนติดตั้งลิฟต์แล้วแต่ไม่ยอมจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงร้องเรียนต่อมหาวิทยาลัยผู้ว่าจ้าง มหาวิทยาลัยจึงเรียกโจทก์และจำเลยที่ 1ไปไกล่เกลี่ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนต่อมหาวิทยาลัยเป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่จะกระทำได้โดยชอบธรรม ไม่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์จึงไม่เป็นละเมิด จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 สิทธิตามสัญญาจึงเป็นอันระงับสิ้นไปนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้จึงไม่มีประเด็นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.ไม่ได้บัญญัติว่า คดีหนึ่งเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาท ฉะนั้นในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใดจึงต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ซึ่งป.วิ.พ. มาตรา 1(3) บัญญัติว่า คำฟ้องหมายความว่ากระบวนพิจารณาใด ๆที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกกันเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาข้อหาหนึ่งและฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดอีกข้อหาหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาสองข้อหาและแยกจากกันได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสองข้อหา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ผู้เช่า: ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และการต่อสู้กรรมสิทธิ์ทำให้ฎีกาไม่รับ
จำเลยเช่าที่พิพาทมีค่าเช่าตามสัญญาในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละห้าพันบาท แม้โจทก์กล่าวในฟ้องว่าหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท เงินจำนวนดังกล่าวไม่ใช่ค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นฟ้อง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก และวรรคสอง อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยยื่นฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่ผู้เช่า: ศาลฎีกาวินิจฉัยฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่มีแผนที่แนวเขตที่ดิน และการมอบอำนาจไม่จำต้องระบุศาล
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกสร้างตึกแถวต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงได้บอกเลิกการเช่าและให้รื้อถอนขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินที่เช่าในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปด้วย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงถึงสภาพแห่งข้อหาคือสัญญาเช่า ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือโจทก์ไม่ประสงค์จะให้เช่าต่อไป และได้บอกเลิกการเช่าแล้ว คำขอบังคับคือให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวและขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินโจทก์ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว และจำเลยก็เข้าใจคำฟ้องได้ดี ดังที่ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินจำเลยมิได้เช่าที่ดังกล่าวจากโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมที่โจทก์ไม่ระบุว่าจำเลยเช่าที่ดินตรงทิศไหน มุมไหน หรือส่วนไหนของโฉนด ไม่ทำแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินที่อ้างว่าจำเลยเช่าแนบมากับฟ้องนั้น ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่จำต้องระบุว่าให้ฟ้องที่ศาลไหนเพราะการจะฟ้องคดีที่ไหนนั้นต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่ผู้เช่า: คำฟ้องไม่เคลือบคลุม, หนังสือมอบอำนาจชอบ, ประเด็นใหม่ห้ามฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเช่าที่ดินโจทก์ปลูกสร้างโรงเรือนเลขที่ 520 โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไปจึงบอกเลิกการเช่าและให้รื้อถอนขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินที่เช่าขอให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวเลขที่ 520 ออกจากที่ดินโจทก์ ทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปด้วย ฟ้องโจทก์จึงแสดงถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอคำบังคับตามป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่ระบุว่าจำเลยเช่าที่ดินตรงทิศไหน มุมไหน หรือส่วนไหนของโฉนด ไม่ทำแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินที่อ้างว่าจำเลยเช่าแนบมากับฟ้องนั้น ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่จำต้องระบุว่าให้ฟ้องที่ศาลไหนเพราะการจะฟ้องคดีที่ไหนนั้นต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ฎีกาที่ว่าโจทก์ไม่ได้มาเบิกความยืนยันว่าได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจศาลไม่ควรเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคสอง ส่วนปัญหาว่าบ้านของจำเลยอยู่คนละแห่งกับที่ดินของโจทก์นั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามมาตรา 249 แม้จำเลยจะยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ จำเลยก็ไม่มีสิทธิฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 แม้มีคำพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คฉบับเดียวกัน ศาลแพ่งไม่ต้องผูกพันตาม
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งจ่ายแก่ผู้ถือและโจทก์เป็นผู้ครอบครองเช็คพิพาทไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้เช็คมาไว้ในความครอบครองโดยไม่ชอบอย่างไร จำเลยให้การปฏิเสธลอย ๆ ว่าบริษัทอ.มิได้นำเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 ที่จำเลยให้การว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้นั้น ก็เป็นการกล่าวอ้างถึงมูลหนี้ระหว่างจำเลยกับ ก. โดยมิได้ให้การว่าโจทก์กับ ก. คบคิดกันฉ้อฉล จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกแทนที่และการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีคนสาบสูญ กรณีผู้รับมรดกแทนที่ยังมีชีวิตอยู่
ผู้ร้องไม่มีสิทธิรับมรดกของ ผ.แทนที่ท. บิดาของผู้ร้องเพราะขณะที่ถือว่า ผ.ถึงแก่ความตายนั้นท. ยังมีชีวิตอยู่ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมรดกของบุคคลสาบสูญ: ผู้ร้องต้องมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้มีสิทธิเดิมที่ยังมีชีวิตอยู่
ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ.เป็นคนสาบสูญโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ผ.แทนที่ท. บิดาผู้ร้องซึ่งเป็นลุงของ ผ.ดังนี้หากศาลสั่งให้ผ. เป็นคนสาบสูญตามกฎหมายก็ต้องถือว่า ผ. ถึงแก่ความตายเมื่อครบ 7 ปี นับแต่ไปจากภูมิลำเนา คิดแล้วไม่เกินปี พ.ศ. 2476 เพราะ ผ. ไปจากภูมิลำเนาเมื่อปี พ.ศ. 2469 แต่ ท. บิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2478 ดังนั้น ถึง ท.จะมีสิทธิรับมรดกของผ.ในฐานะลุงดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของผ.แทนที่ท.เพราะขณะที่ถือว่าผ. ถึงแก่ความตายนั้นท.ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมรดกของคนสาบสูญ: ผู้ร้องต้องมีสิทธิรับมรดกแทนที่ก่อนที่ผู้สาบสูญถึงแก่ความตาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ผ. ดังนี้ หากศาลสั่งให้ ผ.เป็นคนสาบสูญตามกฎหมายก็ต้องถือว่าผ. ถึงแก่ความตายเมื่อครบ 7 ปี นับแต่ไปจากภูมิลำเนา คิดแล้วไม่เกินปี พ.ศ. 2476 แต่ท.บิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมเมื่อปีพ.ศ.2478ดังนั้นถึงท.จะมีสิทธิรับมรดกของ ผ. ในฐานะลุง ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของ ผ.แทนที่ท.เพราะขณะที่ถือว่าผ.ถึงแก่ความตายนั้นท. ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญ