พบผลลัพธ์ทั้งหมด 796 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยพยานหลักฐานและการพิสูจน์ความเสียหายในคดีอาญา ศาลใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์ว่า สัญญาซื้อขายหุ้นทำระหว่าง ว. กับจำเลยโดยโจทก์ไม่เกี่ยวข้อง ทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ในชั้นไต่สวนและในชั้นพิจารณากับข้อเท็จจริงคงได้จากพยานหลักฐานว่า ว. ให้โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีแทน โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบจึงไม่เป็นผู้เสียหาย แม้คำวินิจฉัยจะมิได้กล่าวไปถึงคำเบิกความของ ว. ที่ว่า ว. นำเช็คพิพาทไปแบ่งให้แก่โจทก์ เพราะเดิมโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามสัญญาซื้อขายหุ้นเอกสารหมาย จ. 2 จะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม แต่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับสัญญาขายหุ้นทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ ดังนี้เท่ากับแสดงว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักคำเบิกความของ ว. ดังกล่าวแล้วว่าไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั่นเอง ดังนั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในคดีนี้จนครบถ้วนเท่ากับยังไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงไปตามคำเบิกความทั้งหมดของพยานโจทก์คือตัว ว. เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์อ้างเป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นผู้เสียหาย อันถือว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ แม้มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็มีอำนาจยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246
สัญญากู้ยืมระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารโจทก์ แต่ตามประกาศกำหนดดอกเบี้ยของโจทก์ในขณะทำสัญญากู้ยืมกำหนดอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลาร้อยละ14.50 ต่อปี ไม่มีข้อความตอนใดในประกาศดังกล่าวที่กำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้ยืมจึงสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิจะเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และขัดต่อ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯมาตรา 3(ก) ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ในสัญญากู้ยืมจึงตกเป็นโมฆะ
สัญญากู้ยืมระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารโจทก์ แต่ตามประกาศกำหนดดอกเบี้ยของโจทก์ในขณะทำสัญญากู้ยืมกำหนดอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลาร้อยละ14.50 ต่อปี ไม่มีข้อความตอนใดในประกาศดังกล่าวที่กำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้ยืมจึงสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิจะเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และขัดต่อ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯมาตรา 3(ก) ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ในสัญญากู้ยืมจึงตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายและการชิงทรัพย์ ศาลฎีกายกฟ้องชิงทรัพย์ คงความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
คดีฟังข้อเท็จจริงได้เพียงว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายเท่านั้น จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานชิงทรัพย์ซึ่งรวมการกระทำหลายอย่าง การใช้กำลังประทุษร้ายเป็นการกระทำผิดส่วนหนึ่งในความผิดฐานชิงทรัพย์ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ศาลก็ลงโทษจำเลยในการกระทำผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง: เจตนาของคู่กรณีสำคัญกว่าเอกสาร หากเจตนาคือมอบอำนาจ ไม่ใช่โอนสิทธิ ผู้รับมอบอำนาจย่อมไม่มีสิทธิในเงินนั้น
การเบิกเงินค่าจ้างจากจำเลยทุกงวดโจทก์จะมีหนังสือส่งมอบงานและขอเบิกเงินจากจำเลยแล้วบริษัท ค. จะมีหนังสือขอรับเงินจากจำเลย เป็นกรณีที่โจทก์กับบริษัท ค. ตกลงกันให้บริษัท ค. รับเงินจากจำเลยเพื่อนำมาชำระหนี้ที่โจทก์มีอยู่ต่อบริษัท ค. ก่อน เงินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้บริษัท ค. ต้องคืนให้โจทก์ หรืออีกนัยหนึ่งเงินส่วนที่เหลือยังเป็นของโจทก์อยู่ แม้ตามหนังสือขอรับเงินจะใช้ข้อความว่าโจทก์โอนสิทธิรับเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท ค. แต่ตามเจตนาของคู่กรณีหาใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องกันไม่ เป็นเพียงโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ค. รับเงินแทนโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้าง: เจตนาของคู่กรณีสำคัญกว่าข้อความในเอกสาร
พฤติการณ์ที่โจทก์ผู้รับจ้างตกลงกับบริษัท ค. ให้บริษัท ค. รับเงินค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้างเพื่อนำมาชำระหนี้ที่โจทก์มีอยู่ต่อบริษัท ค. แล้วคืนเงินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้ให้โจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างที่จำเลยจ่ายไปทุกงวดให้แก่จำเลย แม้หนังสือเอกสารหมาย ล.1 ที่โจทก์ทำกับบริษัท ค. จะใช้ข้อความว่าโจทก์โอนสิทธิรับเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท ค. แต่ตามเจตนาของคู่กรณีดังกล่าวหาใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องกันไม่เป็นเพียงโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ค. รับเงินแทนโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการมอบอำนาจรับเงิน: เจตนาคู่กรณีสำคัญกว่าข้อความในเอกสาร
พฤติการณ์ที่โจทก์ผู้รับจ้างตกลงกับบริษัท ค. ให้บริษัท ค. รับเงินค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้างเพื่อนำมาชำระหนี้ที่โจทก์มีอยู่ต่อบริษัท ค. แล้วคืนเงินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้ให้โจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างที่จำเลยจ่ายไปทุกงวดให้แก่จำเลย แม้หนังสือเอกสารหมาย ล. 1 ที่โจทก์ทำกับบริษัท ค. จะใช้ข้อความว่าโจทก์โอนสิทธิรับเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท ค. แต่ตามเจตนาของคู่กรณีดังกล่าวหาใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องกันไม่ เป็นเพียงโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ค. รับเงินแทนโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องซ้ำ: สิทธิบอกเลิกสัญญาและการเรียกค่าเสียหายหลังศาลไม่อาจบังคับตามสัญญาเดิม
คดีก่อนมีประเด็นว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้ออาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ได้หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเรียกเงินและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำมาเป็นเหตุฟ้องจะมีอยู่แล้วในขณะโจทก์ฟ้องคดีก่อนแต่ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือจะบอกเลิกสัญญา เมื่อคดีก่อนศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องจำเลยอีกได้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องเรียกคืนเงินและค่าเสียหายหลังบอกเลิกสัญญาได้ แม้จะมีคดีก่อนหน้านี้แล้ว
แม้มูลเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้จะมาจากเหตุที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่นเดียวกัน แต่คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือรื้อถอนอาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 โดยที่โจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา ศาลพิพากษาว่าการที่จำเลยก่อสร้างอาคารเพิ่มจาก 27 เป็น 30 ชั้นนั้น จำเลยผิดสัญญาจริง แต่ไม่อาจบังคับให้จำเลยรื้อได้ เช่นนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาได้ จึงได้บอกเลิกสัญญาและขอบังคับให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลย แม้ว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำมาเป็นเหตุฟ้องในคดีนี้ จะมีอยู่แล้วในขณะโจทก์ฟ้องคดีก่อนแต่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือจะบอกเลิกสัญญา เพราะหากในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์ก็ไม่มีเหตุที่จะบอกเลิกสัญญาและมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ประเด็นแห่งคดีที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกัน เพราะในคดีก่อนมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ขอบังคับให้จำเลยรื้ออาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ได้หรือไม่ แต่ในคดีนี้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเรียกเงินคืนและเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ เพียงใด ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: สิทธิบอกเลิกสัญญาหลังศาลไม่อาจบังคับตามสัญญาเดิมได้
คดีก่อนมีประเด็นว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้ออาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ได้หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเรียกเงินและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำมาเป็นเหตุฟ้องจะมีอยู่แล้วในขณะโจทก์ฟ้องคดีก่อนแต่ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือจะบอกเลิกสัญญา เมื่อคดีก่อนศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องจำเลยอีกได้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4016/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งริบยาเสพติด: แม้โจทก์มิได้ขอริบ แต่กล่าวถึงการยึดยาเสพติดในฟ้อง ก็สั่งริบได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 บัญญัติว่า บรรดายาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 4 หรือประเภท 5... ให้ริบเสียทั้งสิ้น ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 บัญญัติว่าทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวทั้งที่เป็นบทเฉพาะและบททั่วไปมีความสอดคล้องต้องกันแสดงให้เห็นว่ามีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ศาลสั่งริบยาเสพติดให้โทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียทั้งสิ้น ซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาด ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ริบเมทแอมเฟตามีนมาในคำขอท้ายฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้กล่าวไว้ในฟ้องแล้ว ศาลมีอำนาจสั่งริบเมทแอมเฟตามีนของกลางได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น หาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ไม่