คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชุม สุกแสงเปล่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5317/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของห้างหุ้นส่วนสามัญและตัวแทนในการขนส่งสินค้าที่เกิดความเสียหาย
สายเดินเรือเมอสก์สาขากรุงเทพฯกับบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) พีทีอี จำกัด ใช้ชื่อประกอบกิจการเป็นภาษาอังกฤษมีรูปลักษณะตัวอักษรว่า เมอสก์ไลน์ (MAERSKLINE) มีสัญลักษณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีฟ้ามีดาว7แฉก สีขาวอยู่ภายในเหมือนกันใบตราส่งที่ใช้ก็เหมือนกัน บริษัท ต.จ้างบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) พีทีอี จำกัด ขนสินค้าจากสิงคโปร์มากรุงเทพฯ โดยทางเรือ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯเป็นผู้ติดต่อเจ้าหน้าที่นำร่อง เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าหน้าที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อให้เรือบรรทุกสินค้าเข้าเทียบท่า ทั้งแจ้งวันเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบ ถือได้ว่าสายเดินเรือเมอสก์สาขากรุงเทพฯร่วมกับบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) จำกัด ขนส่งสินค้าโดยแบ่งหน้าที่กันทำ เมื่อสินค้าเสียหายจากการขนส่ง จำเลยทั้งสองในฐานะหุ้นส่วนของสายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนจึงต้องร่วมรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5255/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อบังคับชำระหนี้ ไม่ถือเป็นค่าไถ่ตาม ป.อ.มาตรา 313
การที่จำเลยจับโจทก์ร่วมไปหน่วงเหนี่ยวกักขังแล้วบังคับให้เขียนจดหมายถึงมารดาโจทก์ร่วม ให้โอนที่ดินจำนองเพื่อชำระหนี้แก่แม่ยายจำเลยหรือจำเลยนั้น จำเลยมีเจตนาเพียงเพื่อจะบังคับให้มารดาโจทก์ร่วมชำระหนี้ โดยจำเลยเชื่อว่ากระทำได้ ดังนั้น ประโยชน์ที่จำเลยเรียกร้องเอาจึงไม่ใช่ค่าไถ่ ตาม ป.อ.มาตรา 1(13).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5255/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อบังคับชำระหนี้ ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยจับโจทก์ร่วมไปหน่วงเหนี่ยวกักขังแล้วบังคับให้เขียนจดหมายถึง พ.มารดาของโจทก์ร่วมให้โอนที่ดินที่จำนองเพื่อชำระหนี้แก่ ข. แม่ยายของจำเลยหรือจำเลยนั้นจำเลยมีเจตนาเพียงเพื่อบังคับให้มารดาโจทก์ร่วมชำระหนี้แก่แม่ยายจำเลยหรือจำเลย โดยจำเลยซึ่งเป็นบุตรเขยเชื่อว่ากระทำได้ ดังนั้น ประโยชน์ที่จำเลยเรียกร้องจึงไม่ใช่ค่าไถ่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (13) การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามมาตรา 313

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5255/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อบังคับให้โอนทรัพย์สิน ไม่ถือเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
จำเลยจับโจทก์ร่วมไปหน่วงเหนี่ยวกักขังแล้วบังคับให้เขียนจดหมายถึง พ. มารดาของโจทก์ร่วมให้โอนที่ดินที่จำนองเพื่อชำระหนี้แก่ ข. แม่ยายของจำเลยหรือจำเลยนั้น จำเลยมีเจตนาเพียงเพื่อบังคับให้มารดาโจทก์ร่วมชำระหนี้แก่แม่ยายจำเลยหรือจำเลยโดยจำเลยซึ่งเป็นบุตรเขยเชื่อว่ากระทำได้ ดังนั้น ประโยชน์ที่จำเลยเรียกร้องจึงไม่ใช่ค่าไถ่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(13)การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามมาตรา 313

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5229/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก กรณีไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามกฎหมาย และมีพฤติการณ์แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
ป.พ.พ. มาตรา 1728 และ 1729 กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งว่าต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวันและให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว ถ้า ผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีภายในเวลาและตามแบบที่กำหนด ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1731แสดงว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายมีอะไรบ้างเป็นเรื่องที่สำคัญต้องให้ทายาทรับรู้เมื่อผู้ร้องมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาดังกล่าว และพฤติการณ์ปรากฏว่าการจัดการมรดกของผู้ร้องส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปย่อมจะล่าช้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาท กรณีมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องฎีกาว่า การตั้งผู้จัดการมรดกได้ผ่านพ้นมากกว่า 10 ปีจึงขาดอายุความที่จะมาร้องคัดค้าน แต่ปัญหาดังกล่าวมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิได้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4787/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันต่อกระบวนพิจารณาหลังศาลสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องหนังสือมอบอำนาจ
แม้ขณะยื่นคำให้การ จำเลยมิได้ยื่นใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีของตัวการต่อศาลก็ตาม แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปรากฏว่า ศาลได้ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 66 สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวและจำเลยก็ได้ยื่นหนังสือมอบอำนาจของตัวการให้จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนดำเนินคดีได้ตามคำสั่งของศาลแล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เมื่อได้ยื่นหนังสือมอบอำนาจเช่นนั้นแล้ว เท่ากับเป็นการให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ได้ทำไปแล้ว การดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งหมดของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้โจทก์มีสิทธิก่อน แต่ยังไม่จดทะเบียน จึงไม่มีสิทธิฟ้องห้าม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลย ต่างเป็นรูปปลาโลมาที่มีลักษณะกระโจนตัวลอย ลำตัวโค้ง หัวปลาอยู่ทางซ้ายและหางปลาอยู่ทางขวาแบบเดียวกัน มีขนาดใกล้เคียงกัน ต่างใช้กับสินค้าพื้นรองเท้ายางที่ผลิตออกจำหน่าย ซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน แม้ โจทก์และจำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ใช้กับสินค้าคนละจำพวก กล่าวคือโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวก 40 พื้นรองเท้ายาง ส่วนจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 50 พื้นรองเท้าก็ตาม แต่ ก็เป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือพื้นรองเท้ายางดังกล่าว แม้รูปตัว ปลาโลมาตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์มีสีดำทึบ ส่วนรูปตัวปลาโลมาตาม คำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นตัวปลาโปร่งมีลาย เส้นประ ตาม ลำตัวปลาก็ตาม แต่เมื่อใช้หล่อติดเป็นเครื่องหมายการค้ากับพื้น รองเท้ายางแล้วย่อมจะไม่ปรากฏให้เห็นสีของตัวปลาว่าแตกต่างกัน อย่างไร นอกจากนี้ ในการเรียกขาน สินค้าที่โจทก์และจำเลยผลิตออก จำหน่ายนั้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายย่อมจะเรียกกันว่าพื้นรองเท้าตรา ปลาโลมาเท่านั้น ความสำคัญที่เด่นชัดของเครื่องหมายการค้าของ โจทก์และของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวปลาโลมา แม้จะมีตัวหนังสืออักษรโรมัน ซึ่งมีตัวสะกดและอ่านออกเสียงแตกต่างกันโดยของโจทก์ใช้คำว่า DOLPHIN ส่วนของจำเลยใช้คำว่า PORPOISE แต่ก็ปรากฏว่ามี คำแปลอย่างเดียวกันว่าปลาโลมาอักษรโรมันที่เป็นตัวหนังสือดังกล่าว จึงเป็นเพียงส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าที่มีความสำคัญน้อยกว่า รูปตัวปลาโลมาเป็นอันมากเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะ ทำนองเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงผิดได้ว่า สินค้า ของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกัน ดังนี้ กรณีจึงถือ ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนถึง นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึง ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นอันเป็น การฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าที่ไม่ จดทะเบียนได้ ทั้งนี้เพราะต้องห้ามตาม มาตรา 29 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯกรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้อง ของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้โจทก์มีสิทธิก่อน แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน จึงไม่มีสิทธิฟ้องห้าม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเป็นรูปปลาโลมาที่มีลักษณะกระโจนตัวลอย ลำตัวโค้ง หัวปลาอยู่ทางซ้ายและหางปลาอยู่ทางขวาแบบเดียวกันมีขนาดใกล้เคียงกัน ต่างใช้กับสินค้าพื้นรองเท้ายางที่ผลิตออกจำหน่าย ซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันแม้โจทก์และจำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้กับสินค้าคนละจำพวก กล่าวคือ โจทก์ใช้กับสินค้าจำพวก 40พื้นร้องเท้ายาง ส่วนจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 50 พื้นรองเท้าก็ตาม แต่ก็เป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือพื้นรองเท้ายางดังกล่าวแม้รูปตัวปลาโลมาตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์มีสีดำทึบ ส่วนรูปตัวปลาโลมาตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นตัวปลาโปร่งมีลายเส้นประ ตามลำตัวปลาก็ตาม แต่เมื่อใช้หล่อติดเป็นเครื่องหมายการค้ากับพื้นรองเท้ายางแล้วย่อมจะไม่ปรากฏให้เห็นสีของตัวปลาว่าแตกต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ ในการเรียกขานสินค้าที่โจทก์และจำเลยผลิตออกจำหน่ายนั้น ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายย่อมจะเรียกกันว่าพื้นรองเท้าตราปลาโลมาเท่านั้น ความสำคัญที่เด่นชัดของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวปลาโลมาแม้จะมีตัวหนังสืออักษรโรมันซึ่งมีตัวสะกดและอ่านออกเสียงแตกต่างกัน โดยของโจทก์ใช้คำว่า DOLPHIN ส่วนของจำเลยใช้คำว่า PORPOISEแต่ก็ปรากฏว่ามีคำแปลอย่างเดียวกันว่าปลาโลมา อักษรโรมันที่เป็นตัวหนังสือดังกล่าวจึงเป็นเพียงส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าที่มีความสำคัญน้อยกว่ารูปตัวปลาโลมาเป็นอันมากเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะทำนองเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงผิดได้ว่า สินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกันดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นอันเป็นการฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนได้ ทั้งนี้ เพราะต้องห้ามตาม มาตรา 29 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าพื้นที่จอดรถ vs. การรับฝากทรัพย์: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบรถหาย หากไม่มีการส่งมอบและอารักขา
จ. นำรถยนต์เข้าไปจอดในปั๊มน้ำมันของจำเลย เสียค่าจอดรถยนต์เป็นรายเดือนไม่มีการส่งมอบรถยนต์ให้อยู่ในความอารักขาของจำเลย จ. สามารถนำรถยนต์เข้าออกในเวลาใดก็ได้ จำเลยไม่สามารถรู้ได้ว่า จ. ได้นำรถยนต์เข้าไปจอดหรือไม่ ในคืนที่รถยนต์หายก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับมอบรถยนต์จาก จ. แต่อย่างใดพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยรับฝากรถยนต์ไว้จาก จ.แต่เป็นการให้เช่าสถานที่จอดรถยนต์ เมื่อรถยนต์หายไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่ จ. โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งงดสืบพยาน, การบอกล้างโมฆียะกรรม, และอายุความฟ้องขับไล่จากข้อฉ้อฉล
การที่ศาลจะสั่งงดสืบพยานของคู่ความเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ ดุลพินิจแต่ละคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ในสำนวนจากคำฟ้องและคำให้การพอวินิจฉัยได้แล้ว แม้จะสืบพยานต่อไปก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียได้ การบอกล้างโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา140 ย่อมทำได้ด้วยแสดงเจตนาต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง แต่จำเลยไม่ได้เรียก ก.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม หากนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยกับ ก.จะเป็นโมฆียะกรรม คำให้การของจำเลยก็ไม่มีผลเป็นการบอกล้างนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยกับ ก. อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 เป็นกรณีฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237 แต่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล จะนำมาตรา 240 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่.
of 47