พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในนามทางการค้า: การใช้ชื่อซ้ำโดยธุรกิจต่างประเภท ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย จึงไม่อาจสั่งห้ามได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "VICTORIA'S SECRET" โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นอีกหลายประเทศ เพื่อใช้กับสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ผลิตภัณฑ์ชุดชั้นใน รวมทั้งสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สำหรับในประเทศไทยโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 38 เดิม จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการประเภทภัตตาคาร ส่วนจำเลยที่ 2 ประกอบกิจการสถานออกกำลังกาย โดยกิจการของจำเลยทั้งสองดังกล่าวใช้ชื่อทางการค้าว่า "VICTORIA'S SECRET" และ "วิคตอเรีย ซีเครท" โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นชื่อทางการค้าของจำเลยทั้งสอง กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในนามของบุคคลซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้า จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามได้ก็ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายนั้น แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปใช้เป็นชื่อทางการค้าสำหรับสถานบริการประเภทภัตตาคาร ไนท์คลับ และสถานออกกำลังกายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนไว้นั้น จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเสื่อมเสียประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการธุรกิจบริการก็เป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกิจการการค้าของโจทก์ซึ่งผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว เครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี อันอาจทำให้โจทก์มีรายได้ในทางการค้าลดลงหรือทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์หรือได้รับความเสียหายอื่นใด โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้ใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวในการประกอบกิจการสถานบริการของจำเลยทั้งสองได้
??
??
??
??
1/1
??
??
??
??
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้า ต้องพิสูจน์ความเสียหายจากการใช้ชื่อทางการค้าที่เหมือนกัน
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "VICTORIA'SSECRET" โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นอีกหลายประเทศ เพื่อใช้กับสินค้าประเภท ของใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในรวมทั้งสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สำหรับในประเทศไทยโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 38 เดิม จำเลยที่ 1ประกอบกิจการประเภทภัตตาคาร ส่วนจำเลยที่ 2 ประกอบ กิจการสถานออกกำลังกาย โดยกิจการของจำเลยทั้งสองดังกล่าว ใช้ชื่อทางการค้าว่า "VICTORIA'SSECRET" และ "วิคตอเรียซีเครท"โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็น ชื่อทางการค้าของจำเลยทั้งสอง กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ ในนามของบุคคลซึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้า จะร้องขอต่อศาล ให้สั่งห้ามได้ก็ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหาย อยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้น มีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายนั้น แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ มาไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปใช้เป็นชื่อทางการค้า สำหรับสถานบริการประเภทภัตตาคาร ไนท์คลับและสถานออกกำลังกายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนไว้นั้น จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเสื่อมเสียประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการธุรกิจบริการก็เป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกิจการการค้าของโจทก์ซึ่งผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัวเครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีอันอาจทำให้โจทก์มีรายได้ในทางการค้าลดลงหรือทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์หรือได้รับความเสียหายอื่นใด ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้ใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวในการประกอบกิจการสถานบริการของ จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และความสับสนในความเป็นเจ้าของสินค้า
เครื่องหมายการค้า "S.K.P." ตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้า "SKF" ของผู้คัดค้าน แม้จะมีอักษรตัวสุดท้ายคือ อักษร P กับอักษร F ต่างกันและเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีเครื่องหมายมหัพ ภาพคั่นกลางตัวอักษรแต่ละตัว อีกทั้งลักษณะการเขียนตัวอักษรของ เครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวจะแตกต่างกันไปบ้างแต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว การที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านต่างใช้ตัวอักษร 2 ตัวแรกจากตัวอักษรทั้งหมด 3 ตัว เป็นอักษรตัวเดียวกันทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้า ของจำเลยดูคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้คำเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งออกเสียงว่า "เอสเคพี" ก็ใกล้เคียงกับคำเรียกขาน เครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ออกเสียงว่า "เอสเคเอฟ" จนอาจทำให้เกิดความสับสนในการเรียกขานสินค้าได้ แม้การออกเสียงเรียกขานตัวอักษรตัวสุดท้ายในเครื่องหมายการค้าแต่ละตัวจะออกเสียงแตกต่างกันไปบ้างก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญที่ทำให้คำเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งสองแตกต่างกันชัดเจน เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนจะใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับสินค้าที่ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ไว้แล้วทั้งจำพวก จึงถือได้ว่า เครื่องหมายการค้า ตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์มีลักษณะคล้ายกันกับ เครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ในสินค้าจำพวกเดียวกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน หรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิด ของสินค้าได้ คำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสิบที่ให้ระงับการ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและการสับสนในแหล่งกำเนิดสินค้า แม้มีอักษรที่แตกต่างกันเล็กน้อย
การที่เครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านต่างใช้ตัวอักษร 2 ตัวแรก จากตัวอักษรทั้งหมด 3 ตัว เป็นตัวอักษรเดียวกัน ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดูคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้คำเรียกขานเครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์ซึ่งออกเสียงว่า "เอสเคพี" ก็ใกล้เคียงกับคำเรียกขานเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ออกเสียงว่า "เอสเคเอฟ" จนอาจทำให้เกิดความสับสนในการเรียกขานสินค้าตามเครื่องหมายการค้าทั้งสอง แม้การออกเสียงเรียกขานตัวอักษรตัวสุดท้ายจะแตกต่างกันไปบ้าง ก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญที่ทำให้คำเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งสองแตกต่างกันชัดเจน และเมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 13 ทั้งจำพวก และได้มีการต่ออายุเรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงยังคงถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 117 เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของผู้คัดค้าน จึงถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์มีลักษณะคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7431/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียน & อายุความฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียน
แม้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบด้วยอักษรโรมันสีขาวคำว่า "Kyuta" อยู่ในกรอบวงรีวางอยู่เหนือกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งมีเส้นทึบตามแนวกรอบบริเวณเส้นทึบด้านล่างมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "KYUTACHEM.," บริเวณกลางของกรอบสี่เหลี่ยมมีกรอบสี่เหลี่ยมสีขาวซ้อนอยู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "Kyuta" อยู่ในกรอบวงรี แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนทั่วไปที่มิได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนสับสนหลงผิด เมื่อเห็นคำว่า "Kyuta" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้แม้ว่าโจทก์จะได้จะทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก อันได้แก่ เคมีวัตถุสำหรับใช้ในการหัตถกรรมการถ่ายรูปหรือการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ และใช้เป็นยากันผุเสีย ส่วนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42ทั้งจำพวก อันได้แก่ วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหารก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ปี 2523 กับสินค้าเคมีภัณฑ์ประกอบอาหารและจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตอาหารเพื่อนำไปปรับสภาพอาหารให้คงอยู่ได้นาน อันมีลักษณะเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่มีลักษณะครอบคลุมถึงสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ด้วย และเมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี2529 แล้วก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" กับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 มาก่อนจำเลยหลายปี โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ตามคำขอจดทะเบียน สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ดีกว่าจำเลย โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" มาตั้งแต่ปี2523 เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2529 โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา และโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก เมื่อโจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวันที่ 24 มีนาคม 2530 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของ จำเลยโดยโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta"ดีกว่า อันเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7431/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความสับสนและความเหนือกว่าของสิทธิเมื่อใช้เครื่องหมายการค้าก่อน
แม้ว่าเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และเครื่องหมายการค้า ของจำเลยจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบด้วยอักษรโรมันสีขาว คำว่า "Kyuta" อยู่ในกรอบวงรีวางอยู่เหนือกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งมีเส้นทึบตามแนวกรอบ บริเวณเส้นทึบด้านล่างมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "KYUTACHEM.," บริเวณกลางของกรอบสี่เหลี่ยมมีกรอบสี่เหลี่ยมสีขาวซ้อนอยู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "Kyuta"อยู่ในกรอบวงรี แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนทั่วไปที่มิได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนสับสนหลงผิด เมื่อเห็นคำว่า "Kyuta" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้แม้ว่าโจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก อันได้แก่ เคมีวัตถุสำหรับใช้ในการหัตถกรรมการถ่ายรูป หรือการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ และใช้เป็นยากันผุเสีย ส่วนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42ทั้งจำพวก อันได้แก่ วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหารก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ปี 2523 กับสินค้าเคมีภัณฑ์ประกอบอาหารและจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตอาหารเพื่อนำไปปรับสภาพอาหารให้คงอยู่ได้นาน อันมีลักษณะเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่มีลักษณะครอบคลุมถึงสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ด้วย และเมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี2529 แล้วก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" กับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 มาก่อนจำเลยหลายปี โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ตามคำขอจดทะเบียน สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ดีกว่าจำเลย
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" มาตั้งแต่ปี2523 เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2529 โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา และโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก เมื่อโจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวันที่ 24 มีนาคม 2530 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta"ดีกว่า อันเป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41 (1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" มาตั้งแต่ปี2523 เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2529 โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา และโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก เมื่อโจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวันที่ 24 มีนาคม 2530 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta"ดีกว่า อันเป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41 (1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7340/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับขน: ผู้รับใบตราส่งมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ขนส่งได้ แม้ของไม่ถึงปลายทาง
ขณะเกิดข้อพิพาท พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ที่กำหนดว่าเมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบ แล้ว นับแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญา รับขนนั้นย่อมตกแก่ผู้รับตราส่ง แสดงให้เห็นว่าสัญญารับขน มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกถ้อยคำที่ว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง" มีความหมายเป็นเพียงเวลาที่กฎหมายกำหนดว่าผู้รับตราส่งจะแสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนได้เมื่อใดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขอีกข้อหนึ่งซึ่งหากไม่มีของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งแล้วจะเป็นเหตุ ให้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ตกแก่ผู้รับตราส่งไม่ เมื่อโจทก์เป็น ผู้ทรงใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ขายและเป็นผู้มี กรรมสิทธิ์ในสินค้าพิพาทตามใบตราส่งนั้น แม้โจทก์ไม่อาจ แสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนโดยเรียกให้ส่งมอบ ของได้เพราะไม่มีกำหนดเวลาที่จะเรียกให้ส่งมอบของได้ ตามมาตรา 627 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหาย เพราะเหตุที่สินค้าพิพาทต้องสูญหายเนื่องจากการขนส่งนั้น โดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทย่อม มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาท ให้รับผิดตามสัญญารับขนได้ เมื่อพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งของทางทะเลตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติรับขนของทางทะเลฯมาปรับแก่คดีได้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจยกเอาข้อจำกัดความรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวมาอ้างเพื่อให้รับผิดน้อยลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6647/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: จำเป็นต้องพิสูจน์สถานะภาคีอนุสัญญาในเวลาที่กระทำผิด
แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องว่า บริษัท ก.(เมืองฮ่องกง)เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุแถบบันทึกเสียงและภาพ (วีดีทัศน์) เรื่อง โหด เลว ดี ภาค 3 ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง ซึ่งเมืองฮ่องกงเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นซึ่งแก้ไข ณ กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนค.ศ. 1908 และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคอล เพิ่มเติมลงนาม ณ กรุงเบอร์น เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1914ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว และกฎหมายของ เมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริง เพราะพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2536 ได้มีบัญชีรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้ว และข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบกัน ทั่วไปว่า เมืองฮ่องกงอยู่ภายใต้อาณัติ ของ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ดังนั้นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ด้วยนั้นก็เป็นการบรรยาย ข้อเท็จจริงให้ครบองค์ประกอบของความผิดในกรณีที่ผู้มีลิขสิทธิ์ ได้สร้างสรรค์งานของตนตามกฎหมายในต่างประเทศที่มีกฎหมาย ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เพื่อ ให้เห็นว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ฯ ให้ความคุ้มครองไว้เท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบ ให้เห็นว่า เมืองฮ่องกง เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นในเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทั้งรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญา ดังกล่าวตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อ คุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2536 ที่โจทก์ กล่าวอ้างนั้น ก็เป็นรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีในเวลา พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับคือในปี 2536 ไม่อาจรับฟัง เป็นยุติว่าประเทศตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นจะเป็น ภาคีอนุสัญญาในเวลาที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในคดีนี้คือ ในช่วงปี 2533 ด้วย จึงยังฟังไม่ได้ว่าเมืองฮ่องกงเป็นภาคีอนุสัญญาในเวลาที่จำเลยกระทำผิดตามที่โจทก์กล่าวอ้าง อันจะมีผลให้วีดีโอเทปภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวได้รับ ความคุ้มครองพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 42 ดังนี้ ย่อมไม่อาจฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐาน ละเมิดลิขสิทธิ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6583/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายสุราปลอมและใช้ฉลากเครื่องหมายการค้าผู้อื่น การกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและพ.ร.บ.สุรา
จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสุราของกลางที่จำเลยทั้งสองนำส่งออกไปขายแก่ผู้ซื้อต่างประเทศนั้นเป็นสุราปลอมซึ่งบรรจุขวดและปิดฉลากที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นสินค้าสุราที่แท้จริงของโจทก์ร่วม เป็นความผิดฐานจำหน่ายสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 275 และเป็นความผิดฐานขายสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31แต่ความผิดฐานเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ ทำให้ปรากฏที่สินค้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) นั้น จำเลยกว้านซื้อสุราของกลางมาจากร้านค้าแล้วนำส่งออกไปขายแก่ผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองทำสุราปลอมเองหรือบรรจุขวดเป็นสินค้าของจำเลยเองแต่มีการปิดฉลากปลอม จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้กับสินค้าของตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6558/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์, การมอบอำนาจ, พยานหลักฐาน, และความรับผิดของผู้ขาย
ในกรณีความผิดอาญาซึ่งกระทำต่อนิติบุคคลนั้น ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลมีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคลได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และมาตรา 5 แต่ตาม ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติการมอบอำนาจให้ผู้แทนนิติบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้เท่าที่พอจะใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติเกี่ยวกับใบมอบอำนาจที่ได้ทำในต่างประเทศ ซึ่งถ้าเป็นต่างประเทศที่มีกงสุลสยามต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน แต่ถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยาม ต้องให้เจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ดหรือบุคคลอื่น ซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านี้และต้องมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ โดยไม่ปรากฏว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น เมื่อหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ลงนามโดยมีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล และมีพยานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ลงลายมือชื่อไว้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจจากนิติบุคคลผู้เสียหาย ย่อมมีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้แจ้งความร้องทุกข์ได้
แม้ว่าภาพโปรแกรมไมโครซอฟท์มันนี่ ภาพโปรแกรมอโดเบ ไทป์เมเนเจอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลเพื่อใช้ในทางติดตั้งสำเนาโปรแกรมลงบนสื่อบันทึกถาวรในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อติดตั้งบนสื่อบันทึกถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะเป็นเอกสารที่ผู้เสียหายจัดทำขึ้นเอง และได้ทำขึ้นภายหลังจากที่มีการจับกุมจำเลยแล้วก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวไม่ใช่ของกลางในคดีอาญาหากแต่เป็นเอกสารที่ผู้เสียหายได้จัดทำขึ้นจากโปรแกรมของผู้เสียหายเพื่อพิสูจน์ว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะเป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวและแผ่นซีดีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อันเป็นวัตถุพยาน ซึ่งได้กระทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งมีอยู่แล้วเท่านั้น ดังนั้น เอกสารที่ผู้เสียหายทำขึ้นจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ไมโครซอฟท์มันนี่ได้เริ่มจัดพิมพ์ตั้งแต่ ค.ศ.1991 แล้วพัฒนาเพิ่มเติมเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันมีไมโครซอฟท์มันนี่ 97, 98 แล้ว ซึ่งหลังจาก ค.ศ.1991 ได้มีโปรแกรมที่พัฒนาเพิ่มเติมเป็นการวางรากฐานส่วนใหญ่มาจากโปรแกรมแรก หรือแก้ไขเพิ่มเติมจากโครงสร้างโปรแกรมหลักให้แก่โปรแกรมปี 91 โปรแกรมที่จำเลยจำหน่ายเป็นโปรแกรมปี 95 แต่โปรแกรมที่โจทก์จัดพิมพ์เพื่อใช้เปรียบเทียบนั้นเป็นโปรแกรมปี 97 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นงานสร้างสรรค์ และมีการพัฒนาจากรากฐานเดิมไปเรื่อย ๆ โดยอาศัยโครงสร้างโปรแกรมหลักอันเดิม การที่โจทก์ฟ้องว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ไมโครซอฟท์มันนี่ 95 แต่นำโปรแกรมปี 97 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากปี 95 มาแสดงต่อศาล เมื่อศาลได้ตรวจดูวัตถุพยานแล้วก็ปรากฏภาพโปรแกรมตรงกับเอกสารที่โจทก์จัดพิมพ์เปรียบเทียบ กรณีจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) บัญญัติถึงกรณีผู้ที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้มีความหมายรวมถึงผู้ขาย มีไว้เพื่อขายเสนอขายไว้ด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ขายแผ่นซีดีของกลางให้แก่ผู้ซื้อ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อันจึงเป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว
แม้ว่าภาพโปรแกรมไมโครซอฟท์มันนี่ ภาพโปรแกรมอโดเบ ไทป์เมเนเจอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลเพื่อใช้ในทางติดตั้งสำเนาโปรแกรมลงบนสื่อบันทึกถาวรในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อติดตั้งบนสื่อบันทึกถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะเป็นเอกสารที่ผู้เสียหายจัดทำขึ้นเอง และได้ทำขึ้นภายหลังจากที่มีการจับกุมจำเลยแล้วก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวไม่ใช่ของกลางในคดีอาญาหากแต่เป็นเอกสารที่ผู้เสียหายได้จัดทำขึ้นจากโปรแกรมของผู้เสียหายเพื่อพิสูจน์ว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะเป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวและแผ่นซีดีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อันเป็นวัตถุพยาน ซึ่งได้กระทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งมีอยู่แล้วเท่านั้น ดังนั้น เอกสารที่ผู้เสียหายทำขึ้นจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ไมโครซอฟท์มันนี่ได้เริ่มจัดพิมพ์ตั้งแต่ ค.ศ.1991 แล้วพัฒนาเพิ่มเติมเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันมีไมโครซอฟท์มันนี่ 97, 98 แล้ว ซึ่งหลังจาก ค.ศ.1991 ได้มีโปรแกรมที่พัฒนาเพิ่มเติมเป็นการวางรากฐานส่วนใหญ่มาจากโปรแกรมแรก หรือแก้ไขเพิ่มเติมจากโครงสร้างโปรแกรมหลักให้แก่โปรแกรมปี 91 โปรแกรมที่จำเลยจำหน่ายเป็นโปรแกรมปี 95 แต่โปรแกรมที่โจทก์จัดพิมพ์เพื่อใช้เปรียบเทียบนั้นเป็นโปรแกรมปี 97 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นงานสร้างสรรค์ และมีการพัฒนาจากรากฐานเดิมไปเรื่อย ๆ โดยอาศัยโครงสร้างโปรแกรมหลักอันเดิม การที่โจทก์ฟ้องว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ไมโครซอฟท์มันนี่ 95 แต่นำโปรแกรมปี 97 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากปี 95 มาแสดงต่อศาล เมื่อศาลได้ตรวจดูวัตถุพยานแล้วก็ปรากฏภาพโปรแกรมตรงกับเอกสารที่โจทก์จัดพิมพ์เปรียบเทียบ กรณีจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) บัญญัติถึงกรณีผู้ที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้มีความหมายรวมถึงผู้ขาย มีไว้เพื่อขายเสนอขายไว้ด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ขายแผ่นซีดีของกลางให้แก่ผู้ซื้อ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อันจึงเป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว