พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงค่าตอบแทนพิเศษที่เชื่อมโยงกับการระดมเงินฝาก เป็นโมฆะตามกฎหมายควบคุมธุรกิจเงินทุน
ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างหรือไม่ จำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าลูกจ้างจะระดมเงินฝากได้หรือไม่ และเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่สามารถระดมเงินฝากได้ ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษ หรือถ้าระดมเงินฝากได้น้อย ก็จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษลดลงตามส่วน จึงไม่แน่นอนว่าลูกจ้างจะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่น บรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน
ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายให้โจทก์ (ลูกจ้าง) สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 เป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20 (9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตาม
ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายให้โจทก์ (ลูกจ้าง) สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 เป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20 (9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่ให้ค่าตอบแทนพิเศษจากการระดมเงินฝากขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะ
สัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุนมีข้อตกลงพิเศษว่า โจทก์ต้องระดมเงินฝากให้แก่จำเลยที่ 1ไม่ต่ำกว่าปีละ4,000 ล้านบาท จึงจะได้รับค่าตอบแทนพิเศษในอัตราร้อยละ 0.06 ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน หากไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง2,500 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี จำเลยที่ 1 สามารถเปลี่ยนแปลงสัญญาใหม่ได้ ทำให้เห็นว่าโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษ จำนวนเท่าใดหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้มากน้อยเพียงใดถ้าไม่สามารถระดมเงินฝากได้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือถ้าระดมเงินฝากได้น้อยโจทก์ก็จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษลดลงตามส่วน จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์ระดมเงินฝากได้มากเกิน 4,000 ล้านบาทในระยะหนึ่งปี สัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ดังนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินที่จะได้รับต่างหากจากเงินเดือนจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่น บรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน เพราะเป็นจำนวนไม่แน่นอน การที่จำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายค่าตอบแทนพิเศษเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์เนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงินจึงเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 มาตรา 20(9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงินจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ 1ต้องปฏิบัติตามจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างให้ค่าตอบแทนพิเศษเพื่อระดมเงินฝากขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย จึงเป็นโมฆะ
จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ค่าจ้างเดือนละ 38,000 บาท และจำเลยตกลงให้โจทก์กับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยพร้อมกับโจทก์ ร่วมกันระดมเงินฝากให้แก่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 4,000 ล้านบาท จำเลยที่ 1จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์กับพวกรวม 4 คนในอัตราร้อยละ 0.06ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน โดยจ่ายปีละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่โจทก์กับพวกไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง 2,500 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี จำเลยสามารถใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงสัญญากันใหม่ได้ ซึ่งตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่จำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้หรือไม่ และจำนวนมากน้อยเพียงใด จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์กับพวกร่วมกันระดมเงินฝากได้มากเกิน 4,000 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี ตามสัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ เพื่อเป็นการจูงใจให้โจทก์ขยันระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น ทั้งโจทก์จะได้รับเงินตอบแทนพิเศษนี้ปีละครั้งต่างหากจากเงินเดือน และเงินจำนวนนี้พนักงานอื่นไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน
ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลย ซึ่งเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20(9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างที่พิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามที่ตกลงในสัญญาจ้างให้โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษไม่เป็นเงินส่วนที่เป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จ เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติแล้ว แม้จะฟังว่าค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินค่าจ้างดังโจทก์อุทธรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลย ซึ่งเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20(9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างที่พิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามที่ตกลงในสัญญาจ้างให้โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษไม่เป็นเงินส่วนที่เป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จ เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติแล้ว แม้จะฟังว่าค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินค่าจ้างดังโจทก์อุทธรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายส่วนแบ่งกำไรโดยไม่ได้รับความยินยอมถือเป็นการผิดสัญญา
ขณะโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลย ตกลงกับโจทก์ว่าจะให้ส่วนแบ่งกำไรแก่โจทก์ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ แม้ข้อตกลงนี้เดิมไม่ได้ ทำเป็นหนังสือไว้ แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกตามเอกสารพิพาทถึงโจทก์ แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายส่วนแบ่งกำไรตามหลักเกณฑ์ตามบันทึกดังกล่าวตลอดมาถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยจำเลยจึงไม่มีสิทธิแต่ฝ่ายเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงการจ่ายส่วนแบ่งกำไรให้แก่โจทก์ใหม่โดยคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ตกลงไว้และแบ่งกำไรให้เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจาก โจทก์ก่อนได้ คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้และแบ่งกำไรให้แก่โจทก์เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และเงินส่วนแบ่งกำไรนี้มิใช่เงินโบนัส เพราะเงินโบนัสมีข้อตกลงอยู่ต่างหากแล้วการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงดังกล่าวในปีถัดไปจากปี 2538 ไปได้แล้วและที่ว่า ผลประโยชน์ตอบแทนการขายของโจทก์หรือที่เรียกว่าส่วนแบ่งกำไร หมายถึงโบนัสของฝ่ายขาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงส่วนแบ่งกำไรผูกพันนายจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามตกลง การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต้องได้รับความยินยอม
ขณะโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจะให้ส่วนแบ่งกำไรแก่โจทก์ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ แม้ข้อตกลงนี้เดิมไม่ได้ทำเป็นหนังสือไว้ แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกตามเอกสารพิพาทถึงโจทก์ แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายส่วนแบ่งกำไรตามหลักเกณฑ์ตามบันทึกดังกล่าวตลอดมาถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิแต่ฝ่ายเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงการจ่ายส่วนแบ่งกำไรให้แก่โจทก์ใหม่โดยคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ตกลงไว้และแบ่งกำไรให้เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนได้
คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ และแบ่งกำไรให้แก่โจทก์เพียงอัตรา1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และเงินส่วนแบ่งกำไรนี้มิใช่เงินโบนัส เพราะเงินโบนัสมีข้อตกลงอยู่ต่างหากแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงดังกล่าวในปีถัดไปจากปี 2538 ไปได้แล้วและที่ว่าผลประโยชน์ตอบแทนการขายของโจทก์หรือที่เรียกว่าส่วนแบ่งกำไร หมายถึงโบนัสของฝ่ายขาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ และแบ่งกำไรให้แก่โจทก์เพียงอัตรา1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และเงินส่วนแบ่งกำไรนี้มิใช่เงินโบนัส เพราะเงินโบนัสมีข้อตกลงอยู่ต่างหากแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงดังกล่าวในปีถัดไปจากปี 2538 ไปได้แล้วและที่ว่าผลประโยชน์ตอบแทนการขายของโจทก์หรือที่เรียกว่าส่วนแบ่งกำไร หมายถึงโบนัสของฝ่ายขาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบริการของลูกจ้างเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องจ่ายค่าชดเชย
ค่าบริการเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกค้าที่มาใช้บริการในอัตราร้อยละ 10 แล้วจำเลยรวบรวมไว้เพื่อแบ่งเฉลี่ยให้แก่ลูกจ้างทุกคนจำนวนเท่า ๆ กันเป็นประจำทุกเดือน โดยจำเลยตกลงด้วยว่าลูกจ้างทุกคนจะได้ค่าบริการไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,250 บาท หากแบ่งเฉลี่ยแล้วลูกจ้างแต่ละคนได้รับต่ำกว่าเดือนละ 1,250 บาท จำเลยจะจ่ายส่วนที่ขาดให้จนครบ เมื่อค่าบริการมิใช่เป็นเงินเฉพาะที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกค้าเท่านั้น แต่ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่จำเลยเป็นผู้จ่ายให้แก่ลูกจ้างรวมอยู่ด้วย โดยมีจำนวนขั้นต่ำที่แน่นอนและจ่ายเป็นประจำทุกเดือนถือได้ว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์มิได้ร่วมทุจริตกับ ส. และมิได้สนับสนุนให้ ส.ทุจริตค่าอาหารของจำเลย เพียงแต่โจทก์เมื่อทราบถึงพฤติการณ์อันส่อไปในทางทุจริตของ ส.แล้ว โจทก์ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ส.มิได้รายงานพฤติการณ์ดังกล่าวให้จำเลยทราบ อันเป็นการปกปิดพฤติการณ์อันส่อไปในทางทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชา กับบกพร่องต่อหน้าที่ในการควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา และหย่อนสมรรถภาพในการบริหารงานที่ไม่จัดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรง ทั้งระเบียบข้อบังคับของจำเลยก็มิได้กำหนดให้เป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนั้นจำเลยจะต้องว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ด้วยวาจาหรือออกหนังสือตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามระเบียบข้อบังคับเสียก่อน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีโดยมิได้ว่ากล่าวตักเตือนก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
โจทก์มิได้ร่วมทุจริตกับ ส. และมิได้สนับสนุนให้ ส.ทุจริตค่าอาหารของจำเลย เพียงแต่โจทก์เมื่อทราบถึงพฤติการณ์อันส่อไปในทางทุจริตของ ส.แล้ว โจทก์ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ส.มิได้รายงานพฤติการณ์ดังกล่าวให้จำเลยทราบ อันเป็นการปกปิดพฤติการณ์อันส่อไปในทางทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชา กับบกพร่องต่อหน้าที่ในการควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา และหย่อนสมรรถภาพในการบริหารงานที่ไม่จัดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรง ทั้งระเบียบข้อบังคับของจำเลยก็มิได้กำหนดให้เป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนั้นจำเลยจะต้องว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ด้วยวาจาหรือออกหนังสือตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามระเบียบข้อบังคับเสียก่อน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีโดยมิได้ว่ากล่าวตักเตือนก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6262/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมการลูกจ้าง กรณีฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ – ศาลอนุญาตลงโทษตัดค่าจ้างตามเจตนาเดิม
ผู้ร้องลงโทษตัดค่าจ้างผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างประจำบริษัทผู้ร้องกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เนื่องจากเข้าปฏิบัติงานตามหน้าที่สาย โดยผู้ร้องไม่ได้ขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อน เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ย่อมไม่มีผลเป็นการลงโทษผู้คัดค้านตามกฎหมาย การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านเป็นคดีนี้อีกจึงไม่เป็นการขอให้ลงโทษผู้คัดค้าน 2 ครั้ง ในการกระทำความผิดครั้งเดียวกัน ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขออนุญาตต่อศาลแรงงานลงโทษผู้คัดค้านได้เป็นคดีนี้ได้
ในระหว่างที่หนังสือเตือน เรื่องผู้คัดค้านกระทำความผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่เข้าปฏิบัติหน้าที่สายมีผลใช้บังคับ ผู้คัดค้านได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน โดยเข้าปฏิบัติหน้าที่สายอีก 4 ครั้ง ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านได้ แต่พฤติการณ์การกระทำความผิดของผู้คัดค้านดังกล่าวผู้ร้องเคยแสดงเจตนาลงโทษผู้คัดค้านเพียงตัดค่าจ้าง ศาลฎีกาจึงเห็นควรอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านเพียงตัดค่าจ้างเท่าที่ผู้ร้องได้ตัดค่าจ้างผู้คัดค้านไปแล้ว
ในระหว่างที่หนังสือเตือน เรื่องผู้คัดค้านกระทำความผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่เข้าปฏิบัติหน้าที่สายมีผลใช้บังคับ ผู้คัดค้านได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน โดยเข้าปฏิบัติหน้าที่สายอีก 4 ครั้ง ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านได้ แต่พฤติการณ์การกระทำความผิดของผู้คัดค้านดังกล่าวผู้ร้องเคยแสดงเจตนาลงโทษผู้คัดค้านเพียงตัดค่าจ้าง ศาลฎีกาจึงเห็นควรอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านเพียงตัดค่าจ้างเท่าที่ผู้ร้องได้ตัดค่าจ้างผู้คัดค้านไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6262/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยของลูกจ้าง: การตัดค่าจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน การกระทำผิดซ้ำมีเหตุผลในการลงโทษ
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52กำหนดห้ามมิให้นายจ้าง เลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษกรรมการลูกจ้าง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานการที่ผู้ร้องลงโทษตัดค่าจ้างผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้คัดค้านกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเข้าปฏิบัติงานตามหน้าที่สาย 4 ครั้ง โดยไม่ได้ขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อน ย่อมเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ ดังกล่าว ไม่มีผลเป็นการลงโทษผู้คัดค้านตามกฎหมาย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานกลาง เลิกจ้างผู้คัดค้านด้วยเหตุกระทำผิดระเบียบข้อบังคับดังกล่าว จึงไม่เป็นการลงโทษ 2 ครั้ง ในการกระทำความผิด ครั้งเดียวกัน ผู้ร้องยังคงมีสิทธิขออนุญาตต่อศาลแรงงานกลาง ลงโทษผู้คัดค้านได้ และการที่ผู้คัดค้านเคยถูกว่ากล่าว ตักเตือนเป็นหนังสือเรื่องการเข้าปฏิบัติหน้าที่สาย มาก่อนแต่กลับมากระทำผิดซ้ำคำเตือนอีก 4 ครั้ง ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ผู้ร้อง ลงโทษผู้คัดค้านได้ แต่การกระทำความผิดดังกล่าวผู้ร้องเคยแสดงเจตนาลงโทษผู้คัดค้านเพียงตัดค่าจ้างเท่านั้นจึงเห็นควรอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านเพียงตัดค่าจ้างเท่าที่ผู้ร้องได้ตัดค่าจ้างผู้คัดค้านไปแล้ว โดยให้คืนค่าจ้างที่ตัดไปโดยมิชอบแก่ผู้คัดค้านก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยค่าจ้างค้างชำระ เริ่มนับแต่วันที่ลูกจ้างยื่นคำร้องต่อหน่วยงานราชการ เมื่อทวงถามแล้วจำเลยยังไม่ชำระ
โจทก์ฟ้องว่าได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด โดยมิได้ระบุว่าการทวงถามอันเป็นเหตุให้จำเลยผิดนัดได้กระทำเมื่อใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด แต่การที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์โดยโจทก์ได้ทวงถามจนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 4 ตุลาคม 2539 จำเลยก็ยังไม่ยอมชำระให้นั้น ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในการชำระค่าจ้างค้างแก่โจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยแก่โจทก์ตั้งแต่วัน ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระค่าจ้างและการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการ
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใดแต่การที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์โดยโจทก์ได้ทวงถามจนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช จำเลยก็ยัง ไม่ยอมชำระให้นั้น ถือว่าจำเลยผิดนัดในการชำระค่าจ้างค้าง แก่โจทก์แล้ว จำเลยต้องรับผิดในดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ โจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นต้นไป