คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เทพฤทธิ์ ศิลปานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องคดีมีทุนทรัพย์เนื่องจากไม่เสียค่าขึ้นศาล และผลกระทบต่อการฟ้องคดีใหม่
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 และระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ ฟ. คดีของโจทก์เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาของที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องโดยไม่เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะกำหนดเวลาให้โจทก์นำเงินค่าขึ้นศาลมาวางศาลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องคดีมีทุนทรัพย์เนื่องจากไม่เสียค่าขึ้นศาล และสิทธิในการฟ้องคดีใหม่ภายใต้บังคับอายุความ
การที่โจทก์ทั้งแปดฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 และระหว่างจำเลยที่ 2และที่ 3 เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งแปดผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกคดีของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาของที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งแปดทิ้งฟ้องโดยไม่เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะกำหนดเวลาให้โจทก์ทั้งแปดนำเงินค่าขึ้นศาลมาวางศาลอีกต่อไป แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งแปดที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องเป็นไปตามระเบียบ หากไม่มีเหตุตามระเบียบ ผู้อำนวยการไม่มีอำนาจ
แม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการพนักงานจะระบุว่าการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานทุกตำแหน่ง เป็นอำนาจของผู้อำนวยการก็ตาม แต่ก็ยังมีระเบียบของจำเลยว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างประจำปีของพนักงานระบุว่ากรณีจะรอการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างไว้ก่อนได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่พนักงานอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยหรือทางคดีอาญา เมื่อยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในระหว่างสอบสวนทางวินัย ประกอบคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของจำเลยมีมติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์ 1 ขั้นแล้ว ผู้อำนวยการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการเลื่อนขั้นเงินเดือน: ผู้อำนวยการใช้อำนาจขัดระเบียบเมื่อมีมติเลื่อนขั้นแล้ว
แม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการพนักงานจะระบุว่า การเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานทุกตำแหน่ง เป็นอำนาจของผู้อำนวยการก็ตาม แต่ก็ยังมีระเบียบของจำเลยว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างประจำปีของพนักงานระบุว่า กรณีจะรอการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างไว้ก่อนได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่พนักงานอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยหรือทางคดีอาญา เมื่อยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในระหว่างสอบสวนทางวินัย ประกอบคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของจำเลยมีมติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์ 1 ขั้นแล้วผู้อำนวยการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคำร้องภายใน 14 วัน
ปัญหาว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีไม่มีประเด็นพิพาทในปัญหาดังกล่าวในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควร ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกปัญหาข้อกฎหมายนั้นขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5) ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่ดินของบริษัทค.ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้ล้มละลาย ผู้ร้องได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายและระเบียบของกรมบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เข้าสู้ราคาในราคาต่ำกว่าที่ผู้ร้องเสนอ และเคาะไม้ตกลงขายโดยไม่นับ 1 ถึง 3 ก่อนดังนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทนถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้าง ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 14 วัน นับแต่วันได้รับทราบการกระทำนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้เสนอราคาสูงกว่าย่อมมีสิทธิคัดค้านได้หากการขายไม่ชอบ
ปัญหาว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีนี้หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีไม่มีประเด็นพิพาทในปัญหาดังกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกปัญหาขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทน ถือว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 146 หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคาะไม้ขายทอดตลาดให้แก่ผู้เข้าสู้ราคาในราคา 25,300,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ผู้ร้องเสนอราคาเป็น25,400,000 บาท และได้เคาะไม้โดยไม่นับ 1 ถึง 3 ก่อน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์นั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7779/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสำคัญในการครอบครองวัตถุระเบิด หากไม่รู้ว่าเป็นวัตถุระเบิด ถือไม่มีความผิด
แม้จำเลยจะเก็บวัตถุระเบิดของกลางมา แต่จำเลยเองก็ไม่ทราบว่าเป็นวัตถุระเบิด เพิ่งทราบเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจที่ตรวจค้นบอก จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะกระทำผิดฐานมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจำกัดการเรียกหลักประกันจากนายประกัน และความรับผิดของตัวแทนในการประกันตัว
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 5 (2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2515 เป็นบทบัญญัติจำกัดอำนาจของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการซึ่งมีอยู่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 112 ในอันที่จะกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรให้นายประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน ในคดีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกำหนดจำนวนเงินที่นายประกันจะต้องชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนในคดีนี้สั่งปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดให้นายประกันใช้เงิน 600,000 บาท เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน ซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็คซึ่งมีเพียง 500,000 บาท เป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวนจึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ คือเท่าจำนวนเงินในเช็ค มิใช่ตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด เพราะสัญญาประกันดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแต่อย่างใด
ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า มอบให้จำเลยที่ 1เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันและให้จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่แทนด้วย แม้จำเลยที่ 1จะเข้าทำสัญญาประกันในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 เดิม แสดงว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หาได้กระทำการเป็นส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกันย่อมถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1จะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดนายประกันตามกฎหมายเช็ค, เจตนาแท้จริงของตัวแทน, และขอบเขตความรับผิดของตัวแทน
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 5(2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2515 เป็นบทบัญญัติ จำกัดอำนาจของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการซึ่งมีอยู่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 ในอันที่ จะกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรให้นายประกันชดใช้เมื่อ มีการผิดสัญญาประกัน ในคดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยให้พนักงานสอบสวนหรือ พนักงานอัยการกำหนดจำนวนเงินที่นายประกันจะต้องชดใช้เมื่อมี การผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนในคดีนี้สั่งปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดให้นายประกันใช้เงิน 600,000 บาท เมื่อมีการผิดสัญญาประกันซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็คซึ่งมีเพียง 500,000 บาท เป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวนจึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ คือเท่าจำนวนเงินในเช็ค มิใช่ตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด เพราะสัญญาประกันดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแต่อย่างใด ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า มอบให้จำเลยที่ 1เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันและให้จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่าง ๆแก่เจ้าหน้าที่แทนด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะเข้าทำสัญญาประกันในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 132 เดิม แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2ตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หาได้กระทำการเป็นส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกันย่อมถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้น จำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด เริ่มนับจากวันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิด
การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย แต่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งของโจทก์เสนอความเห็นให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2530ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่มีผู้ใดต้องรับผิดชดใช้ทางแพ่ง โจทก์รายงานผลการสอบสวนดังกล่าวให้กระทรวงการคลังทราบตามระเบียบ ต่อมาคณะกรรมการที่ปรึกษาความรับผิดทางแพ่งซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีเห็นว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ จึงแจ้งความเห็นดังกล่าวให้โจทก์ทราบในวันที่ 9 กรกฎาคม 2530 นั้น เมื่อในวันที่14 มกราคม 2530 ที่โจทก์ทราบความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนของโจทก์นั้นโจทก์ไม่อาจรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ โจทก์เพิ่งรู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อโจทก์ทราบความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษาความรับผิดทางแพ่งในวันที่ 9 กรกฎาคม 2530ว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 1กรกฎาคม 2531 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
of 57