คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ราเชนทร์ จัมปาสุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี แม้คดีเปลี่ยนประเภทจากไม่มีทุนทรัพย์เป็นมีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยทั้งสองและส่งมอบทรัพย์พิพาทแก่โจทก์ โดยเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลชั้นต้นได้สั่งรับฟ้องของโจทก์แล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีมีทุนทรัพย์ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่ก่อนหรือในวันสืบพยานโจทก์ ก่อนโจทก์นำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาวางศาลให้ครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจรับคำร้องและไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ระหว่างพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การลงโทษซ้ำความผิดเดิม แม้ข้อบังคับอนุญาตเลิกจ้างหลังเตือน 3 ครั้ง แต่ต้องพิจารณาความร้ายแรงเป็นรายกรณี
ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่มา 3 ครั้ง แต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องร้ายแรงนายจ้างจึงลงโทษเพียงการตักเตือนเป็นหนังสือทั้งสามครั้ง เมื่อลูกจ้างไม่ได้มากระทำผิดซ้ำคำตักเตือนอีกเป็นครั้งที่สี่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยเหตุที่เคยลงโทษไปแล้วเช่นนี้เท่ากับเป็นการลงโทษซ้ำความผิดที่ได้ลงโทษตักเตือนไปแล้วอีกจึงเป็นการเลิกจ้างที่มิชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ทั้งเป็นการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การลงโทษซ้ำความผิดเดิม แม้ข้อบังคับบริษัทจะกำหนดเงื่อนไขเลิกจ้างได้
ข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) หมายความว่า เมื่อลูกจ้างกระทำผิดเรื่องใดซึ่งไม่ร้ายแรงและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ต่อมาได้กระทำผิดเรื่องเดียวกันซ้ำอีก นายจ้างก็มีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์ละทิ้งหน้าที่รวมสามครั้งแต่ละครั้ง ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง จำเลยลงโทษตักเตือนเป็นหนังสือแล้วทั้งสามครั้ง เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำผิดซ้ำคำตักเตือนอีกเป็นครั้งที่สี่แต่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุที่เคยลงโทษไปแล้ว เท่ากับเป็นการลงโทษซ้ำความผิดเดิม การเลิกจ้างจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว แม้ข้อบังคับการทำงานของจำเลยจะกำหนดว่า การละทิ้งหน้าที่สามครั้งเป็นเรื่องร้ายแรงอาจเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนจำเลยก็ไม่อาจนำเหตุดังกล่าวมาเลิกจ้างโจทก์ได้จึงเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานดำรงชีพจากรายได้หญิงค้าประเวณี: ต้องพิสูจน์ปัจจัยดำรงชีพและอาศัยรายได้ทั้งหมด
ความผิดฐานดำรงชีพจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีนั้นโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า จำเลยอายุกว่าสิบหกปี ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอาศัยปัจจัยทั้งหมดหรือแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี หากขาดปัจจัยดังกล่าวแม้เพียงบางส่วนจะดำรงชีพอยู่ไม่ได้ หรือไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ และปรากฏว่าจำเลยอยู่ร่วมกับหญิงซึ่งค้าประเวณีหรือสมาคมกับหญิงซึ่งค้าประเวณีคนเดียวหรือหลายคนเป็นอาจิณตามคำฟ้องของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์นำสืบได้เพียงว่า จำเลยอายุกว่าสิบหกปีเป็นผู้จัดหาหญิงผู้ทำ-การค้าประเวณีเพื่อผู้อื่นเป็นปกติธุระ และได้รับเงินส่วนแบ่งจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีเท่านั้น จึงลงโทษจำเลยในความผิดนี้ตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำรงชีพจากรายได้ค้าประเวณี: ต้องพิสูจน์การพึ่งพิงปัจจัยจากรายได้นั้นอย่างชัดเจน
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 286 จะต้องฟังได้ว่า จำเลยอายุกว่าสิบหกปี ดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี หมายความว่าหากขาดปัจจัยแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี จำเลยจะดำรงชีพอยู่ไม่ได้ เมื่อกรณีได้ความแต่เพียงว่า จำเลยอายุกว่าสิบหกปีเป็นผู้จัดหาหญิงผู้ทำการค้าประเวณีเพื่อผู้อื่นเป็นปกติธุระและได้รับเงินส่วนแบ่งจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี ดังนี้ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำรงชีพจากรายได้จากการค้าประเวณี: การพิสูจน์การพึ่งพิงรายได้และความจำเป็นในการมีปัจจัยอื่น
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286 ที่ผู้กระทำซึ่งมีอายุกว่าสิบหกปี ดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีเป็นความผิดนั้น หมายถึงว่า ผู้นั้นดำรงชีวิตของตนอยู่ได้ด้วยการอาศัยปัจจัยทั้งหมดหรือแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี ซึ่งหากขาดปัจจัยแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีจะดำรงชีพอยู่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำรงชีพจากรายได้หญิงค้าประเวณี ต้องพิสูจน์การพึ่งพิงรายได้นั้นอย่างชัดเจน
ความผิดฐานดำรงชีพจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีนั้นโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า จำเลยอายุกว่าสิบหกปี ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอาศัยปัจจัยทั้งหมดหรือแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี หากขาดปัจจัยดังกล่าวแม้เพียงบางส่วนจะดำรงชีพอยู่ไม่ได้ หรือไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ และปรากฏว่าจำเลยอยู่ร่วมกับหญิงซึ่งค้าประเวณีหรือสมาคมกับหญิงซึ่งค้าประเวณีคนเดียวหรือหลายคนเป็นอาจิณตามคำฟ้องของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์นำสืบได้เพียงว่า จำเลยอายุกว่าสิบหกปีเป็นผู้จัดหาหญิงผู้ทำการค้าประเวณีเพื่อผู้อื่นเป็นปกติธุระและได้รับเงินส่วนแบ่งจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีเท่านั้นจึงลงโทษจำเลยในความผิดนี้ตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เข้าข่ายรับของโจร ต้องมีเจตนาซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย หรือพาเอาไปเสีย ซึ่งฎีกานี้เห็นว่าพยานหลักฐานไม่พอฟัง
การที่มีผู้เห็นจำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันที่หายไปโดยมีนาย อ. เป็นคนขับในวันรุ่งขึ้นจากที่รถหาย และในตอนเย็นหลังจากวันที่รถหายได้ 1 วัน บุตรชายของนาย ย. ได้พาเพื่อน4 คนไปที่บ้านของนาย ย. พร้อมกับรถคันที่หายโดยมีจำเลยไปด้วยจำเลยค้างที่บ้านของนาย ย.2 คืน แล้วกลับไปก่อน ส่วนคนอื่นค้าง 3 คืน เมื่อจำเลยกลับไปแล้ว รถคันที่หายก็ยังอยู่ที่บ้านของนาย ย. และในวันที่เจ้าพนักงานตำรวจไปยึดชิ้นส่วนรถที่บ้านของนาย ย. ไม่เห็นจำเลย ดังนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยไปกับคนร้ายเท่านั้น การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสียซึ่งรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสนับสนุนการฆ่าผู้อื่น แม้ไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการกระทำความผิด
จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย 2 นัด โดยมีเจตนาฆ่าจำเลยที่ 2 เข้าล็อกคอและจับแขนผู้ตายหลังจากที่จำเลยที่ 1ใช้อาวุธปืนยิงถูกผู้ตาย 1 นัด แล้วผู้ตายสลัดหลุดแล้วล้มลง จึงถูกจำเลยที่ 1 จ่อยิงอีก 1 นัด โดยที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทะเลาะวิวาทกับผู้ตายและไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายมาก่อน การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1ในการยิงผู้ตายนัดที่ 2 เท่านั้น จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-904/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณราคาธรรมดาในตลาด ดอกเบี้ย และขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนอยู่ในแนวเขตที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสาย รัชดาภิเษกตอนแขวง วัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524และอยู่ในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขต บางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวากรุงเทพมหานครพ.ศ.2525ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ76จะต้องกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ให้เท่าราคาของที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่20ธันวาคม2524และวันที่2พฤษภาคม2525ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าวใช้บังคับตามลำดับมิใช่กำหนดค่าทดแทนโดยถือตามอัตราในบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอันเป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญชีดังกล่าว เรื่องเกี่ยวกับการสร้างทางพิเศษต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290มาใช้บังคับแต่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ24มิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดค่าทำขวัญไว้จึงต้องนำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงอันได้แก่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ67และข้อ76ในเรื่องค่าทดแทนและดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเพิ่มขึ้นมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ข้อ23วรรคสองกำหนดไว้เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนในเขตท้องที่เขต บางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ.2525กำหนดค่าทดแทนให้เท่าราคาของที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ76(1)กำหนดแล้วดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเพิ่มขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ67วรรคสองจึงต้องนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับเพื่อให้สอดคล้องกันด้วยจะนับแต่วันที่ได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสาย ดาวคะนอง-ท่าเรือ ในเขตท้องที่เขต บางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ.2530ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่25กรกฎาคม2530มาใช้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ข้อ24วรรคสองตอนท้ายบัญญัติไว้หาได้ไม่
of 33