พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5455/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นในเหตุฉุกเฉิน และการใช้ของกลางเป็นหลักฐาน
พฤติการณ์ที่พวกของจำเลยนำชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ที่ได้มาโดยการกระทำผิดบรรทุกรถยนต์ออกจากโกดังที่เกิดเหตุแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม โดยภายในโกดังที่เกิดเหตุมีการขน ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ตัดเป็นชิ้นแล้วบรรทุกรถยนต์กระบะอีกคันหนึ่งซึ่ง สามารถขับขนย้ายออกไปได้โดยง่าย มีเหตุผลเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้า กว่าจะเอาหมายค้นมาทำการตรวจค้นในวันรุ่งขึ้น สิ่งของดังกล่าว จะถูกโยกย้ายเสียก่อน และพยานหลักฐานสำคัญจะสูญหาย กรณีมีเหตุ ฉุกเฉินอย่างยิ่งพันตำรวจโท ป. ตำแหน่งสารวัตรสืบสวนสอบสวน ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ย่อมทำการตรวจค้นโกดังที่ เกิดเหตุในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายค้นได้ ของกลางจำนวนมากเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ที่ได้จากโกดังที่เกิดเหตุได้มีการตรวจสอบและให้จำเลยลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องไว้ในบัญชีของกลางแล้ว ย่อมใช้ยันจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์เรื่องราคาขายทอดตลาดต้องห้าม หากมิได้ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในชั้นแรก
แม้จำเลยได้ยื่นคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินไว้แล้วแต่ในคำร้องของจำเลยก็เพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นรับคำแถลงคัดค้านไว้เท่านั้น มิได้ขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดว่าทรัพย์สินของจำเลยที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายไปนั้นควรมีราคาเท่าไร จึงเป็นเรื่องที่จำเลยมิได้ดำเนินตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ปัญหาว่าทรัพย์สินของจำเลยควรมีราคาเท่าใดจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ประกอบกับปัญหานี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินรวม: ห้ามตั้งประเด็นใหม่หลังคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนำเงินที่ได้มาแบ่งปันกันตามส่วนคดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามคำพิพากษา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 มาร้องในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินส่วนนั้นมาจนที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลไต่สวนคำฟ้องเพื่อมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 นั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 1 ตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับจำเลยที่ 5 และมีผลเท่ากับขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ซึ่งไม่อาจกระทำได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลแต่ละคดีก็จะไม่เป็นที่ยุติลงได้ กรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้อย่างไร หรือจำเลยที่ 1 ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด จำเลยที่ 1ชอบที่จะไปดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีใหม่ต่างหาก
การที่โจทก์ขอหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทขายทอดตลาดคดีนี้ เป็นการกำหนดวิธีแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมเท่านั้นโจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี หาใช่เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันและกันไม่กรณีจึงไม่ใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 จำเลยที่ 1จึงไม่อาจอ้างว่าคำร้องของตนต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ได้ เพราะการร้องขอตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องงดขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ขอหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทขายทอดตลาดคดีนี้ เป็นการกำหนดวิธีแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมเท่านั้นโจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี หาใช่เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันและกันไม่กรณีจึงไม่ใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 จำเลยที่ 1จึงไม่อาจอ้างว่าคำร้องของตนต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ได้ เพราะการร้องขอตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องงดขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินรวม: จำเลยไม่อาจยกประเด็นใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนำเงินที่ได้มาแบ่งปันกันตามส่วนคดีถึงที่สุดแล้วแต่จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามคำพิพากษา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น คู่ความในคดีให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 มาร้อง ในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ จำเลยที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินส่วนนั้นมาจนที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1จึงขอให้ศาลไต่สวนคำฟ้องเพื่อมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 นั้นย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 1 ตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับจำเลยที่ 5 และมีผลเท่ากับขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ซึ่งไม่อาจกระทำได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลแต่ละคดีก็จะไม่เป็นที่ยุติลงได้ กรณีเช่นนี้ หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้อย่างไร หรือจำเลยที่ 1ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไป ดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีใหม่ต่างหาก การที่โจทก์ขอหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทขายทอดตลาดคดีนี้ เป็นการกำหนดวิธีแบ่งทรัพย์สิน ระหว่างเจ้าของรวมเท่านั้น โจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี หาใช่เป็น เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันและกันไม่กรณีจึงไม่ใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จำเลยที่ 1จึงไม่อาจอ้างว่าคำร้องขอตนต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ได้ เพราะการร้องขอตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องงดขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งรื้อถอนอาคารและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้คำสั่งไม่เป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดก็ยังถือว่ามีความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2529นายกเทศมนตรีตำบลนาสาร ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคาร ทั้งหมด แล้วให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยได้บังอาจฝ่าฝืน" ซึ่งหมายความว่า วันที่ 2 กันยายน 2529 เป็นวันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ ดัดแปลงต่อเติมนั้น และเป็นวันที่จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้ว อีกด้วย จึงมิใช่ฟ้องที่ไม่ได้แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งในวันใดดังที่จำเลยฎีกา ฟ้องของโจทก์ จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) บทบัญญัติมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มิได้กำหนดว่า คำสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นจะต้องเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เมื่อคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีใจความว่า จำเลยได้ต่อเติมอาคาร ด้านหลังโดยไม่มีใบอนุญาต อันเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษ ตามกฎหมาย และให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มีลักษณะเป็นคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว ถึงแม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้ใช้แบบตามที่กำหนดไว้ ท้ายกฎกระทรวงก็ไม่เหตุให้ผู้ฝ่าฝืนไม่มีความผิด แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้กำหนดระยะเวลาให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมน้อยกว่า 30 วัน ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 วรรคแรก บัญญัติไว้ก็ตาม ก็เป็นเพียงเหตุให้ไม่ต้องรื้อถอนอาคารก่อนครบกำหนด 30 วันเท่านั้น ดังนั้นการที่จำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่รื้อถอน และระยะเวลาที่กฎหมาย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดไว้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยยังเพิกเฉยเสีย จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง จำเลย ย่อมมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารกับความผิดอนาจารเป็นคนละกรรมกัน แม้มีเจตนาเดียวกัน
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจาร แม้จำเลยยังไม่ได้กระทำอนาจารผู้เสียหายก็ตามการที่จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายหลังจากนั้นจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งซึ่งต่างกรรมต่างวาระกับความผิดดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4662/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะตัวแทนและการเป็นบริวารในสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
ผู้ร้องไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือตั้งจำเลยเป็นตัวแทนในการทำสัญญาเช่า ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าในฐานะเป็นตัวแทนผู้ร้อง เมื่อจำเลยเช่าตึก พิพาทจากโจทก์ ผู้ร้องเข้ามาอาศัยอยู่ในตึก พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยจึงเป็นบริวารจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องล้มละลายต้องบรรยายองค์ประกอบเจ้าหนี้มีประกันครบถ้วน แม้จำเลยไม่ต่อสู้ ศาลก็วินิจฉัยได้
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่มิได้บรรยายฟ้องว่าเมื่อจำเลยล้มละลายแล้ว โจทก์ยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ จำเลยกู้เงินโจทก์และทำหนังสือสัญญาจำนำจักรเย็บผ้าแก่โจทก์แต่มิได้มอบจักรเย็บผ้าให้โจทก์ไว้ ถือไม่ได้ว่ามีการจำนำตามป.พ.พ. มาตรา 747 โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเจ้าหนี้มีประกัน จำเป็นต้องบรรยายการสละหลักประกันเมื่อจำเลยล้มละลาย และการจำนำต้องมีการส่งมอบทรัพย์
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่มิได้บรรยายฟ้องว่า เมื่อจำเลยล้มละลายแล้ว โจทก์ยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยกู้เงินโจทก์และทำหนังสือสัญญาจำนำจักรเย็บผ้าแก่โจทก์ แต่มิได้มอบจักรเย็บผ้าให้โจทก์ไว้ ถือไม่ได้ว่ามีการจำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 747 โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน
จำเลยกู้เงินโจทก์และทำหนังสือสัญญาจำนำจักรเย็บผ้าแก่โจทก์ แต่มิได้มอบจักรเย็บผ้าให้โจทก์ไว้ ถือไม่ได้ว่ามีการจำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 747 โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายเพื่อป้องกันตัว: การแทงในระหว่างการต่อสู้และภาวะถูกทำร้าย ไม่ถือเป็นเจตนาฆ่า
จำเลยได้แทงโจทก์ร่วมในขณะชุลมุนต่อสู้กับโจทก์ร่วม และขณะที่แทง โจทก์ร่วมนั่งคร่อมอยู่บนตัวจำเลยและบีบคอจำเลยอยู่ในภาวะและพฤติการณ์เช่นนั้น จำเลยย่อมไม่มีโอกาสเลือกได้ว่าจะแทงบริเวณไหน ในขณะนั้นใบหน้าของโจทก์ร่วมเป็นตำแหน่งที่จำเลยจะแทงได้ถนัดกว่าบริเวณอื่น แม้บาดแผลดังกล่าวจะเป็นบาดแผลฉกรรจ์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสเพราะถูกแทงโดยแรง ก็เนื่องจากจำเลยมีเจตนาจะหยุดยั้งมิให้โจทก์ร่วมบีบ คอจำเลยจนหายใจไม่ออกจำเลยจึงได้แทงส่วนออกไปด้วยความตกใจและกลัวตาย จำเลยแทงโจทก์เพียงครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่จำเลยจะแทงซ้ำอีกก็ย่อมกระทำได้เพราะแม้มีดจะหลุดคา อยู่ที่บาดแผลของโจทก์ร่วม แต่มีดของจำเลยเป็นมีดที่ชาวบ้านเรียกว่าเสือซ่อนเล็บเป็นมีดคู่มี 2 เล่ม เมื่อแทงโจทก์ร่วมแล้วก็ยังเหลือมีดอยู่อีกเล่มหนึ่ง แต่จำเลยก็มิได้ใช้มีดที่เหลือแทงโจทก์ร่วมอีก กลับโยนทิ้งไว้ในที่เกิดเหตุแล้วผละหนีไป ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วมจำเลยคงมีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297.