คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ม. 43 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดีขับรถในขณะเมาสุราฯ จำเลยฎีกาว่าต้องลงโทษฐานประมาท แต่ศาลฎีกาเห็นว่าบทขับรถเมาฯ โทษหนักกว่า
ในขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท ส่วนความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท แม้บทกฎหมายที่ระวางโทษในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวมีระวางโทษจำคุกขั้นสูงเท่ากัน คือ จำคุกไม่เกินสิบปีแต่ความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ มีระวางโทษจำคุกขั้นต่ำสามปีด้วย ความผิดดังกล่าวจึงมีโทษหนักกว่าความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 จึงต้องลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) (4), 157, 160 ตรี การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 42 (2), 160 ตรี วรรคสี่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 3 ปี อันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้แก้ไขบทมาตราแห่งความผิดเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้นจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขับรถเมาแล้วชนคนตาย ศาลลงโทษฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และปรับดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน
ความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โจทก์ร่วมทั้งสามไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรงจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักกว่าโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามและศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับพิจารณาในข้อหานี้โดยกำหนดโทษใหม่เป็นจำคุก 4 ปี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวแม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ออกมาจากค่ายสุรธรรมพิทักษ์ แล้วเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวาที่มีรถยนต์กระบะของจำเลยแล่นอยู่ โดยผู้ตายไม่ตรวจตรารถที่วิ่งมาในทางตรงให้ปลอดภัยทำให้รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกัน ผู้ตายมิได้ใช้ความระมัดระวังในการเปลี่ยนช่องเดินรถถือว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ส่วนจำเลยขับรถยนต์ในขณะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามที่กฎหมายกำหนด อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งประสงค์จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เนื่องจากสุราหรือของมึนเมาทำให้สมรรถภาพในการควบคุมยานพาหนะด้อยประสิทธิภาพลง อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้โดยง่าย จำเลยขับรถผ่านที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางตรงและเป็นช่วงเวลากลางวัน หากจำเลยไม่อยู่ในอาการมึนเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น จำเลยก็น่าจะหักรถหลบหรือหยุดรถได้ทันก่อนที่จะเกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น เหตุเฉี่ยวชนจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยด้วยเช่นกัน เมื่อจำเลยมีส่วนประมาท จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
เมื่อจำเลยและผู้ตายต่างเป็นฝ่ายประมาทก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้น กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ที่บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 223 บัญญัติว่า ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ได้ความว่า จำเลยขับรถยนต์ในขณะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ค่อนข้างมาก บ่งชี้ว่าจำเลยไม่แยแสต่อผลร้ายที่จะเกิดขึ้นจากการขับรถในขณะที่ตนเมาสุรา ทั้งจุดชนอยู่ในช่องเดินรถที่สองนับจากซ้ายมือแสดงว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ขับรถในช่องเดินรถซ้ายสุดตามที่กฎหมายกำหนด บนพื้นถนนก็ไม่ปรากฏว่ามีรอยเบรคของรถยนต์คันที่จำเลยขับ ทั้งที่สถาพบริเวณถนนที่เกิดเหตุจำเลยสามารถมองเห็นรถที่แล่นอยู่ในทิศทางเดียวกับรถของตนได้โดยง่าย ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าผู้ตาย จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดนั้น เป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว จึงกำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 เท่ากับจำนวนที่ศาลชั้นต้นกำหนด
เมื่อลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสี่แล้ว ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราตามมาตรา 160 ตรี วรรคหนึ่งได้อีก และจำเลยยังมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา และมิได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
สำหรับอัตราดอกเบี้ยของค่าสินไหมทดแทน ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าวได้แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6898/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานขับรถเสพยา-เมาสุราเป็นกรรมเดียว แม้ฟ้องแยกกระทง
การที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนเข้าสู่ร่างกายแล้วขับรถยนต์ในขณะเมาสุรา อันเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกัน คือ ขับรถยนต์ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนและขับรถในขณะเมาสุรา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์บรรยายฟ้องแต่ละข้อหาต่างกรรมกัน ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในคดีขับรถขณะเมาสุราและหลบหนีขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลอุทธรณ์แก้ไขบทลงโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 ตรี วรรคหนึ่ง ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เท่ากับศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43,160 ตรี ตามฟ้องโจทก์แล้ว และคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า การขับรถในขณะเมาสุราของจำเลยเป็นเหตุให้ น. ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งบทบัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นมาตรการทำนองเดียวกันกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการที่จะคุ้มครองประชาชนทั่วไปมิให้ได้รับอันตรายที่อาจเกิดจากการกระทำของจำเลย และเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งดังกล่าว ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและมิได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลชั้นต้น ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามที่จำเลยยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา เมื่อถึงที่เกิดเหตุ ดาบตำรวจ ป. และ น. ผู้ซึ่งต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงานตามกฎหมายกับพวก ตั้งจุดตรวจสกัดเพื่อป้องกันอาชญากรรม ดาบตำรวจ ป.ได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานเพื่อขอตรวจสอบ แต่จำเลยขับรถหลบหนีและพุ่งชนแผงกั้นถนนจนกระเด็นถูก น. ได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยเป็นการขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับรถเมาแล้วชนจนผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าและขับรถโดยประมาท
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา ซึ่งเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 และจำเลยขับรถยนต์คันเกิดเหตุพุ่งเข้าชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมทั้งสองอันเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นนั้น เป็นการกระทำความผิดที่มีเจตนาแยกต่างหากจากกัน ถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการที่จำเลยขับรถยนต์คันเกิดเหตุพุ่งเข้าชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมทั้งสอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 ตรี นั้น โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยขับรถยนต์คันเกิดเหตุในขณะเมาสุรา โดยโจทก์มิได้บรรยายอ้างเหตุว่า การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2) นั้น เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสาม แต่คงลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 160 ตรี วรรคหนึ่ง เท่านั้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา และความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราจะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9932/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานเป็นผู้ขับขี่รถในขณะมึนเมายาเสพติดให้โทษเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสซึ่งเป็นกรรมเดียวกับฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฐานทำให้เสียทรัพย์ของผู้อื่น และฐานทำให้เสียหายซึ่งทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ จึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และคดีที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย จึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง
ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและฐานเป็นผู้ขับขี่รถในขณะมึนเมายาเสพติดให้โทษเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสโดยไม่ได้ ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13417/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการจ่ายเงินรางวัลค่าปรับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ: ข้อบังคับกระทรวงการคลังมิได้กำหนดหน้าที่โดยตรง
แม้ข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินรางวัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร พ.ศ.2544 ข้อ 5 กำหนดว่า "เงินค่าปรับที่ส่วนราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับ ให้หักไว้จ่ายเป็นเงินรางวัล เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจรในอัตราร้อยละ 95 ก่อนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน" ก็ตาม แต่ข้อบังคับดังกล่าวเป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการหักเงินค่าปรับจ่ายเป็นเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจรก่อนนำส่งคลังเท่านั้น ไม่ใช่ข้อบังคับที่กำหนดให้ศาลจ่ายเงินรางวัลค่าปรับแก่ผู้จับกุม โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นคำขอให้ศาลจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้จับกุมตามข้อบังคับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: คดีเมาแล้วขับชนจนผู้อื่นบาดเจ็บ สิทธิฟ้องระงับหากเคยถูกตัดสินลงโทษในความผิดฐานเมาแล้วขับแล้ว
พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยขับรถในขณะเมาสุรา จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้ว การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม (เดิม) กับการที่จำเลยซึ่งมีอาการมึนเมาสุราขับรถในลักษณะส่ายไปมาบนท้องถนนและขับล้ำเข้าไปในช่องเดินรถที่แล่นสวนมาเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่มีผู้เสียหายที่ 1 ขับ และมีผู้เสียหายที่ 2 นั่งไปด้วยได้รับความเสียหาย และผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่หลายกรรมต่างกันไม่ เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราแล้วสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในการกระทำเดียวกันนั้นเป็นคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: เมาแล้วขับรถประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ลงโทษตามบทหนักสุด
การที่จำเลยขับรถขณะเมาสุราอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม กับการที่จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงในขณะเมาสุราจนไม่สามารถลดความเร็วของรถลงและหยุดรถเพื่อให้รถยนต์ของผู้ตายเลี้ยวขวาผ่านไปก่อน ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยพุ่งเข้าเฉี่ยวชนรถยนต์ที่ผู้ตายขับ และผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 และ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4067/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขับรถเมาแล้วประมาทชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย: การลงโทษกรรมเดียว & แก้ไขโทษ
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม กับการที่จำเลยขับรถโดยประมาทแซงรถที่อยู่ข้างหน้าไปในหน้าไปในช่องเดินรถขวามือในขณะที่ผู้ตายขับสวนมา เป็นเหตุให้ชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายเสียหายและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 และ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
of 2