พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ไม่สำเร็จ: การเบิกสินค้าโดยทุจริตแต่ยังอยู่ในครอบครองผู้เสียหาย
แม้จำเลยเป็นผู้เขียนใบเบิกสินค้าทั้ง 5 รายการ และเบิกสินค้าโดยไม่มีใบสั่งซื้อ 2 รายการ โดยทุจริตเพื่อลักทรัพย์ อันเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้วก็ตาม แต่เมื่อสินค้านั้นยังคงอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายการกระทำของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นเพียงการลงมือกระทำผิดฐานลักทรัพย์แล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดเท่านั้น อันเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามลักทรัพย์จากใบเบิกสินค้าเท็จ แม้ยังไม่ได้ครอบครองทรัพย์สิน
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย มีหน้าที่ทำใบเบิกสินค้าจำเลยได้เขียนใบเบิกสินค้าตามใบสั่งซื้อจำนวน 5 รายการ และเบิกสินค้าโดยไม่มีใบสั่งซื้อจำนวน 2 รายการ คือ จานเปล 48 ใบและโถ สำหรับใส่อาหาร 12 ใบ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้ายึดถือครอบครองเอาจานเปลและโถดังกล่าวไป เนื่องจากมีผู้มาพบสินค้าดังกล่าวเสียก่อน แสดงว่าสินค้ายังคงอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายแต่การที่จำเลยเขียนใบเบิกสินค้าอันเป็นเท็จจำนวน2 รายการ ถือว่าเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอด จึงเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามลักทรัพย์นายจ้าง: การกระทำไม่สมบูรณ์ ไม่เข้าข่ายลักทรัพย์ แต่เป็นความพยายาม
จำเลยเขียนใบเบิกสินค้าเพื่อเบิกสินค้าของนายจ้างโดย ไม่มีใบสั่งซื้อ 2 รายการ เพื่อลักทรัพย์ แต่จำเลยไม่ได้เข้ายึดถือครอบครองเอาสินค้าที่เบิกไป สินค้ายังคงอยู่ในความครอบครองของนายจ้าง การเขียนใบเบิกสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นการลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด จึงเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องและฟ้องซ้อน เหตุจำเลยยกเหตุใหม่และฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของสถานที่และกิจการโรงแรม ร. มีอำนาจฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของสถานที่เพราะขายกิจการให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นเจ้าของห้องพิพาทและมีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยฎีกาอ้างเหตุใหม่ในชั้นฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อน และใช้สิทธิบอกกล่าวให้จำเลยส่งมอบห้องคืนโดยไม่สุจริตนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่เห็นสมควรรับวินิจฉัยให้ คดีก่อนจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยอ้างว่าผิดสัญญาเช่า ปิดกั้นด้านหน้าของโรงแรม ร. ทำให้โจทก์(จำเลยที่ 2 คดีนี้) เสียหาย เป็นค่าตกแต่งสถานที่ เป็นเงินจำนวน2,400,000 บาท ค่าขาดรายได้คำนวณถึงวันฟ้องเป็นเงิน 600,000 บาทคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนคดีนี้จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งว่าสัญญาเช่าห้องพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นค่าตกแต่งสถานที่ซึ่งใช้ดำเนินกิจการเป็นร้านตัดผมและอาบอบนวด ถ้าต้องย้ายออกไปจะเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้สถานที่ คำนวณเป็นเงิน 2,000,000 บาท ดังนั้น คดีนี้และคดีก่อนจึงมีประเด็นที่อ้างว่ามีการผิดสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหายเป็นมูลเหตุเดียวกัน ฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นฟ้องเรื่องเดียวกับฟ้องที่จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์ในคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน – สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่า – ประเด็นเดียวกัน – ฟ้องแย้งต้องห้าม
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ใช่เจ้าของสถานที่และกิจการโรงแรมหรือไม่เท่านั้น โดยศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของสถานที่และกิจการโรงแรมมีอำนาจฟ้อง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์โต้แย้งว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของสถานที่เพราะได้ขายกิจการให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของสถานที่เช่าและโจทก์มีอำนาจฟ้อง เมื่อศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยดังกล่าวแล้ว จำเลยทั้งสองจะฎีกาอ้างเหตุใหม่ในชั้นฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อนและใช้สิทธิบอกกล่าวให้จำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืนโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้เรื่องดังกล่าวจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรก็ไม่รับวินิจฉัยให้ได้ คดีก่อนบริษัทจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่าสถานที่บริเวณโรงแรมโดยปิดกั้นด้านหน้าของโรงแรม ทำให้จำเลยที่ 2 เสียหาย เป็นค่าตกแต่งสถานที่และค่าขาดรายได้ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,000,000 บาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนฟ้องแย้งในคดีนี้จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งว่าสัญญาเช่าสถานที่ซึ่งเป็นที่เดียวกับคดีก่อนระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นค่าตกแต่งสถานที่ซึ่งใช้ดำเนินกิจการเป็นร้านตัดผมและอาบอบนวด ถ้าต้องย้ายออกไปจะเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้สถานที่คำนวณเป็นเงิน2,000,000 บาท ดังนั้น คดีนี้และคดีก่อนจึงมีประเด็นที่อ้างว่ามีการผิดสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหายเป็นมูลเหตุเดียวกันฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นฟ้องเรื่องเดียวกันกับฟ้องที่จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดพิจารณาคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องส่งไปยังสำนักงานทนายความที่ถูกต้องและปัจจุบัน หากส่งไปยังที่อยู่เก่าที่ไม่ถูกต้อง ถือว่าการส่งไม่ชอบ
จำเลยยื่นคำร้องว่า ทนายจำเลยออกจากสำนักงานทนายความเดิมไปแล้ว และสำนักงานดังกล่าวได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น มิใช่สำนักงานที่เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ทั้งเป็นการย้ายไปอยู่ที่ใหม่ก่อนที่จะมีการปิดหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องดังกล่าว ย่อมถือไม่ได้ว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเป็นไปโดยชอบศาลชั้นต้นต้องไต่สวนให้ได้ความว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยโดยชอบแล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานต่อเนื่องหลังสัญญาหมดอายุ และสิทธิค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้างยังทำงานให้แก่นายจ้างเรื่อยมา โดย นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แต่มิได้ทำสัญญาจ้างกันเป็นหนังสือ การจ้างลูกจ้างต่อมาจึงเป็นการจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าใด ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าก็อาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อนายจ้างได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามบทบัญญัติดังกล่าวว่าการจ้างสิ้นสุดลงจึงเป็นการให้ลูกจ้างออกจากงานโดย ที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานอันเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามข้อ 46 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ข้อ 7 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) กรณีมิใช่เป็นการจ้างลูกจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นงานตามโครงการซึ่งนายจ้างและลูกจ้างตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดย มีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้และเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้วแต่งานยังไม่แล้วเสร็จนายจ้างและลูกจ้างตกลงต่อสัญญาจ้างกันอีกโดย ระยะเวลาการจ้างทั้งสิ้นรวมแล้วไม่เกินระยะเวลาการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกตามข้อ 46 วรรคสามลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการสระว่ายน้ำต่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเด็กเล็ก และความละเลยของพนักงานช่วยชีวิต
จำเลยที่ 2 ดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการให้ใช้บริการสระว่ายน้ำ โดยมีค่าตอบแทนแก่บุคคลทั่วไปในรูปการจำหน่ายบัตรให้แก่ผู้ใช้บริการ จำเลยที่ 2 จึงต้องมีหน้าที่และมาตรการให้ความปลอดภัยและดูแลความเรียบร้อยของสระว่ายน้ำในระดับที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ โดยเฉพาะผู้ใช้บริการที่เป็นเด็กเล็ก สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการให้บริการในลักษณะนี้ของสระว่ายน้ำ ได้แก่การจัดหาพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำที่มีความสามารถและมีจำนวนเพียงพอเพื่อช่วยชีวิตหรือป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการในกรณีที่มีเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ ประกาศที่ทางสระว่ายน้ำระบุให้ผู้ใช้บริการรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเองนั้น ไม่ทำให้เป็นข้อแก้ตัวที่จำเลยที่ 2 จะปัดความรับผิดได้ แม้จำเลยที่ 2 จะจ้างพนักงานช่วยชีวิตไว้ประจำสระว่ายน้ำก็ตาม แต่ขณะที่ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเด็กจมน้ำลงสู่พื้นสระว่ายน้ำไม่มีผู้ใดเห็นเหตุการณ์เลย ถือได้ว่าเป็นความละเลยของพนักงานช่วยชีวิตที่ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการ การกระทำโดยประมาทเลินเล่อดังกล่าวของพนักงานช่วยชีวิตซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลและสั่งการของจำเลยที่ 2 ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของสระว่ายน้ำต่อความปลอดภัยผู้ใช้บริการ และความรับผิดของลูกจ้างที่ทำการในทางการจ้าง
จำเลยที่ 2 ดำเนินกิจการให้ใช้บริการสระว่ายน้ำโดย มีค่าตอบแทนแก่บุคคลทั่วไป จำเลยที่ 2 จึงต้องจัดหาพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำที่มีความสามารถและมีจำนวนเพียงพอเพื่อช่วยชีวิตหรือป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการในกรณีที่มีเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ประกาศที่ให้ผู้ใช้บริการรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเองไม่ทำให้เป็นข้อแก้ตัวที่จำเลยที่ 2 จะปัดความรับผิดได้เมื่อพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำของจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ขณะที่ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเด็กจมน้ำ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของพนักงานช่วยชีวิตที่อยู่ในความควบคุมดูแลและสั่งการของจำเลยที่ 2 ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเรื่องทรัพย์สิน: โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง แม้ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ลักทรัพย์จำเลยอันเป็นความเท็จทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญา โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงในข้อหาฐานแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามป.อ. มาตรา 137 แม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานซึ่งปกติรัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงก็ตาม ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเนื่องจากเห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ แต่จำเลยได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์โต้แย้งว่าทรัพย์ของกลางเป็นของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์ด่วนฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่าทรัพย์ของกลางเป็นของโจทก์ โดยไม่วินิจฉัยในประเด็นนี้ จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบ และไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา แต่เมื่อปรากฏพยานหลักฐานในสำนวนแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน.