พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการประเมินราคาศุลกากรและพิกัดอัตราภาษีที่ถูกต้องตามราคาตลาดและข้อเท็จจริง
การขัดผิวหรือทำกระจกให้ใส อันจะพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่70.06 นั้น ไม่จำต้องกระทำด้วยกรรมวิธีทางเครื่องมือกลแต่เพียงอย่างเดียว การผลิตกระจกโดยใช้กรรมวิธีชั้นสูงที่ทำให้ผิวหน้ากระจกราบเรียบ เป็นเงาใสโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีกก็คือเป็นการทำให้กระจกได้รับการตกแต่งโดยขัดผิวหรือทำให้ใสแล้ว การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดี จะต้องใช้บทกฎหมายที่มีผลบังคับอยู่ขณะที่มีการนำเข้า ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายของสภาความร่วมมือทางศุลกากร เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ราคาสินค้าที่นำเข้า จะต้องประเมินจากราคาขายส่งเงินสด(ไม่รวมอากรขาเข้า) หรือจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่นำของเข้า ส่วนราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้นั้น เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษีมิได้เป็นข้อตายตัวว่าสินค้าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวเสมอไป และการที่โจทก์เคยยื่นบัญชีราคาสินค้าต่อจำเลยไว้ และไม่มีการแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงราคาจะถือเอาว่าราคาสินค้ามีราคาเดิมตลอดมาก็ไม่ได้เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและประเภทพิกัดสินค้ากระจก การพิจารณาราคาแท้จริงและราคาประเมิน
สินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 และประเภทที่ 70.06 ท้ายพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราภาษีศุลกากรพ.ศ. 2503 นั้น แม้สินค้าทั้งสองประเภทจะเป็นกระจกที่มีกรรมวิธีใด ๆ ที่ผลิตขึ้นหรือทำขึ้น และไม่ว่าจะเป็นสีหรือไม่ก็ตาม ต่างก็เป็นแก้วอันเป็นวัตถุดิบเช่นเดียวกันข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 เป็นแก้วที่ยังมิได้ตกแต่งส่วนสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 เป็นแก้วที่ได้ขัดผิดแล้วประการหนึ่ง หรือทำให้ใสแล้วอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องมิได้มีการทำให้แก้วนั้นมีคุณสมบัติหรือมีประโยชน์ในลักษณะการใช้สอยดีขึ้นมากไปกว่าการขัดผิดหรือทำให้ใส กรรมวิธีในการผลิตกระจกพิพาทจะต้องเป็นไปตามแบบแผนผัง กล่าวคือ การทำให้ผิดกระจกมีความมันและใสด้วยวิธีไฟร์โพลิช จะประกอบด้วยตัวทำความเย็นสองหน่วย ที่เรียกว่าเมนคูลเลอร์และเบบี้คูลเลอร์ เริ่มต้นด้วยการนำวัตถุดิบเป็นแถบน้ำแก้วหลอมเหลวอุณหภูมิ 800 เซลเซียส จากเตาหลอมผ่อนครอบบาร์ เพื่อดึงขึ้นในแนวตั้งแผ่นกระจกจะเริ่มแข็งตัว และผ่านเมนคูลเลอร์จนถึงเบบี้คูลเลอร์ เพื่อให้อุณหภูมิของแผ่นกระจกลดลงตามลำดับ จากนั้นจึงถึงช่วงของไฟร์โพลิช โดยใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงผสมกับอากาศที่ได้สัดส่วนแล้วพ่นไฟดังกล่าวให้เปลวไฟอยู่ห่างแผ่นกระจกประมาณ 1 นิ้วเปลวไฟดังกล่าวจะเป็นตัวทำให้ผิดหน้าของกระจกราบเรียบและเป็นเงาใส ซึ่งการผลิตด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการขัดผิวกระจกและทำให้ใสโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีก ดังนั้นวิธีไฟร์โพลิชดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการทำให้กระจกซีท ได้รับการตกแต่ง โดยขัดผิวและทำให้ใสแล้ว หาใช่เป็นกระบวนการผลิตกระจกธรรมดาตามปกติไม่ เพราะหากไม่ผ่านกระบวนการของไฟร์โพลิชก็คงเป็นกระจกธรรมดากระจกพิพาทจึงจัดเข้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 ส่วนที่จำเลยโต้แย้งว่า การวินิจฉัยว่าแผ่นกระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทใด จะต้องถือตามคำอธิบาย พิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรกรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของนายเอชอาซากุระ ผู้อำนวยการพิกัดศุลกากรของสภาซี.ซี.ซี. ที่ระบุว่ากระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 70.05 นั้น การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดีจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะที่มีการนำเข้า ซึ่งในขณะนั้นได้แก่พระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรมิใช่กฎหมาย เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าว มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามีราคาเป็นจำนวนใดจะต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 2 ที่นิยามคำว่า "ราคา" หรือ "ราคาอันแท้จริง ในท้องตลาด" ว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้า ไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่นำของเข้า หรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอน หรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด"ดังนั้น ที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษีมิได้เป็นข้อตายตัวว่าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวในขณะมีผู้นำเข้าเสมอไป แต่ได้กำหนดขึ้นเพื่อทราบราคาอันแท้จริงในท้องตลาดในเบื้องแรกว่ามีราคาใด ราคาที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งนำเข้าระหว่างวันที่ 21 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2528เป็นราคาเดียวกับที่โจทก์ได้แจ้งไว้ในใบกำกับสินค้าในขณะที่โจทก์ส่งกระจกพิพาทลงเรือ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติผู้ขายในต่างประเภทจะส่งบัญชีราคาสินค้ามาให้โจทก์ตามที่ขอทราบราคาไป เมื่อโจทก์พอใจราคาแล้วก็จะสั่งซื้อ และดำเนินการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้ารับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายโดยผ่านทางธนาคาร จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้สั่งซื้อกระจกพิพาทในราคาดังกล่าวจริง ไม่มีข้อที่จะโต้แย้ง หรือมีเหตุสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวทำขึ้นไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะมีผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ได้เสียอีกหลายฝ่ายอาทิผู้รับขนทางทะเล และธนาคารตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ทั้งนี้ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าตัวแลกเงิน และใบเสร็จรับเงินแล้วแต่ละกรณี จะเป็นข้อสำคัญที่ยันผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวมิให้โต้เถียงในเรื่องราคา เป็นเรื่องอย่างอื่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าราคาสินค้า ที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาที่แท้จริง และถูกต้องกว่าราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณา และกำหนดเป็นราคาประเมินไว้ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้เสนอบัญชีราคาสินค้าให้จำเลยพิจารณาราคาไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 แต่โจทก์นำสินค้ากระจกพิพาทเข้าภายหลังอีกประมาณ 1 ปีต่อมาราคาย่อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะของตลาด การที่โจทก์ไม่เสนอราคาที่เปลี่ยนแปลงต่อจำเลยก็ไม่เป็นข้อผูกมัดว่าโจทก์จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นและราคาจะต้องตายตัวในราคานั้น เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติดังกล่าวการยื่นบัญชีราคาสินค้าไว้ต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณาเป็นการอำนวยความสะดวก หรือให้ข้อมูลแก่จำเลยล่วงหน้าที่โจทก์จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการดำเนินพิธีการทางศุลกากร ในการนำเข้าให้เป็นไปโดยรวดเร็วส่วนเหตุที่สินค้ากระจกพิพาทมีราคาต่ำลงนั้น ก็ได้ความว่ากรรมวิธีการผลิตกระจกต้องใช้น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงในระหว่าง ปี 2524 ถึง 2528 ราคาน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้ค่าระวางเรือลดลงในอัตราประมาณร้อยละ 30 ถึง ร้อยละ 40 รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้าที่โจทก์อาจเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนได้หลายวิธี ราคากระจกในท้องตลาดทั่วไปจึงลดลงได้และเมื่อพิจารณาประกอบถึงการชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศที่มีวิธีการชำระเงินผ่านธนาคารในรูปของการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และอยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชำระเป็นราคาสินค้า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ฟังได้ว่า โจทก์สำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ: ต้องเปิดโอกาสสืบพยานเพื่อพิสูจน์สถานะกรรมการ
ในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ยังมีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนของบริษัทจำเลยที่ 7 และที่ 8 อยู่หรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 7 และที่ 8 ทำกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ยังเป็นข้อที่โจทก์และจำเลยทั้งแปดโต้เถียงกันอยู่ ควรให้โอกาสคู่ความนำสืบให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้งดสืบพยานของคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งแปดต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ ขึ้นอยู่กับสถานะกรรมการของโจทก์ ต้องให้สืบพยานเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ครบถ้วน
ในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ยังมีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนของบริษัทจำเลยที่ 7 และที่ 8 อยู่หรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 7 และที่ 8 ทำกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ยังเป็นข้อที่โจทก์และจำเลยทั้งแปดโต้เถียงกันอยู่ ควรให้โอกาสคู่ความนำสืบให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้งดสืบพยานของคู่ความแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งแปดต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนสัญญาสัญญาประนีประนอมยอมความ: ต้องเปิดโอกาสสืบพยานเพื่อพิสูจน์สถานะกรรมการ
ในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ยังมีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนของบริษัทจำเลยที่ 7 และที่ 8 อยู่หรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 7 และที่ 8 ทำกับจำเลยที่ 1ถึงที่ 6 ยังเป็นข้อที่โจทก์และจำเลยทั้งแปดโต้เถียงกันอยู่ควรให้โอกาสคู่ความนำสืบให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้งดสืบพยานของคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ชอบศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งแปดต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอฟังว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้จำหน่าย จำเลยมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม
โจทก์ไม่มีสายลับที่อ้างว่าเป็นผู้ซื้อเฮโรอีนจากจำเลยมาเป็นพยาน จำเลยย่อมเสียเปรียบไม่มีโอกาสซักค้านพยานโจทก์เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างชัด คำของเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมที่เบิกความว่าใช้สายลับเข้าไปล่อซื้อเฮโรอีนจากจำเลยก็ดี คำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นพยานบอกเล่าธนบัตรของกลางจำเลยก็ปฏิเสธอยู่ว่าไม่ได้ค้นได้ที่ตัวจำเลยเฮโรอีนของกลางมีเพียง 4 ห่อ น้ำหนักรวม 0.18 กรัม เท่านั้นจำเลยอาจมีไว้เพื่อเสพดังที่อ้างก็เป็นได้ ทั้งเมื่อจำเลยถูกตรวจค้นพบเฮโรอีนของกลาง จำเลยก็ได้บอกว่าตนเป็นผู้ติดยาเสพติดพยานหลักฐานโจทก์จึงยังไม่แน่นแฟ้น มั่นคงพอที่จะให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: กรณีฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลพิจารณาจากเหตุผลและความร้ายแรง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยหลังจากที่ฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะนำสืบพยานจำเลยปากต่อไปแล้วสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็น อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้น ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรงและกรณีเช่นไรไม่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆไปเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยมาก่อน ทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใด และหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไร เมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้ แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: การพิจารณาความร้ายแรงของการฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยหลังจากฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะนำสืบพยานจำเลยปากต่อไปแล้วสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าวเพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามปะมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธี-พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรงและกรณีเช่นไรไม่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไปเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยมาก่อน ทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใด และหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไรเมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรงและกรณีเช่นไรไม่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไปเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยมาก่อน ทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใด และหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไรเมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลพิจารณาความร้ายแรงของคำสั่งและเหตุผลในการฝ่าฝืน
การที่ศาลแรงงานกลางฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะสืบ พยานจำเลยปากต่อไปและสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจ ที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้บัญญัติ ไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย มาก่อนทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลในเวลาใกล้จะเลิกงานของโจทก์ โดยไม่ได้บอกโจทก์ว่าให้ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใดและหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไรเมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้ แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของ นายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องฉ้อโกงไม่สมบูรณ์เมื่อไม่ระบุทรัพย์สินที่ได้ไปจากผู้เสียหาย หรือการถอนทำลายเอกสารสิทธิ
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ปรากฏชัดว่า จากการหลอกลวงของจำเลยจำเลยได้ทรัพย์สินอะไรไปจากผู้เสียหาย หรือทำให้ผู้เสียหายต้องถอน ทำลายเอกสารสิทธิ อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้องพอสมควรที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)