พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องฉ้อโกงไม่สมบูรณ์เมื่อไม่ระบุทรัพย์สินที่ได้ไปจากผู้เสียหาย หรือการถอนทำลายเอกสารสิทธิ
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ปรากฏชัดว่า จากการหลอกลวงของจำเลยจำเลยได้ทรัพย์สินอะไรไปจากผู้เสียหาย หรือทำให้ผู้เสียหายต้องถอน ทำลายเอกสารสิทธิ อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้องพอสมควรที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ศาลไม่รับพิจารณาหากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานไม่เกี่ยวพันกับฟ้องเดิม
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายสำหรับสินค้าของโจทก์ที่ขาดหายไป เพราะจำเลยทุจริตต่อหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยนั้นขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหาย ดังนั้นฟ้องเดิมจึงเป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่ฟ้องแย้งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้ฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งจึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงานต้องมีความเกี่ยวพันกับฟ้องเดิม หากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่างกัน ศาลไม่รับพิจารณา
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแม้ว่าทิ้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตามแต่ข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานที่นำสืบเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้ ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและการดำเนินคดีภาษีอากร: ความบกพร่องของจำเลยและการใช้ดุลยพินิจของศาล
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร ฉบับลงวันที่ 30 มกราคม 2529ข้อ 8
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2523จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุจากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า และแบบแสดงรายการการค้าลงวันที่ 17 ธันวาคม2524 เป็นเงิน 161,780.06 บาท เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันไว้10,000 บาท ภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่น แล้วปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดที่มีราคา359,173.29 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มขึ้น แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้ง จำเลยสามารถเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีได้ถูกต้องชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีของศาลภาษีอากรกลางเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งปกติจำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป แต่ในกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุอาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน ทำให้จำเลยไม่มีระยะเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและ-ภาษีบำรุงเทศบาล ทั้งในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 ทำให้จำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลย และในวันนัดชี้สองสถาน จำเลยทราบนัดแล้วก็ไม่มาศาล อีกทั้งนับจากวันที่จำเลยยื่นคำให้การจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นเวลาถึงสองเดือนเศษซึ่งเป็นระยะเวลานานพอควร จำเลยควรที่จะติดตามและสอบถามถึงวันนัดที่จำเลยมีวันว่างเพื่อจะได้ขอเลื่อนคดีเสียก่อนนั้นได้ แต่ตามพฤติการณ์ของจำเลยกลับปรากฏว่า จำเลยไม่เอาใจใส่และสนใจดำเนินคดีเท่าที่ควร ที่ศาลภาษีอากร-กลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นผลมาจากความบกพร่องของจำเลยเอง จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจที่มีเหตุผลสมควรแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2523จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุจากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า และแบบแสดงรายการการค้าลงวันที่ 17 ธันวาคม2524 เป็นเงิน 161,780.06 บาท เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันไว้10,000 บาท ภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่น แล้วปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดที่มีราคา359,173.29 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มขึ้น แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้ง จำเลยสามารถเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีได้ถูกต้องชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีของศาลภาษีอากรกลางเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งปกติจำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป แต่ในกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุอาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน ทำให้จำเลยไม่มีระยะเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและ-ภาษีบำรุงเทศบาล ทั้งในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 ทำให้จำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลย และในวันนัดชี้สองสถาน จำเลยทราบนัดแล้วก็ไม่มาศาล อีกทั้งนับจากวันที่จำเลยยื่นคำให้การจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นเวลาถึงสองเดือนเศษซึ่งเป็นระยะเวลานานพอควร จำเลยควรที่จะติดตามและสอบถามถึงวันนัดที่จำเลยมีวันว่างเพื่อจะได้ขอเลื่อนคดีเสียก่อนนั้นได้ แต่ตามพฤติการณ์ของจำเลยกลับปรากฏว่า จำเลยไม่เอาใจใส่และสนใจดำเนินคดีเท่าที่ควร ที่ศาลภาษีอากร-กลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นผลมาจากความบกพร่องของจำเลยเอง จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจที่มีเหตุผลสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมและสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล กรณีศาลไม่อนุญาตเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุ จากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีอากร พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า ไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่นแล้ว ปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้ จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้ง ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี และมีคำพิพากษาไปในวันเดียวกัน ทำให้จำเลยไม่มีเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องภาษีอากรไม่เคลือบคลุม การไม่อนุญาตเลื่อนคดีมีเหตุผลจากจำเลยมิได้สนใจดำเนินคดี
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร ฉบับลงวันที่ 30 มกราคม 2529 ข้อ 8 โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2523จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุจากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า และแบบแสดงรายการการค้าลงวันที่ 17 ธันวาคม 2524 เป็นเงิน 161,780.06 บาท เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันไว้ 10,000 บาท ภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่น แล้วปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดที่มีราคา 359,173.29บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มขึ้น แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้งจำเลยสามารถเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีได้ถูกต้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีของศาลภาษีอากรกลางเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งปกติจำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป แต่ในกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกันทำให้จำเลยไม่มีระยะเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้ จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ทั้งในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 ทำให้จำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลย และในวันนัดชี้สองสถานจำเลยทราบนัดแล้วก็ไม่มาศาล อีกทั้งนับจากวันที่จำเลยยื่นคำให้การจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นเวลาถึงสองเดือนเศษ ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอควร จำเลยควรที่จะติดตามและสอบถามถึงวันนัดที่จำเลยมีวันว่างเพื่อจะได้ขอเลื่อนคดีเสียก่อนนั้นได้ แต่ตามพฤติการณ์ของจำเลยกลับปรากฏว่า จำเลยไม่เอาใจใส่และสนใจดำเนินคดีเท่าที่ควร ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นผลมาจากความบกพร่องของจำเลยเอง จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจที่มีเหตุผลสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องหมิ่นประมาทที่ไม่ระบุรายละเอียดจำนวนกรรมและเวลาที่กระทำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 ถึง 16 สิงหาคม2532 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายต่างกรรมต่างวาระกัน โดยจำเลยได้กล่าวคำหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามพร้อมทั้งบรรยายข้อความดังกล่าวแม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกันเป็นจำนวนกี่กรรม และแต่ละกรรมนั้นจำเลยกระทำความผิดเมื่อใดและอย่างไรก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องหมิ่นประมาท แม้รายละเอียดกรรมมิชัดเจน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ รวมทั้งถ้อยคำพูดอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158แล้ว แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่า ที่จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระนั้นเป็นจำนวนกี่กรรม และแต่ละกรรมนั้นจำเลยกระทำความผิดเมื่อใด และอย่างไร ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อของเชื่อและการรับสภาพหนี้ ฟ้องขาดอายุความเมื่อนับจากหนังสือรับสภาพหนี้เกิน 2 ปี
การรับสภาพหนี้มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิม เมื่อมูลหนี้เดิมของโจทก์เป็นเรื่องการซื้อของเชื่อจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิม โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อของเชื่อ: การรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับใหม่ตามมูลหนี้เดิม
จำเลยซื้อของเชื่อไปจากโจทก์ ต่อมาได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยซื้อของเชื่อให้โจทก์ การรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีผลทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องในหนี้เดิมสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิมที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม เมื่อมูลหนี้เดิมของโจทก์เป็นเรื่องการซื้อของเชื่อจึงเป็นกรณีที่บุคคลผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิมโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ