พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐ: ใบจอง (น.ส.2) และการครอบครองปรปักษ์
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐซึ่งโจทก์ได้ขออนุญาตจับจองตามที่กฎหมายกำหนดจนทางราชการอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เป็นการชั่วคราวโดยออกใบจอง (น.ส.2) ให้เป็นหลักฐาน โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ แม้จำเลยจะได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์เกินกว่า 1 ปีก็ตาม ก็เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจำเลยจึงอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องถึงที่ตั้งของที่ดินพิพาทและเวลาที่เข้าครอบครองที่ดินพิพาท ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน แม้ไม่ได้ระบุอาณาเขตกว้างยาวไว้ แต่มีแผนที่สังเขปท้ายฟ้องระบุอาณาเขตกว้างยาวไว้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายส่วนรายละเอียดนอกจากนี้โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้กระทำความผิดในชั้นฎีกาและการลดโทษตามกฎหมายอาญา
จำเลยอายุ 15 ปีเศษ ในขณะกระทำความผิด อันอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุของจำเลยมิได้ปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา แต่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และคดีนี้ได้ทำการพิจารณาโดยศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันถือได้ว่าเป็นการโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 แล้ว จึงไม่ต้องโอนคดีไปยังศาลเยาวชนและครอบครัว จำเลยกระทำความผิดขณะอายุยังไม่เกิน 17 ปี จึงต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุของจำเลยที่ศาลไม่ทราบตั้งแต่ต้น ศาลฎีกาพิจารณาเองได้ตามกฎหมาย
จำเลยอายุ 15 ปีเศษ ในขณะกระทำความผิด อันอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุของจำเลยมิได้ปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา แต่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาและได้ทำการพิจารณาโดยศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันถือได้ว่าเป็นการโอนคดีไปยังศาล ที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 15 แล้ว จึงไม่ต้องโอนคดีไปยังศาลเยาวชนและครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาคดีเยาวชน แม้ข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฏต่อศาลฎีกา
จำเลยอายุ 15 ปีเศษ ในขณะกระทำความผิด อันอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุของจำเลยมิได้ปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา แต่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และคดีนี้ได้ทำการพิจารณาโดยศาลฎีกาแผนกคดี-เยาวชนและครอบครัว อันถือได้ว่าเป็นการโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณา-พิพากษาต่อไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี-เยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 15 แล้ว จึงไม่ต้องโอนคดีไปยังศาล-เยาวชนและครอบครัว
จำเลยกระทำความผิดขณะอายุยังไม่เกิน 17 ปี จึงต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75
จำเลยกระทำความผิดขณะอายุยังไม่เกิน 17 ปี จึงต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์คดีแพ่งแยกคำนวณรายโจทก์เมื่อพิพาทสิทธิที่ดินแปลงต่างกัน ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ที่ดินมีสองแปลงซึ่งโจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นเจ้าของเพียงแต่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีเขตติดต่อกันเท่านั้น เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ทุนทรัพย์จึงต้องคิดแยกเป็นของโจทก์แต่ละคน โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกสิทธิครอบครองที่ดินจากจำเลย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินแต่ละแปลงที่โจทก์แต่ละคนฟ้อง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งครอบครองที่ดินที่มีสองแปลงและมีเขตติดต่อกัน ทำให้ทุนทรัพย์ของแต่ละแปลงต้องพิจารณาแยกจากกัน
คดีนี้โจทก์ทั้งสองกล่าวฟ้องเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 ต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง จำเลยเข้ามาแย่งการครอบครองและขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ละคนขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่ละคน เห็นได้ว่าที่ดินพิพาทมีสองแปลงซึ่งโจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นเจ้าของเพียงแต่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีเขตติดต่อกันเท่านั้นเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างถูกโต้แย้งสิทธิ แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ดังนั้น ทุนทรัพย์ของคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งหรือไม่ จึงต้องคิดแยกเป็นของโจทก์แต่ละคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดมูลค่าทุนทรัพย์ในคดีแย่งการครอบครองที่ดินเมื่อโจทก์ฟ้องรวมกัน แต่สิทธิเป็นของแต่ละคน
คดีนี้โจทก์ทั้งสองกล่าวฟ้องเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์ที่ 1กับโจทก์ที่ 2 ต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง จำเลยเข้ามาแย่งการครอบครองและขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ละคน ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่ละคน เห็นได้ว่าที่ดินพิพาทมีสองแปลงซึ่งโจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นเจ้าของเพียงแต่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีเขตติดต่อกันเท่านั้น เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างถูกโต้แย้งสิทธิ แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ดังนั้น ทุนทรัพย์ของคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งหรือไม่จึงต้องคิดแยกเป็นของโจทก์แต่ละคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: กรณีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 170,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงิน 199,761.64 บาท จึงมีทุนทรัพย์ชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 170,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงิน 199,761.64 บาท จึงมีทุนทรัพย์ชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนหนังสือค้ำประกันด้วยกลอุบายหลอกลวง ไม่ถือเป็นการปลดหนี้ค้ำประกัน
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืนนั้นเป็นเพราะถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้อุบายหลอกลวงจึงมิใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340